การพิจารณาความหนาของวัสดุปูพื้นให้สัมพันธ์กับระดับพื้นส่วนต่างๆ ของบ้านที่เหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญทั้งสำหรับบ้านสร้างใหม่และบ้านที่วางแผนจะปรับปรุงพื้น เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด รวมถึงดูสวยงามลงตัว... > รู้ไหมว่าการที่เราใช้งานพื้นบ้านของเรา เดินเข้าออกระหว่างห้อง ระหว่างภายในบ้าน ภายนอกบ้าน ได้อย่างสะดวกสบายนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเตรียมระดับพื้นก่อนปูวัสดุให้พอดีกับวัสดุปูพื้นแต่ละประเภท > เลือกวัสดุปูพื้นแต่ละครั้ง ต้องดูระดับพื้นด้วย > การจะเลือกวัสดุปูพื้นที่มีรูปแบบสวยงามตรงใจเรานั้น จะต้องคำนึงถึง “ความหนาของวัสดุปูพื้น” ซึ่งส่งผลต่อระดับความสูงของพื้นหลังการติดตั้ง เพราะหากความหนาของวัสดุปูพื้นไม่สัมพันธ์กับระดับพื้น เมื่อติดตั้งไปแล้วอาจเกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็น ระดับพื้นสูงเกินไปจนขัดขวางการการเปิด-ปิดประตู การก้าวขึ้นลงบันไดหรือพื้นต่างระดับที่ยากลำบาก เนื่องจากระดับพื้นไม่เหมาะสม ความไม่ลงตัวในการจบงานรอยต่อที่ชนกับวัสดุอื่น > SingleImage พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กก่อนเทปูนปรับระดับ ภาพ: ตัวอย่างพื้นในบ้านก่อนจะตกแต่งด้วยวัสดุปูพื้น > SingleImage ระดับพื้นภายในและภายนอกบ้านที่สัมพันธ์อย่างลงตัว ภาพ: ตัวอย่างพื้นในและนอกบ้านหลังตกแต่งด้วยวัสดุปูพื้น ที่มีระดับเหมาะสม สามารถเปิดประตูเข้าออกได้ไม่ติดขัด > ทั้งนี้ การคำนึงเรื่องวัสดุปูพื้นอาจไม่ใช่แค่ตัววัสดุตกแต่งที่เราเลือกอย่างเดียว แต่รวมถึงการติดตั้งวัสดุทั้งระบบที่ใช้ในการเตรียมพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นในหรือพื้นภายนอกบ้าน เช่น ความหนาของแผ่นรองพื้นปรับระดับสำหรับวัสดุปูพื้นลายไม้ในบ้าน ความหนาของกาวซีเมนต์ที่ใช้ปูกระเบื้องเซรามิก ความหนาพื้นทรายที่รองรับกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น บล็อกปูพื้น (กรณีปูบนพื้นดิน) > SingleImage การติดตั้งบล็อกปูพื้นบนพื้นทรายปรับระดับ ภาพ: การติดตั้งบล็อกปูพื้นบนพื้นดิน ซึ่งต้องโรยทรายและบดอัดให้แน่นก่อนจะปูบล็อก ดังนั้นในการพิจารณาเรื่องระดับพื้น จึงต้องคำนึงถึงความหนาบล็อกและความหนาของพื้นทราย > วัสดุปูพื้นภายนอกบ้าน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > วัสดุปูพื้นภายในบ้าน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > ดูความหนาของวัสดุปูพื้น สำหรับบ้านสร้างใหม่ > บ้านสร้างใหม่นับเป็นข้อได้เปรียบในการเลือกวัสดุปูพื้นที่หลากหลาย โดยเจ้าของบ้านควรเลือกวัสดุพื้นและตรวจสอบความหนาของวัสดุนั้นๆ นำไปหารือกับสถาปนิกก่อนจะสรุปแบบก่อสร้าง เพื่อเตรียมระดับพื้นก่อนตกแต่งวัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับความหนาของตัววัสดุปูพื้นรวมถึงวัสดุที่ใช้ในการติดตั้งทั้งระบบ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้ “พื้น SPC ในห้องนอน” เชื่อมต่อเป็นระดับเดียวกันกับ “พื้นกระเบื้องเซรามิกในห้องนั่งเล่น” จะต้องเทปูนปรับระดับให้พื้นห้องนอนอยู่สูงกว่า เนื่องจากพื้น SPC (รวมโฟมยางปรับระดับแล้ว) มักหนาไม่เกิน 5-10 มม. ในขณะที่พื้นปู กระเบื้องเซรามิก\{.newtab} (รวมกาวซีเมนต์ที่ใช้ติดตั้ง) จะหนากว่า คืออยู่ที่ประมาณ 8-21 มม. ขึ้นอยู่กับรุ่นกระเบื้อง ดังนั้น พื้นห้องนั่งเล่นก่อนปูกระเบื้องจึงต้องต่ำกว่าห้องนอน เพื่อที่ว่าหลังปูวัสดุแต่ละห้องแล้วจะได้ระดับพื้นที่เท่ากัน > ดูความหนาของวัสดุปูพื้น สำหรับบ้านเดิมปรับปรุงพื้นใหม่ > โดยทั่วไปการปรับปรุงพื้นมักมีข้อจำกัดในการเลือกใช้วัสดุมากกว่าบ้านสร้างใหม่ ขึ้นอยู่กับขอบเขตของงาน หากเจ้าของบ้านต้องการรื้อวัสดุปูพื้นเดิมออกเพื่อเปลี่ยนใหม่ ก็ต้องคำนึงว่า วัสดุปูพื้นใหม่ที่เลือกใช้ ความหนาของวัสดุที่ใช้ติดตั้งหรือเตรียมพื้นนี้นั้น มีความหนาเท่าใด หากติดตั้งไปแล้วระดับพื้นจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร และจะลงตัวกับการใช้งานมากน้อยแค่ไหน หรือหากเจ้าของบ้านต้องการปรับปรุงพื้นภายในแบบไม่ยุ่งยากด้วยการปูวัสดุใหม่ทับพื้นเดิม อาจเลือกวัสดุที่เพิ่มความหนาไม่มาก เช่น ปูทับด้วยพรมซึ่งนิยมที่ความหนา 2-10 มม. ปูทับด้วยพื้นกันกระแทกลาย > ไม้แบบม้วน หนาประมาณ 2.3-3.8 มม. หรือปูทับด้วยไม้พื้นภายในอย่าง ลามิเนต กระเบื้องยางไวนิล พื้นSPC\{.newtab} ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 4-8 มม. ซึ่งจะต้องรองด้วยโฟมหรือโฟมยางปรับระดับอีกประมาณ 1-2 มม. > SingleImage การติดตั้งกระเบื้องไวนิล หรือกระเบื้องยางลายไม้ พร้อมโฟมปรับระดับพื้นไวนิล ภาพ: การติดตั้งกระเบื้องยางไวนิล พร้อมโฟมปรับระดับ > กรณีเป็นพื้นภายนอก หากต้องการปูกระเบื้องคอนกรีต\{.newtab}ทับพื้นคอนกรีตเดิมโดยใช้ปูนทราย ความหนามักเพิ่มขึ้นประมาณ 6-6.5 ซม. หรือหากต้องการทำพื้นคอนกรีตพิมพ์ลายทับพื้นเดิม ความหนาจะเพิ่มมาประมาณ 5 ซม. เป็นต้น ซึ่งล้วนต้องพิจารณาว่าระดับพื้นที่จะเพิ่มในอนาคต เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ > วัสดุปูพื้นภายนอกบ้าน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > วัสดุปูพื้นภายในบ้าน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > จะเห็นได้ว่า การเลือกวัสดุปูพื้นให้เหมาะสมกับระดับพื้นเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่หรือบ้านที่ต้องการปรับปรุงพื้น เจ้าของบ้านควรคำนึงถึงความหนาของการติดตั้งครอบคลุมทั้งระบบ ทั้งตัววัสดุปูพื้นและวัสดุติดตั้งที่ต้องใช้ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดประตู การก้าวเดินระหว่างพื้นต่างระดับ การจบงานของรอยต่อวัสดุกับพื้นที่ข้างเคียง ทั้งนี้เจ้าของบ้านพิจารณาเลือกวัสดุพื้นอย่างรอบคอบโดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก นักออกแบบ หรือสอบถามผู้ขายวัสดุเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างมั่นใจและลงตัว
รวมถามตอบเกี่ยวกับบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี วัสดุคอนกรีตปูพื้นมีให้เลือกหลากหลายทำให้หลายคนสงสัยว่าแบบไหนถึงเรียกว่าบล็อกคอนกรีตหรือกระเบื้องคอนกรีต มีความแตกต่างและใช้งานต่างกันอย่างไร รวมถึงการติดตั้งและการดูแลรักษา >. >---------------------------------------------------------------- >### สารบัญบทความ >1) บล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นมีลักษณะต่างกันอย่างไร? >2) การใช้งานบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นต่างกันอย่างไร? >3) ต้องเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมบ้างในการติดตั้ง? >4) วิธีการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >5) วิธีการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >6) ปูบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตแล้วพื้นยุบเกิดจากอะไร แก้อย่างไร? >7) วิธีการดูแลทำความสะอาดบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น? >8) หากสีซีดจางเมื่อใช้งานไปสักระยะ ใช้สีทาพื้นได้หรือไม่? >9) มีวิธีจัดการหญ้าที่แทรกขึ้นตามร่องอย่างไร? >---------------------------------------------------------------- >. >## 1) บล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นมีลักษณะต่างกันอย่างไร? >บล็อกคอนกรีตปูพื้น หรือที่มักเรียกกันว่า อิฐตัวหนอน บล็อกตัวหนอน มีความหนา 6 -12 ซม. มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งขนาด รูปทรง และมีรุ่นพิเศษ เช่น บล็อกสนามหญ้า (ปลูกหญ้าแซมได้) บล็อกรุ่นคูลพลัส (ช่วยลดความร้อน) บล็อกรุ่น Porous Block (มีเนื้อพรุนจึงน้ำระบายได้เร็ว ช่วยลดปัญหาน้ำขัง) ส่วนกระเบื้องคอนกรีตมักมีรูปทรงเป็นแผ่นกว้างและบางกว่าบล็อกปูพื้น โดยทั่วไปมีความหนา 3.5 ซม. มีทั้งแบบแผ่นเดียวและแบบผืนที่ประกอบด้วยกระเบื้องแผ่นเล็กเรียงเป็นแพทเทิร์น >ตัวอย่างบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นรุ่นต่างๆ >ภาพ: ตัวอย่างบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นรุ่นต่างๆ >. >## 2) การใช้งานบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นต่างกันอย่างไร? >สำหรับบล็อกคอนกรีตซึ่งมีความหนากว่ากระเบื้องคอนกรีต จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่รับน้ำหนักมาก เช่น ถนน ที่จอดรถ โดยสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 350 กก./ ตร.ม. เป็นทางเลือกแทนการเทพื้นคอนกรีต ซึ่งนอกจากจะได้พื้นที่มีสีสันและลวดลายพร้อมใช้งานแล้ว ยังสามารถรื้อถอนเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ไม่ยาก >พื้นที่จอดรถเลือกใช้บล็อกปูพื้น เอสซีจี รุ่นบล็อกหกเหลี่ยม >ภาพ: พื้นที่จอดรถเลือกใช้บล็อกปูพื้น เอสซีจี รุ่นบล็อกหกเหลี่ยม >. >ส่วนกระเบื้องคอนกรีตหากปูบนทรายปรับระดับจะเหมาะกับการใช้งานเป็นทางเท้า ทางเดินรอบบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับผู้คนใช้งาน แต่หากปูบนพื้นคอนกรีตโดยใช้ปูนทรายจะรับน้ำหนักได้มากขึ้น สามารถใช้งานเป็นที่จอดรถได้ >พื้นที่ทางเดินหน้าบ้านเลือกใช้กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี รุ่นแสตมป์ เพฟ >ภาพ: พื้นที่ทางเดินหน้าบ้านเลือกใช้กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี รุ่นแสตมป์ เพฟ >. >## 3) ต้องเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมบ้างในการติดตั้ง? >นอกจากบล็อกคอนกรีตตามที่เราเลือกแล้ว ยังจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ร่วมในการติดตั้ง คือ ขอบกั้น/ขอบคันหิน เพื่อกำหนดขอบเขตและป้องกันกระเบื้องขยับออกจากแนว, ทรายใช้รองบล็อก/กระเบื้องเพื่อปรับระดับ อุดร่องระหว่างบล็อก/กระเบื้อง, แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) เพื่อป้องกันทรายไหลช่วยไม่ให้พื้นยุบตัวได้ง่าย, น้ำยาประสานทราย ช่วยชะลอการเกิดวัชพืชตามร่องทราย ลดปริมาณน้ำซึมผ่านร่องทราย ลดโอกาสพื้นทรุดตัว และน้ำยาเคลือบผิวหน้าคอนกรีต ช่วยป้องกันความชื้นและตะไคร่ >วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรเตรียมไว้ใช้ในการปูบล็อกคอนกรีต >ภาพ: วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรเตรียมไว้ใช้ในการปูบล็อกคอนกรีต >. >## 4) วิธีการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >สามารถปูบนพื้นดินที่ตบอัดแน่นได้เลยโดยไม่ต้องมีพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับ โดยวางขอบกั้นและแผ่นใยสังเคราะห์รองทราย เพื่อป้องกันบล็อกและทรายไหลออกด้านข้าง มีขั้นตอนดังนี้ >1. เตรียมพื้นดิน (กำจัดขยะหรือหญ้า) และตบอัดดินให้แน่น >2. วางขอบคันหินโดยรอบพื้นที่ ป้องกันการแยกตัวของบล็อก >3. ปูแผ่นใยสังคราะห์รองทราย (Geo Textile) ถมทรายปรับระดับ แล้วพับหุ้มทรายในลักษณะตัวยู (U) ทับแผ่นรองทรายที่หุ้มเข้ามาด้วยบล็อก >4. ติดตั้งบล็อกปูพื้น เมื่อปูเต็มพื้นที่ให้โรยทรายละเอียดลงในช่องว่างระหว่างก้อนบล็อกให้เต็ม แล้วใช้เครื่องตบอัดแบบสั่นสะเทือนบดอัด 2-3 เที่ยว จากนั้นลงน้ำยาประสานทรายให้ทั่วร่องทรายระหว่างก้อน แล้วทาทับด้วยน้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีตบนพื้นผิวบล็อก >แนวทางการเตรียมพื้นที่และการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >ภาพ: แนวทางการเตรียมพื้นที่และการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >การติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >ภาพ: การติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >. >## 5) วิธีการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >ให้เลือกวิธีการติดตั้งตามการใช้งานเป็นหลัก เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนี้ >พื้นทางเดินในสวน ทางเท้า เลือกติดตั้งได้ 2 วิธี คือ >๐ สำหรับทางเดินทั่วไป ให้ปรับระดับดิน ถมทรายบดอัด และปูกระเบื้องคอนกรีตได้เลย วิธีนี้ติดตั้งได้ง่าย สามารถรื้อออกและติดตั้งใหม่ได้ >๐ สำหรับทางเท้าที่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ให้ปรับระดับดิน เทคอนกรีตหยาบ (Lean Concrete) หรือที่มักเรียกกันว่า “เทลีน” และปูกระเบื้องด้วยปูนทรายปรับระดับ >การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นทางเดินในสวน ทางเท้า >ภาพ: การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นทางเดินในสวน ทางเท้า >. >พื้นที่จอดรถ ถนน ต้องมีพื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับ แล้วจึงปูกระเบื้องด้วยปูนทรายปรับระดับ >การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นที่จอดรถ ถนน >ภาพ: การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นที่จอดรถ ถนน >. >## 6) ปูบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตแล้วพื้นยุบเกิดจากอะไร แก้อย่างไร? >ปัญหาหลักของพื้นยุบ มีอยู่ 2 สาเหตุ ได้แก่ การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน และมีการไหลของดินหรือทรายไปด้านข้าง >สาเหตุหลัก: การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้พื้นไม่เท่ากัน >วิธีแก้ไข: รื้อและติดตั้งใหม่ตามวิธีที่ถูกต้อง โดยปรับพื้นให้เรียบ ใช้ทรายหนาประมาณ 4 ซม. บดอัดให้แน่น และปูบล็อกใหม่ >สาเหตุรอง: มีการไหลของดินหรือทรายไปด้านข้าง >วิธีป้องกันและแก้ไข: ใช้แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) กั้นทรายไว้ลักษณะคล้ายการห่อทราย หรือใช้ขอบกั้นคอนกรีตเพื่อป้องกันการไหลของดินและทราย >ปัญหาพื้นกระเบื้องคอนกรีตทรุดตัวเนื่องจากทรายไหล >ภาพ: ปัญหาพื้นกระเบื้องคอนกรีตทรุดตัวเนื่องจากทรายไหล >. >บริการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีต เอสซีจี โดยนายช่างโฮมโซลูชั่น\{.button .newtab} {.centered} >บริการติดตั้งบล็อกและกระเบื้องคอนกรีต เอสซีจี โดย SCG Home Experience Vendor\{.button .newtab} {.centered} >. >## 7) วิธีการดูแลทำความสะอาดบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น? >การดูแลทำความสะอาดทำได้ง่ายๆ โดยใช้การฉีดน้ำทำความสะอาดผิวหน้า หากมีคราบสกปรก สามารถใช้ผงซักฟอกและแปรงขัดออก จากนั้นฉีดน้ำล้างและปล่อยให้แห้ง หากต้องการให้พื้นดูสวยงามยาวนาน สามารถใช้น้ำยาเคลือบผิวคอนกรีตเพื่อป้องกันตะไคร่น้ำและช่วยคงสภาพสีได้ >ทำความสะอาดง่ายๆ โดยการฉีดน้ำทำความสะอาดผิวหน้าบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น >ภาพ: ทำความสะอาดง่ายๆ โดยการฉีดน้ำทำความสะอาดผิวหน้าบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น >. >สนใจ น้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เอสซีจี คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >## 8) หากสีซีดจางเมื่อใช้งานไปสักระยะ ใช้สีทาพื้นได้หรือไม่? >ไม่ควรใช้สีทาพื้น เพราะอาจไม่ได้ผิวสัมผัสเช่นเดิมและมีโอกาสที่สีจะลอกล่อนได้ง่าย ควรขัดล้างทำความสะอาดและทาด้วยน้ำยาเคลือบเงาคอนกรีต เพื่อให้สภาพสีดูสดใสขึ้นและทำให้สีทนยาวนาน >ใช้น้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เอสซีจี ทุกๆ 1 ปี เพื่อรักษาสภาพสีให้ทนยาวนาน >ภาพ: ใช้น้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เอสซีจี ทุกๆ 1 ปี เพื่อรักษาสภาพสีให้ทนยาวนาน >. >## 9) มีวิธีจัดการหญ้าที่แทรกขึ้นตามร่องอย่างไร? >สำหรับบ้านใหม่ควรเคลียร์พื้นที่ไม่ให้มีวัชพืชตั้งแต่แรก จากนั้นติดตั้งบล็อกตามขั้นตอนและทาน้ำยาประสานทรายระหว่างร่องรอยต่อบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เพื่อทำให้ทรายแข็งช่วยป้องกันหญ้าขึ้นแทรก นอกจากนี้ยังสามารถเคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกันอีกชั้นได้ด้วย สำหรับพื้นที่เดิมที่ควบคุมได้ยาก สามารถใช้วัสดุ/ทรายประสานร่องผสมโพลิเมอร์ในการแก้ปัญหาหญ้าขึ้น >น้ำยาประสานทราย เอสซีจี >ภาพ: น้ำยาประสานทราย เอสซีจี >. >สนใจ กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น คลิก\{.button .newtab} {.centered} >สนใจ บล็อกคอนกรีตปูพื้น คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >อ่านเพิ่มเติม: 5 เหตุผลน่าใช้ บล็อกปูพื้น และกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น\{.newtab} >อ่านเพิ่มเติม: ไขปัญหาบล็อกปูพื้นยุบ แต่งพื้นรอบบ้านสวยทนนาน\{.newtab}
ประตูหน้าต่างมุ้งลวดถือเป็นหน้าตาสำคัญอันหนึ่งของบ้าน นอกจากประโยชน์ใช้สอยในการป้องกันสัตว์และฝุ่นละอองแล้ว การเลือกประเภทและรูปแบบยังสามารถสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านได้อีกด้วย >สิ่งหนึ่งที่มักถูกหลงลืมไประหว่างขั้นตอนการออกแบบก็คือมุ้งลวดประตูหน้าต่าง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับที่พักอาศัยในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเรา ประโยชน์หลักก็เพื่อป้องกันแมลงและสัตว์พาหะที่ไม่พึงประสงค์ และช่วยกันเศษฝุ่นละอองที่อาจลอยมาจากท้องถนนภายนอก นอกจากนี้ยังช่วยลดความเข้มข้นของแสงแดดที่สาดสะท้อนเข้าตัวบ้าน โดยที่อากาศภายในยังคงหมุนเวียนถ่ายเทได้ดี >ปัจจุบันมุ้งลวดมีหลากหลายประเภทมากขึ้น ทั้งรูปแบบและวัสดุ จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน มุ้งลวด ป้องกันแมลง สัตว์พาหะ กันเศษฝุ่นละออง ลดความเข้มของแสงแดด อากาศภายในหมุนเวียนถ่ายเทได้ดี >ภาพ: ประโยชน์หลักของมุ้งลวดคือ ช่วยป้องกันแมลง-สัตว์พาหะ และช่วยกันเศษฝุ่นละออง อีกทั้งช่วยลดความเข้มของแสงแดด โดยที่อากาศภายในยังคงหมุนเวียนถ่ายเทได้ดี >## รูปแบบของมุ้งลวดประตูหน้าต่างที่พบเห็นได้บ่อย >1. มุ้งลวดบานเปิด เป็นรูปแบบมาตรฐานที่พบเห็นได้มากที่สุด ข้อดีคือไม่ต้องมีการติดตั้งรางเพิ่มเติม ราคาไม่แพง แต่อาจเกะกะพื้นที่ในกรณีที่ต้องการเปิดมุ้งลวดหน้าต่างทิ้งไว้ เพราะวงเปิดมักจะอยู่ภายในบ้าน >2. มุ้งลวดบานเลื่อน มีความทันสมัยและเป็นที่นิยมเช่นเดียวกับแบบบานเปิด ต้องติดตั้งตัวรางเพิ่มเติม แต่ประหยัดพื้นที่มากกว่า และสามารถเปิดหน้าต่างบานเลื่อนค้างไว้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้สอยภายใน >3. มุ้งลวดจีบ โดดเด่นในเรื่องความสวยงามของการจับจีบ สามารถรวบเก็บตัวมุ้งไว้ด้านข้างในเวลาที่ไม่ต้องการใช้งาน จึงยืดหยุ่นมากกว่า สามารถติดตั้งกับบานประตูหน้าต่างขนาดใหญ่พิเศษได้ ข้อเสียคือมีอายุการใช้งานสั้นกว่ามุ้งลวดสองแบบแรก รวมไปถึงการทำความสะอาดที่ยากกว่าด้วย >## วัสดุที่ใช้ผลิตมุ้งลวดมีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร >วัสดุมุ้งลวดที่นิยมในตลาดมีทั้งหมด 4 แบบ ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้ >1. อะลูมิเนียม ผลิตจากเส้นอะลูมิเนียม จึงมีความเหนียวและแข็งแรงตามสมควร เป็นมุ้งลวดมาตรฐานที่นิยมใช้กับบ้านเรือนมายาวนานที่สุด ราคาถูกกว่าวัสดุประเภทอื่น แต่ก็ผุกร่อนและเกิดสนิมง่ายกว่าด้วยเช่นกัน จึงไม่เหมาะสมกับบ้านพักตากอากาศชายทะเล ซึ่งมีปัจจัยเรื่องความชื้นและเกลือสูง >2. ไนลอน ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ เหนียวและทนทาน มีความยืดหยุ่นสูง แต่มีความโปร่งน้อยกว่าวัสดุประเภทอื่น เนื่องจากเส้นไนลอนค่อนข้างหนา เหมาะกับการนำมาทำมุ้งจีบเพราะสามารถคงตัวได้ดี >3. ไฟเบอร์ หรือใยแก้ว มีความยืดหยุ่นแข็งแรง คุณสมบัติเด่นคือทนต่อการกัดกร่อน ลดปัญหาการเกิดสนิม จึงสามารถใช้ในที่พักอาศัยริมทะเลได้ แต่อาจฉีกขาดจากแรงกระแทกได้ง่ายกว่าแบบอะลูมิเนียม >4. นิรภัยสเตนเลส เป็นวัสดุที่อยู่กึ่งกลางระหว่างมุ้งลวดทั่วไปและเหล็กดัด ผลิตจากตาข่ายสเตนเลสหรือเหล็กไร้สนิม คุณสมบัติแข็งแร็งและมีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานต่อแรงกระแทก จึงเหมาะกับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ข้อเสียสำคัญคือราคาสูง รูปแบบ มุ้งลวดจีบ >ภาพ: ตัวอย่างรูปแบบ มุ้งลวดจีบ รูปแบบ มุ้งลวดบานเลื่อน >ภาพ: ตัวอย่างรูปแบบ มุ้งลวดบานเลื่อน >## ไลฟ์สไตล์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกมุ้งลวด >นอกจากรูปแบบและประเภทวัสดุที่กล่าวมาแล้วนี้ ไลฟ์สไตล์ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เช่นเดียวกับบริบทของสภาพแวดล้อมและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมุ้งลวดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาและเพิ่มความสะดวกสบายได้ >อาทิ บ้านที่มีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะน้องหมาน้องแมวแสนซน วัสดุของมุ้งลวดที่เลือกควรจะทนทานต่อการขีดข่วนและเล็บสัตว์ เช่นมุ้งลวดนิรภัยสเตนเลส หรือโพลีเอสเตอร์ที่ระบุเจาะจงว่า Pet Screen หรือ Pet Mesh เพื่อยืดระยะเวลาการใช้งานให้ยืนยาวขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตประตูมุ้งลวดที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรักสัตว์ในรูปแบบที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่นการเพิ่มช่องแมวลอด หรือ Pet Door บนบานประตู เพื่อให้น้องหมาน้องแมวขนาดเล็กสามารถเดินเข้าออกได้เอง โดยที่เจ้าของบ้านไม่ต้องเสียเวลาลุกไปเปิดปิดประตูให้ทุกครั้ง แต่ข้อจำกัดคือไม่สามารถติดตั้งบนประตูมุ้งลวดบานเลื่อนได้ จึงต้องเลือกใช้รูปแบบประตูบานเปิดแทน ประตูมุ้งลวด Pet Screen สำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงแสนซน >ภาพ: ประตูมุ้งลวดสำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงแสนซน ที่มีช่องสำหรับน้องแมวน้องหมาให้เดินเข้าออกได้เอง >ในบางพื้นที่อาจจะมีปัญหาแตกต่างกันในเรื่องของสัตว์ไม่พึงประสงค์ นอกจากยุงแล้ว ยังมีจิ้งจกเป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญ หลายบ้านอาจประสบปัญหาว่าจิ้งจกยังคงเล็ดรอดเข้ามาได้ แม้จะติดมุ้งลวดแล้วก็ตาม ทั้งนี้เกิดจากลักษณะของบานประตูหน้าต่าง รวมถึงมุ้งลวดที่เลือกใช้ ซึ่งต้องไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่น้อย เพราะจิ้งจกสามารถลอดผ่านรูขนาดเล็กได้อย่างไม่น่าเชื่อ หากยังไม่แน่ใจในประสิทธิภาพ ก็สามารถเลือกรุ่นมุ้งลวดที่แจ้งคุณสมบัติว่าป้องกันจิ้งจกได้ ซึ่งมีหลายผู้ผลิตรับประกัน มุ้งลวดป้องกันจิ้งจก >ภาพ: มุ้งลวดป้องกันจิ้งจก ที่ออกแบบมาสำหรับการป้องกันจิ้งจกเข้าบ้านโดยเฉพาะ โดยจะไม่มีรูหรือช่องว่างเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยกันงูเข้าบ้านได้อีกด้วย >หรือแม้แต่ปัญหามลพิษและฝุ่นละอองที่กลายมาเป็นประเด็นสำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ยังผลให้เกิดการผลิตมุ้งลวดเพื่อป้องกัน PM2.5 โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเจ้าของบ้านมีไลฟ์สไตล์ที่คำนึงถึงสุขภาพอนามัยเป็นหลัก รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวและประวัติภูมิแพ้ ก็อาจเลือกมุ้งลวดโดยยึดประเด็นนี้เป็นสำคัญ >ประตูหน้าต่างมุ้งลวดจึงถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่ไม่อาจมองข้าม ต้องพิจารณาเลือกสรรอย่างรัดกุม เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเจ้าของบ้าน สนใจ มุ้งลวดพร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
การปูหญ้าเทียมให้สวยงามและใช้งานได้ยาวนาน ไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่คุณภาพของตัวหญ้าเทียมเท่านั้น แต่ การเตรียมพื้นที่ก็เป็นอีกขั้นตอนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการปูหญ้าเทียมบนพื้นดินหรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก > การเตรียมพื้นที่ก่อนปูหญ้าเทียมบนพื้นดิน > 1) จัดการสภาพพื้นที่ให้พร้อม ทั้งการรื้อถอนต้นไม้ที่ไม่ต้องการ รื้อถอนเฟอร์นิเจอร์ รื้อวัสดุปูพื้นของเดิม กรณีพื้นรอบบ้านมีปัญหาทรุดตัว เกิดโพรงใต้บ้าน เจ้าของบ้านควรให้ช่างทำการปิดโพรง รวมถึงปรับถมพื้นดินตามระดับที่ต้องการให้เรียบร้อย Singleimage ดินทรุด เกิดโพรงใต้บ้าน ภาพ: ตัวอย่างปัญหาดินทรุดเกิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งจะต้องจัดการปิดโพรงและปรับหน้าดินให้ได้ระดับ ก่อนจะทำการปูหญ้าเทียม > 2) กำจัดวัชพืชและขยะ เริ่มต้นด้วยการลอกวัชพืชและหญ้าจริงออก กวาดเก็บขยะและเศษวัสดุต่างๆ ออกจากพื้นที่ ทั้งนี้อาจมีการใช้น้ำยาฆ่าหญ้า ใช้แผ่นป้องกันวัชพืชปูใต้ผืนหญ้าเทียมร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของหน้างาน > 3) ปรับเตรียมพื้นที่ด้วยหินและทราย โดยถมหินเกล็ดหรือกรวดขนาดเล็กในระดับหนาประมาณ 5-7 ซม. ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นดินหน้างาน จากนั้นโรยทรายหยาบลงบนชั้นหินอีกประมาณ 5-10 ซม. แล้วใช้เครื่องบดอัดให้แน่นและเรียบเสมอกัน เพื่อป้องกันการทรุดตัวและช่วยให้ติดตั้งหญ้าเทียมได้อย่างมั่นคง > เมื่อเตรียมพื้นที่ตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถลงมือปูหญ้าเทียมต่อได้ โดยใช้วัสดุยึดประเภท หมุด ตะปูรูปตัว U หรือสมอบกในการยึดแผ่นหญ้าเทียมเข้ากับพื้นให้แน่นหนา > Singleimage เตรียมพื้นที่ปูหญ้าเทียมบนพื้นดิน ภาพ: (ซ้าย) การลงหินเกล็ด และบดอัดทรายให้แน่นเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับปูหญ้าเทียม และ (ขวา) การปูแผ่นป้องกันวัชพืชใต้ผืนหญ้าเทียม > หญ้าเทียมคุณภาพดี พร้อมบริการปูโดยทีมช่างผู้ชำนาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > การเตรียมพื้นที่ก่อนปูหญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก > 1) ตรวจสอบพื้นคอนกรีตว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว มีระดับลาดเอียงพอเหมาะ ระบายน้ำได้ดี ไม่เป็นหลุม เป็นแอ่งน้ำขังเมื่อฝนตก หากพบปัญหาต้องจัดการซ่อมแซมหรือปรับระดับพื้นให้เรียบร้อยก่อน > 2) ทำความสะอาดพื้นผิว โดยกวาดฝุ่น เศษหิน เศษไม้ และคราบมันออก ล้างพื้นให้สะอาดและปล่อยให้แห้งสนิท > 3) ปรับพื้นให้นุ่มขึ้น เป็นทางเลือกสำหรับเจ้าของบ้าน หากต้องการให้พื้นหญ้าเทียมมีสัมผัสการกดที่ยืดหยุ่นไม่แข็งกระด้าง อาจเลือกปูแผ่นรองกันกระแทก (Shock Pad) เพื่อเพิ่มความนุ่ม เช่น แผ่นโฟม แผ่นยางหรือตะแกรงพลาสติก เมื่อเตรียมพื้นที่ตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถลงมือปูหญ้าเทียมโดยใช้กาวในการยึดผืนหญ้าเทียมเข้ากับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก > Singleimage ปูหญ้าเทียมบนพื้นดิน ปูหญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีต ภาพ: (ซ้าย) การปูหญ้าเทียมลงพื้นทราย และ (ขวา) การปูหญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้กาว > เจ้าของบ้านคงมองเห็นภาพพอสมควรแล้วว่า เราจะต้องดำเนินการอย่างไรในการเตรียมพื้นที่เพื่อปูพื้นหญ้าเทียม สิ่งสำคัญคือ เราควรเลือกใช้ผู้ให้บริการติดตั้งที่มีความชำนาญ เพราะขั้นตอนในการเตรียมพื้นที่และติดตั้งหญ้าเทียม มีรายละเอียดที่ต้องคำนึงเพื่อให้ได้พื้นหญ้าเทียมที่สวยงาม และลดปัญหาการใช้งานในระยะยาวไม่ว่าจะเป็น การต่อผืนหญ้าเทียมได้ระยะห่างเท่ากับความห่างของฝีเข็มของหญ้า รวมถึงจัดเรียงเส้นหญ้าให้อยู่ในทิศทางเดียวกันอย่างสวยงามเป็นธรรมชาติ การประเมินสภาพความชื้นของพื้นดินเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อราในอนาคต การตรวจสอบระดับพื้นและการระบายน้ำที่เหมาะสม > ปูหญ้าเทียมให้สวย เส้นหญ้าเรียงทิศทางเดียวกัน ภาพ: ตัวอย่างเส้นหญ้าเทียม (ขนาดความยาว 3.5 ซม.) ซึ่งมีทิศทางเฉพาะ จึงต้องอาศัยความชำนาญในการต่อผืนหญ้าเพื่อให้เรียงตัวได้สวยงามในทิศทางเดียวกัน > หญ้าเทียมคุณภาพดี พร้อมบริการปูโดยทีมช่างผู้ชำนาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > อ่านเพิ่มเติม: สนามฟุตบอลปูหญ้าเทียมโรงเรียนเทพศิรินทร์\{.newtab}
รีวิวประสบการณ์จริง จากปัญหาหลังคารั่วซึมเนื่องจากการมุงกระเบื้องไม่ถูกวิธี สู่บริการซ่อมหลังคารั่วโดยทีมช่าง SCG ที่วางใจได้ในเรื่องคุณภาพบริการ ซ่อมแซมได้ตรงจุด หมดปัญหารั่วซ้ำซาก >ปัญหาหลังคารั่วซึมจะแก้ให้หายขาดได้อย่างไร ? SCG HOME ขอถ่ายทอดด้วยรีวิวจากประสบการณ์จริง ของคุณกฤษณ์ ภักดีศรีศักดา หนึ่งในเจ้าของบ้านผู้รับบริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG Roof Renovation >คุณกฤษณ์เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ในอดีตว่า ตอนที่สร้างบ้านได้เลือกใช้กระเบื้องหลังคาของ SCG คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร แต่แล้วก็เกิดปัญหาหลังคารั่วซึมเมื่ออายุของบ้านย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ปี “เราสังเกตเห็นว่าเวลาฝนตกจะมีน้ำรั่วลงมาจากฝ้าเพดานชั้น 2 ซึ่งตรงกับห้องนอนพอดี ยิ่งถ้าฝนตกตอนกลางคืนก็จะต้องตื่นมารองน้ำซับน้ำตลอด สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตอย่างมาก” ซ่อมหลังคารั่ว scg แก้ปัญหาหลังคารั่ว >ภาพ: คุณกฤษณ์ ภักดีศรีศักดา เจ้าของบ้าน ผู้รีวิวประสบการณ์รับบริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG Roof Renovation ในครั้งนี้ >## ซ่อมหลังคารั่ว คิดถึง SCG >“ผมใช้กระเบื้องหลังคาของ SCG คิดว่าผู้ผลิตน่าจะรู้ดีที่สุด เลยติดต่อขอคำแนะนำโดยตรง ก็ได้ทราบว่ามีบริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG Roof Renovation ผมจึงเลือกใช้เพราะไม่อยากเสี่ยงกับช่างซ่อมหลังคาทั่วไป” ทาง SCG ได้ส่งทีมช่างเข้ามาประเมินสภาพหลังคาบ้านของคุณกฤษณ์ มีการสำรวจโดยใช้ภาพถ่ายทางโดรนทำให้เห็นหลังคาพร้อมจุดชำรุดครอบคลุมทั่วทั้งผืน สามารถอธิบายปัญหาหลังคารั่วซึมได้อย่างละเอียด โดยนำมาสรุปเป็นข้อมูลให้เจ้าของบ้านรับทราบพร้อมค่าใช้จ่ายทั้งหมด >“พอทีมงาน SCG เข้ามาสำรวจหน้างานให้ผม ก็พบว่าปัญหาหลังคารั่วซึมครั้งนี้เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เข้าใจเลยว่าหลังคาบ้านของเรานอกจากจะเลือกวัสดุที่ดีที่สุดแล้ว ความชำนาญของช่างก็มีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้หลังคาอยู่ได้อย่างไร้ปัญหา” คุณกฤษณ์กล่าว สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## บริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องย้ายออก >การซ่อมหลังคารั่วครั้งนี้ เน้นแก้ไขบริเวณครอบหลังคาและครอบตะเข้สัน โดยรื้อกระเบื้องครอบของเดิมออกทั้งหมด มีการใช้ระบบครอบหลังคาแบบแห้ง (Drytech System) ซึ่งเป็นแผ่นใยสังเคราะห์อย่างดี ปิดทับรอยต่อที่กระเบื้องมาชนกันตลอดแนวสันหลังคา จากนั้นจึงนำกระเบื้องครอบชุดใหม่ติดตั้งทับลงไป (ช่วยป้องกันรั่วซึมได้ดีกว่าระบบครอบแบบเปียกที่ใช้ปูนและมีโอกาสแตกร้าวรั่วซึมได้หากติดตั้งผิดวิธี) หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg อุดรอยรั่วหลังคา แก้ปัญหาหลังคารั่ว ครอบหลังคาแบบแห้ง ดรายเท็ค drytech system >ภาพ: ตัวอย่างชุดอุปกรณ์ของระบบครอบหลังคาแบบแห้ง (Drytech System) >คุณกฤษณ์เล่าว่า “ช่างก่อสร้างทั่วไปจะไม่มีการแจ้งแผนการทำงานให้เรารู้ ต้องคอยลุ้นเองว่าจะงานเสร็จเมื่อไหร่ เสี่ยงเรื่องการทิ้งงานและเข้างานไม่ตรงเวลาอีกด้วย บางทีก็กลัวว่าจะเกิดปัญหาเลยต้องลางานเข้ามาดูเอง ในขณะที่ทีมช่างของ SCG นั้น ก่อนเริ่มงานจะมีการส่งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับเตรียมซ่อมหลังคา พร้อมแจ้งให้เจ้าของบ้านรับทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาทำงานอย่างละเอียด สามารถเห็นภาพรวมการซ่อมหลังคารั่วได้ชัดเจน” สายพานลำเลียงกระเบื้องหลังคา หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg >ภาพ: ระบบการทำงานซ่อมหลังคารั่วของ SCG ที่มีการลำเลียงกระเบื้องด้วยสายพานเพื่อความรวดเร็วและลดการแตกหัก (ซ้าย) ดำเนินงานโดยช่างผู้ชำนาญ (ขวาบน) และมีการสื่อสารกับเจ้าของบ้านอย่างชัดเจน (ขวาล่าง) >และอีกความพิเศษของบริการ SCG Roof Renovation คือทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านได้ตามปกติ โดยช่างจะทำงานแต่ภายนอกบ้านเท่านั้น ไม่ได้มารบกวนพื้นที่ในบ้าน และไม่ต้องกังวลว่าจะมีฝุ่นผง สิ่งสกปรกอันตรายต่างๆ เข้ามาในบ้านแต่อย่างใด ในวันที่ทำการซ่อมหลังคา สมาชิกในบ้านคุณกฤษณ์ทั้งผู้สูงอายุและเด็กๆ ยังคงทำกิจวัตรประจำวันได้ หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg >ภาพ: มุมภาพจากโดรน แสดงการทำงานของช่างขณะดำเนินการซ่อมหลังคารั่ว ซึ่งระหว่างนั้น เจ้าของบ้านสามารถดำเนินกิจกรรมในบ้านได้ตามปกติ >นอกจากนี้คุณกฤษณ์ยังประทับใจเรื่องความใส่ใจและเข้าใจในความต้องการของเจ้าของบ้าน ตอนแรกกลัวจะซ่อมหลังคาเสร็จไม่ทัน เพราะเป็นหน้าฝนซึ่งต้องเสี่ยงกับพายุฝนและหลังคารั่วซึมหนักกว่าเดิม แต่ก็พบว่าทีมช่างได้เตรียมพร้อมอย่างดี เมื่อฝนตกจะนำผ้าใบและพลาสติกมาคลุมส่วนที่กำลังก่อสร้าง ป้องกันไม่ให้น้ำหยดเข้าตัวบ้าน คุณกฤษณ์เล่าถึงประสบการณ์ตรงนี้ว่า “การซ่อมหลังคารั่วช่วงหน้าฝน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าช่างของเราเตรียมพร้อมเสมอก็สามารถซ่อมได้ ไม่มีปัญหาอะไรครับ” สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ซ่อมหลังคารั่วฉบับ Safety First ปลอดภัย มั่นใจ >“ผมรู้สึกว่า SCG Roof Renovation ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยอย่างมาก ทั้งสำหรับเจ้าของบ้าน สมาชิกในบ้าน เพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมถึงตัวทีมช่างเองด้วย โดยช่างจะใส่อุปกรณ์ Safety ครบชุด ระหว่างที่ช่างทำงาน คุณแม่ และลูกๆ ก็สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับอันตราย หลังจบงานแต่ละวันยังมีการทำความสะอาดให้อีกด้วย” คุณกฤษณ์กล่าว อุปกรณ์Safety ความปลอดภัย หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg >ภาพ: ขณะดำเนินการซ่อมหลังคารั่ว ทีมช่างจะใส่อุปกรณ์ Safety เพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอ สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ซ่อมหลังคารั่วได้มาตรฐาน จบปัญหายาวนาน >“เห็นได้ชัดว่าบริการของ SCG Roof Renovation ต่างจากบริการติดตั้งปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาทั่วไป เนื่องจากทีมช่างของ SCG ผ่านการอบรมตามมาตรฐานบริษัท มีประสบการณ์และทักษะการทำงานเป็นมืออาชีพสูง ซ่อมหลังคาได้อย่างละเอียดราบรื่น ใช้เวลาไม่นาน จึงมั่นใจได้ในคุณภาพการบริการ” >คุณกฤษณ์กล่าวต่อว่า “หากมีโอกาสแนะนำเพื่อนหรือใครก็ตามที่อยากซ่อมหลังคาบ้าน ก็อยากแนะนำให้ใช้บริการ SCG Roof Renovation เพราะทีมช่างดูแลบ้านเราดีมาก ทำงานเร็ว มีระบบขั้นตอนชัดเจน ปลอดภัย และเรียบร้อย เราเองก็อยู่บ้านในได้ไม่ต้องย้ายออก ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลามาซ่อมหลังคารั่วทุกหน้าฝนอีกต่อไป” หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg แก้ปัญหาหลังคารั่ว กระเบื้องเอ็กเซลล่า excella หลังคาเอ็กเซลล่า-กระเบื้องหลังคาเซรามิก กระเบื้องexcella >ภาพ: หลังคาบ้านของคุณกฤษณ์ ภักดีศรีศักดา หลังจากดำเนินการซ่อมหลังคารั่วเสร็จเรียบร้อย ดูสวยงามกลมกลืนตลอดทั้งผืนโดยไม่เห็นความต่างระหว่างกระเบื้องหลังคาของเดิมกับกระเบื้องครอบของใหม่ (ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของกระเบื้องหลังคาเซรามิก) สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เราสามารถลดปัญหาบ้านชื้นได้โดยอาศัยแนวทางต่างๆ ทั้งการระบายอากาศ ใช้วัสดุหรือเครื่องดูดความชื้น ไปจนถึงการซ่อมแซมปรับปรุงดูแล เพื่อลดหรือป้องกันความเปียกชื้นทั้งภายในบ้านและจากภายนอกบ้าน > หน้าฝนกับปัญหาบ้านชื้นเป็นของคู่กัน หากความชื้นสะสมมากๆ ในบ้านอาจมีกลิ่นอับ สีผนังบวมลอก ผนังและฝ้าเพดานเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ หรือแม้แต่ปัญหาประตูหน้าต่างไม้บวมที่เปิดปิดยาก และยังอาจกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในการรับมือและลดปัญหาบ้านชื้น ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถอาศัยวิธีต่างๆ ดังนี้ > 1) ลดปัญหาบ้านชื้น ทำให้บ้านระบายอากาศและความชื้นได้เพียงพอ > ง่ายที่สุดคือ เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อให้อากาศถ่ายเท รับลมและแสงแดด เพื่อช่วยลดความชื้นและกลิ่นอับในบ้าน หากเป็นห้องที่อับลมหรือไม่มีหน้าต่าง ควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศหรือพัดลมหมุนเวียนอากาศช่วย แต่สำหรับหรับบ้านที่ไม่สามารถเปิดประตูหน้าต่างได้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเพราะกลัวฝุ่นกลัวเชื้อโรคเข้า หรือไม่มีคนอยู่บ้านเพราะต้องออกไปทำธุระนอกบ้านทั้งวัน อาจเลือกใช้ชุดอุปกรณ์ช่วยเร่งอัตราการระบายอากาศ\{.newtab}ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้แม้ปิดบ้านมิดชิด > Singleimage ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow System ช่วยลดปัญหาบ้านชื้น ภาพ: ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System ช่วยให้บ้านสามารถระบายอากาศได้ตลอดแม้ปิดบ้านมิดชิด > 2) ใช้วัสดุดูดความชื้น เครื่องดูดความชื้น ช่วยลดปัญหาบ้านชื้น เบื้องต้นเราอาจลดความชื้นด้วยวัสดุอย่าง ถ่านไม้ไผ่ เกลือ หรือข้าวสาร ใส่ในถุงผ้าที่ระบายอากาศได้ดี แล้ววางในมุมที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือมุมตู้เก็บของ เพื่อช่วยดูดซับความชื้น การเปิดแอร์ Dry Mode ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเช่นกัน หรือหากต้องการควบคุมความชื้นอย่างจริงจัง อาจเลือกใช้เครื่องดูดความชื้น\{.newtab}เพื่อควบคุมระดับความชื้นให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ช่วยลดกลิ่นอับ เชื้อรา และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค > Singleimage เครื่องดูดความชื้น ภาพ: ตัวอย่างเครื่องดูดความชื้นรุ่นต่างๆ > 3) ตรวจสอบและซ่อมแซมรอยรั่วซึมในบ้าน > ไล่เช็กรอยรั่วและจุดช้ำน้ำจากเพดานซึ่งอาจเกิดจากหลังคารั่วหรือห้องน้ำชั้นบนรั่วซึม รอยรั่วผนัง รอยรั่วตามรอยต่อประตูหน้าต่าง รอยรั่วจากท่อน้ำ หากพบจุดรั่วซึมควรลงมืออุดซ่อมแซมด้วย วัสดุอุดซ่อมรั่วซึม\{.newtab} หรือติดต่อช่างให้ดำเนินการซ่อมให้เรียบร้อยตามความเหมาะสม รวมถึงจัดการระบบระบายน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้มีน้ำหยด น้ำขัง เพื่อลดความชื้นสะสมในบ้าน > Singleimage รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึมรอบวงกบ ภาพ: ตัวอย่างรอยร้าวรั่วซึมที่ผนัง รอยรั่วที่หน้าต่าง และรอยร้าวรั่วซึมที่ผนังรอบหน้าต่าง > บริการซ่อมหลังคารั่ว ดาดฟ้ารั่ว คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 4) ติดตั้งกันสาด ป้องกันฝนสาดเข้าบ้าน > ฝนที่สาดเข้ามาทางประตูและหน้าต่าง เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นำความชื้นเข้ามาในบ้าน แม้จะปิดประตูหน้าต่าง แต่หากฝนตกหนักมากก็อาจเกิดการรั่วซึม รวมถึงเกิดความความชื้นสะสม นำมาซึ่งปัญหาเชื้อราที่ขอบหน้าต่างหรือประตูได้ด้วยเช่นกัน การติดตั้งหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่างจะช่วยลดปัญหานี้ โดยอาจเลือกเป็นกันสาดแบบธรรมดา หรือกันสาดพับได้ ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน > Singleimage กันสาด กันสาดพับได้ > ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งกันสาดพับได้ และกันสาดโปร่งแสงเหนือประตูหน้าต่าง เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าบ้านอันนำมาซึ่งปัญหาบ้านชื้น > > บริการติดตั้งหลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} > กันสาดพับได้พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 5) เลือกใช้วัสดุที่ลดการสะสมความชื้น หรือมีคุณสมบัติกันเชื้อรา > ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนจากวัสดุที่เป็นแหล่งสะสมความชื้น อย่างพื้นพรม พื้นไม้จริง เป็นวัสดุที่ทนต่อความชื้น เช่น กระเบื้องเซรามิก พื้นไวนิล พื้น SPC รวมถึงวัสดุอื่นๆ อย่างมู่ลี่ไม้ ประตูไม้ อาจเปลี่ยนมาพิจารณามู่ลี่อะลูมิเนียมลายไม้ ประตู UPVC แทน เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ต้องเผชิญความชื้นอย่างห้องน้ำ อาจเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติกันชื้น กันเชื้อรา เช่น สีกันชื้น ฝ้าทนชื้น ผ้าม่านกันเชื้อรา ประตู PVC ประตู UPVC ไปจนถึงพื้นกันลื่นรอยต่อน้อย\{.newtab}เพื่อลดปัญหาการสะสมของเชื้อรา > เลือกซื้อประตู UPVC พื้นไวนิล พื้น SPC คลิก\{.button .newtab} {.centered} > วิธีที่แนะนำไป คงพอจะช่วยลดและรับมือปัญหาบ้านชื้นได้ นอกจากนี้เราอาจใส่ใจในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ช่วยลดความเปียกชื้นในชีวิตประจำวัน เช่น หากพบน้ำเปียกตามพื้น เฟอร์นิเจอร์ ควรเช็ดให้แห้งตลอด หมั่นทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อรา กลิ่นอับ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการตากผ้าภายในบ้านเพื่อลดความชื้นสะสม สำหรับบ้านที่มีต้นไม้ไว้ในบ้าน ไม่ควรวางต้นไม้ในจุดอับลมอับแสงแดด เพราะต้นไม้จะคายน้ำทำให้ความชื้นเพิ่ม ควรวางไว้ในจุดที่มีการระบายอากาศและความชื้นได้ดี
แนะแนวทางตรวจสุขภาพบ้าน ทั้งที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี และ 5-15 ปี เพื่อหาจุดบกพร่องขณะตรวจสภาพบ้านและปรับปรุงซ่อมแซมตามสมควร ให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างราบรื่นปลอดภัย >“บ้าน” ไม่ว่าจะถูกสร้างให้แข็งแรงเพียงใด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมต้องเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เจ้าของบ้านจึงควรตรวจสอบสุขภาพของตัวบ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดการเกิดปัญหาบานปลายในอนาคต โดยการตรวจสอบสภาพบ้านจะแบ่งตามช่วงอายุของบ้าน ดังนี้ >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 0-5 ปี >ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักเกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้าง เรียกว่า Defect อาทิ การแตกร้าวของผนังจากการฉาบ หรือเลือกใช้ปูนฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือความบกพร่องของอุปกรณ์ภายในบ้านที่มาจากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ อาจพบปัญหาดินรอบบ้านทรุดตัว จนเกิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งหากเป็นบ้านในโครงการและอยู่ในช่วงรับประกัน ให้สอบถามทางโครงการว่าปัญหานี้อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันหรือไม่ แต่หากเป็นบ้านที่สร้างโดยผู้รับเหมาทั่วไปก็อาจจะพิจารณาซ่อมแซมเป็นจุด ๆ ไป บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน แก้ปัญหาดินรอบบ้านทรุด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี >เป็นช่วงเวลาควรเริ่มทำการตรวจสอบและบำรุงรักษา ซึ่งหากแก้ไขได้ทันจะช่วยลดการเกิดปัญหาที่อาจบานปลายในอนาคตได้ โดยเน้นตรวจ 3 จุดสำคัญ ได้แก่ ภายนอกบ้าน ภายในบ้าน และโครงสร้างของบ้าน ซึ่งมีรายละเอียดแยกย่อยกันไป >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสภาพพื้นที่ภายนอกบ้าน >1) รอยร้าวที่ผนังบ้าน สำหรับรอยร้าวขนาดเล็กที่เห็นด้วยตา เป็นรอยแตกยาวไปมาแบบไร้ทิศทาง สร้างความเสียหายให้ผนังและสีภายนอก โดยเฉพาะทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน เช่น ทิศใต้ และทิศตะวันตก รอยร้าวชนิดนี้ไม่อันตราย ไม่ส่งผลกับโครงสร้างอาคาร แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้น้ำฝนเข้าสู่อาคารได้ ในการแก้ไข ให้แต่งรอยแตกร้าวให้กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็นรูปตัววี พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นทำการทารองพื้นปูนเก่า และเก็บรอยร้าวด้วยวัสดุอุดโป๊วที่มีความยืดหยุ่นสูง ก่อนทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตามระบบการทาสีที่ถูกต้อง แต่หากเป็นรอยเพียงเท่าเส้นผมให้ทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตัวสูงทาทับปิดรอยแตกร้าวได้เลย >2) ตรวจการรั่วซึมที่ผนัง รอยรั่วบริเวณมุมประตูหน้าต่างมักมาพร้อมรอยแตกร้าวบริเวณมุมวงกบ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน อาจเพราะไม่ได้ใส่ลวดกรงไก่ในขั้นตอนก่อฉาบ จึงสร้างรอยร้าวเวลาใช้งานประตูหรือหน้าต่างได้ง่าย การใส่ลวดกรงไก่จะช่วยป้องกันรอยแตกร้าวอันเป็นสาเหตุรั่วซึมในส่วนนี้ได้ ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน รอยร้าวผนังใกล้ประตูหน้าต่าง ผนังร้าวรั่วซึม >ภาพ:ตัวอย่างรอยแตกร้าวที่ผนังในตำแหน่งใกล้กับหน้าต่าง >3) รอยรั่วบริเวณรอยต่อผนังชนท้องคาน จะเห็นรอยแตกร้าวเป็นเส้นระหว่างใต้คานกับผนัง ทำให้น้ำฝนไหลเข้าตัวบ้าน สาเหตุมักเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง การผิดขั้นตอน หรือเร่งฉาบปูนเร็วเกินไป ทำให้ปูนเกิดการหดตัวลง แก้ไขได้โดยใช้กาว PU หรืออะคริลิกอุดระหว่างร่อง ความยืดหยุ่นของสารเชื่อมประสานจะช่วยอุดรอยร้าวได้ ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน รอยร้าวใต้คาน รอยร้าวผนังใต้คาน >ภาพ:ตัวอย่างรอยแตกร้าวที่ผนังบริเวณใต้คาน ซื้อกาว PU คลิก-สีขาว-300-ml.-MagiX?utmsource=Web-SCG-HOME-LandingPage-Article&utmmedium=CTA-Products&utm_campaign=Products-PU1SealJ)\{.button .newtab} {.centered} >4) รอยรั่วบริเวณรอยต่อแนวดิ่งข้างเสา อาจเกิดจากการเก็บงานรอยต่อได้ไม่ดี หรือร้ายแรงหน่อยคือ ไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งระหว่างเสากับผนังบ้าน แก้ไขได้โดยสกัดรอยแตกร้าวให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปตัววี จากนั้นยาด้วย PU แล้วทาสีเก็บความเรียบร้อย และควรใส่เหล็กหนวดกุ้งทุกครั้งในการก่อผนังชนเสา >5) การทรุดตัวของดินและพื้นรอบบ้าน หลังจากที่พบการทรุดตัวของดินรอบบ้านในช่วง 5 ปีแล้วนั้น ปัญหาที่มักตามมาคือ ปัญหาพื้นรอบบ้านและพื้นจอดรถมีการทรุดตัวเสียหาย เนื่องจากพื้นส่วนนี้มักไม่ได้ ลงเสาเข็ม หรือลงเสาเข็มแบบสั้นที่อาศัยเพียงแรงฝืดในชั้นดินช่วยพยุงน้ำหนักของพื้นไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปพื้นดินมีการทรุดตัวตามธรรมชาติ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กตำแหน่งนั้นจึงทรุดตาม โดยเริ่มสังเกตได้จากระดับที่เอียงผิดปกติ และหากมีการทรุดมากขึ้นจะเห็นรอยแตกร้าวบริเวณพื้นตามมา ส่วนวิธีการแก้ไขนั้น หากเป็นพื้นจอดรถควรทำการลงเข็มเพื่อช่วยลดการทรุดตัวในอนาคต และควรให้แยกต่างหากจากตัวบ้านโดยไม่เชื่อมกัน เพื่อป้องกันความเสียหายกรณีที่มีการขยับตัวของโครงสร้างไม่เท่ากัน ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน โพรงใต้บ้าน พื้นทรุด พื้นรอบบ้านทรุด ดินรอบบ้านทรุด >ภาพ:ตัวอย่างโพรงใต้บ้านที่เกิดจากปัญหาพื้นดินรอบบ้านทรุด >6) ตรวจสอบหลังคาเพื่อป้องกันสัตว์เล็ก เช่น นก หนู ค้างคาว กระรอก ที่เข้ามาทำรังและกัดกินโครงสร้าง ทำให้หลังคาบ้านโดนทำลาย ผุพังง่าย ก่อความรำคาญทั้งกลิ่นและเสียง รวมถึงทำให้บ้านสกปรก ทั้งนี้ในการตรวจสอบให้สังเกตรายละเอียดต่างๆ คือ >- ครอบข้าง ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง >- สันหลังคา ไม่ชำรุด เเตกร้าว เชิงชายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก >- สันตะเข้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง >- ครอบปิดปลายสันตะเข้ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง >- ฝ้าชายคา ไม่ชำรุด เเตกหักเสียหาย >ส่วนการป้องกันแก้ไขแนะนำให้ติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ต่างๆ เข้ามาทำลายโครงสร้างหลังคาหรือเข้ามาอยู่อาศัยได้ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 5 ตำแหน่ง ได้แก่ แผ่นปิดครอบข้าง แผ่นปิดครอบสันหลังคา แผ่นปิดเชิงชาย แผ่นปิดครอบสันตะเข้ แผ่นปิดปลายสันตะเข้ บริการติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} >7) การรั่วซึมที่หลังคา >สังเกตรูปทรงหลังคาว่าได้ระดับ มีความสมมาตรดีหรือไม่ กระเบื้องมุงหลังคาติดตั้งได้แนว ไม่เผยอ ไม่มีรอยแตกร้าว ครอบหลังคาทั้งแนวสันหลังคาและตะเข้สันปิดมิดชิด ถ้าครอบเปียกให้สังเกตว่าปูนใต้ครอบมีรอยร้าวหรือไม่ เพราะเป็นจุดที่น้ำซึมผ่านได้ ส่วนภายในบ้านให้มองหาคราบน้ำบนฝ้าชายคาว่ามีหรือไม่ และลองเปิดฝ้าเพดานชั้นบนแล้วสังเกตดูว่ามีช่องของแสง หรือคราบน้ำในโถงหลังคาหรือไม่ ในการแก้ไขควรเรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและซ่อมหลังคาตามมาตฐานการติดตั้งของประเภทหลังคา ชนิดนั้น ๆ ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน หลังคารั่ว ฝ้าเพดานช้ำน้ำ ปัญหาหลังคารั่วซึม ซ่อมหลังคารั่ว >ภาพ: รอยรอยน้ำบริเวณฝ้าเพดานชั้นบน แสดงให้เห็นถึงปัญหารั่วซึมที่หลังคา บริการปรับปรุง ซ่อมแซมหลังคาบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสภาพในบ้าน >1) พื้นไม้กับปัญหาเรื่องปลวก ตรวจสอบพื้นไม้ภายในบ้านว่ายังใช้งานได้ดี มีปัญหาเรื่องปลวกหรือไม่ สังเกตรอยทางเดินปลวกภายในบ้าน เศษปีกหรือมูลของแมลงเม่าภายในตัวบ้าน เสียงปลวกที่กำลังกินไม้ ส่วนประตูหน้าต่างไม้หากมีรอยผุก่อน เริ่มฝืดและเปิดปิดยากขึ้น อาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปลวกได้ ในการแก้ไขควรเรียกบริษัทกำจัดปลวกมาทำการฉีดพ่นน้ำยาทั้งภายนอกและภายในบ้าน ทุก 1-3 ปี หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม >2) พื้นกระเบื้องเซรามิก เมื่อใช้งานไปนานอาจเกิดปัญหากระเบื้องหลุดล่อนหรือยาแนวหลุด วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นสามารถทำการแก้ไขเป็นจุดๆ ได้ แนะนำว่าซื้อกระเบื้องเซรามิกในเฉดสีเดียวกันสำรองไว้แต่แรกเผื่อใช้ปรับปรุงหรือซ่อมแซมในอนาคต (หากซื้อภายหลังอาจได้เฉดสีไม่ตรง หรือบางรุ่นอาจเลิกผลิต) บริการติดตั้งพื้นภายในบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสอบโครงสร้างบ้านเก่า >เน้นตรวจหารอยแตกร้าวขนาดใหญ่ตามตำแหน่งโครงสร้าง เช่น เสา คาน พื้น รวมถึงสภาพผิดปกติที่เป็นอันตรายกับโครงสร้างดังต่อไปนี้ >- พบรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งเสา คาน พื้น ร้ายแรงหน่อยอาจเห็นเหล็กเสริมภายในโครงสร้าง >- พบรอยแตกร้าวหรือรอยแตกเฉียง 45 องศาที่ผนัง >- พบรอยแยกแตกแยกระหว่างโครงสร้างบ้านเดิมกับส่วนต่อเติม >- พบเหล็กเส้นที่ตำแหน่งท้องพื้นชั้นดาดฟ้า >- พบการล้มเอียงของพื้น หรือผนังของตัวบ้าน >ในการตรวจสอบโครงสร้างบ้านเก่า หากพบลักษณะดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างของบ้านอาจมีปัญหา และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย แนะนำให้ปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อทำการแก้ไข >จะเห็นได้ว่าการตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี นั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย หากเจ้าของบ้านไม่ถนัด อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ และสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยมานานหลายปี แนะนำให้ตรวจสอบงานระบบด้วย โดยเฉพาะระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในบ้าน (อ่านบทความเกี่ยวข้อง “ตรวจระบบไฟฟ้าฉบับเจ้าของบ้าน: 4 ข้อ เช็กระบบไฟบ้านเก่าเกิน 10 ปี” >>คลิก{.newtab}) >ลงทะเบียนปรึกษาเรื่องการทำบ้านกับผู้เชี่ยวชาญของ เอสซีจี โฮม ได้ที่นี่ >>คลิก{.newtab} >เพื่อให้ “บ้าน” อยู่สบาย และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามบานปลายในอนาคต จึงควรหมั่นตรวจสอบบำรุงรักษา “บ้าน” อยู่เสมอ ซึ่งทาง เอสซีจี โฮม มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและพร้อมให้บริการเกี่ยวกับการสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม และต่อเติมบ้าน โดยลูกค้าสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ร้านเอสซีจี โฮม ทั่วประเทศ (ค้นหาสาขาร้านเอสซีจี โฮม >> คลิก{.newtab}) และลงทะเบียนปรึกษาเรื่องการทำบ้านกับผู้เชี่ยวชาญของ เอสซีจี โฮม ได้ที่นี่ >> คลิก{.newtab} หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SCG HOME Contact Center โทร 02-586-2222
ความแตกต่างในเรื่องรูปแบบและการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของเสาเข็มสั้นทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ เสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) เสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง และเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >. >“เสาเข็มตอก” ที่เป็น “เสาเข็มสั้น” หรือ “เสาเข็มเล็ก” นิยมใช้กันแพร่หลายในงานโครงสร้างขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือส่วนต่อเติมต่าง ๆ เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว เสริมลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง มีหลายขนาดและหน้าตัดต่าง ๆ ตามการใช้งาน >. >## 1. เสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) >เหมาะกับงานที่รับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น งานฐานรากของรั้ว รับน้ำหนักได้น้อยกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง และเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) มีขนาดหน้าตัดของเสา 10x12 ซม. มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1, 1.5, 2, 3, 4, 5 และ 6 เมตร ราคาถูกกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง และเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) >ภาพ: ลักษณะและขนาดของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงซีแพค หน้าตัดตัวที (T) >ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) ใช้กับงานรั้ว >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) ใช้กับงานรั้ว >. >## 2. เสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง >เหมาะกับงานรั้ว งานโครงสร้างขนาดเล็ก งานต่อเติมทั่วไป ลักษณะของเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวงจะมีรูกลวงตรงกลางตลอดท่อน โดยมีรูด้านหนึ่งเล็กกว่าอีกด้านหนึ่ง เวลาตอกจะตอกให้ด้านที่รูกว้างอยู่ด้านล่าง ด้านรูเล็กอยู่ด้านบน เพื่อให้พื้นที่ที่เสาเข็มสัมผัสกับดินจนเกิดแรงเสียดทานมีมากขึ้น การรับน้ำหนักใกล้เคียงกับเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I-12) มีขนาดหน้าตัดของเสา 15 ซม. มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1-6 เมตร ราคาใกล้เคียงกับเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ >ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง >ภาพ: ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง >ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง ใช้กับงานต่อเติมพื้นที่ข้างบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง ใช้กับงานต่อเติมพื้นที่ข้างบ้าน >. >## 3. เสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >เหมาะกับงานรั้ว งานต่อเติมปรับปรุงอาคาร งานเสริมความแข็งแรงถนน ทางเชื่อมระหว่างอาคาร งานฐานรากขนาดเล็ก และงานกำแพงกันดิน เป็นเสาเข็มที่มีพื้นที่รอบรูปมากกว่าเสาเข็มแบบอื่น ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำไห้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น มีขนาดหน้าตัดของเสา 12 และ 15 ซม. มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1, 1.5, 2, 3, 4, 5 และ 6 เมตร โดยเสาเข็มไอ 12 (I-12) จะรับน้ำหนักได้ใกล้เคียงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ส่วนเสาเข็มไอ 15 (I-15) จะรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง แต่ราคาใกล้เคียงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง >ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >ภาพ: ลักษณะและขนาดของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง หน้าตัดตัวไอ (I) >ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) ใช้กับงานต่อเติมรั้ว กำแพงกันดิน >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) ใช้กับงานต่อเติมรั้ว กำแพงกันดิน >. >## ตารางเปรียบเทียบ ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละรูปแบบ >ตารางเปรียบเทียบ ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละรูปแบบ >. >การเลือกเสาเข็มตอกในรูปแบบต่างๆ ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลายผู้ผลิต แตกต่างกันตามขนาดหน้าตัด มาตรฐานการผลิต ฯลฯ ทั้งนี้ ในการเลือกใช้ตลอดจนการคำนวณจำนวน ความลึก ความห่าง และขนาดของเสาเข็มแต่ละประเภท ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมและแข็งแรง >. >สนใจ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >สนใจ เสาเข็มไอ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >อ่านเพิ่มเติม: เสาเข็มต่อเติมบ้าน “เข็มเหล็ก VS. ไมโครไพล์ (Micropile)" แบบไหนตอบโจทย์ ? >อ่านเพิ่มเติม: 5 ข้อชวนใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หมดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด
เล่าที่มาของครัวต่อเติมทรุด รวมถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากครัวทรุด ทั้งการแตกร้าวของพื้นผนัง และปัญหาด้านโครงสร้าง > การต่อเติมครัวหลังบ้าน เป็นหนึ่งในการต่อเติมบ้านที่นิยมกันมาก ตามมาด้วย “ครัวต่อเติมทรุด” ที่มักกลายเป็นปัญหายอดนิยมด้วยเช่นกัน ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงที่มาว่าทำไมครัวต่อเติมถึงทรุด และปัญหาที่ตามมาเมื่อครัวทรุดจะมีอะไรได้บ้าง > ครัวต่อเติมทรุดเพราะลงเสาเข็มสั้น > อธิบายกันก่อนว่าพื้นที่ทั่วไปที่ไม่ใช่บริเวณภูเขา ชั้นดินแข็งจะอยู่ลึกลงไปด้านล่าง สำหรับกทม. ปริมณฑล ส่วนใหญ่ชั้นดินแข็งจะอยู่ลึกประมาณ 17-23 ม. ส่วนดินที่อยู่เหนือจากนั้นขึ้นมาจนถึงผิวดินจะเป็นชั้นดินอ่อนซึ่งมีแรงพยุงน้อย การสร้างบ้านทั่วไปจึงต้องลงเสาเข็มให้ลึกไปถึงชั้นดินแข็งเพื่อพยุงบ้านไม่ให้ทรุดตัว การลงเสาเข็มต่อเติมครัวก็เช่นกัน หากไม่ลงลึกถึงชั้นดินแข็ง หรือไม่ได้ลงเสาเข็มเลย เหตุการณ์ครัวต่อเติมทรุดย่อมเกิดขึ้นได้ และมักตามมาซึ่งปัญหาต่างๆ ได้แก่... > ครัวต่อเติมทรุด พื้นผนังแยก แตกร้าว รั่วซึม > การต่อเติมครัวโดยลงเสาเข็มสั้นนั้น หากมีการหล่อพื้น ก่อผนัง ชนกับตัวบ้าน เมื่อครัวต่อเติมทรุด รอยต่อพื้นรวมถึงกระเบื้องพื้นและรอยต่อผนังมักเกิดการแตกร้าว แยกออก จนเกิดเป็นช่องทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ และหากยึดโครงสร้างครัวต่อเติมไว้กับตัวบ้านก็มักจะเกิดการทรุดเอียง เนื่องจากครัวต่อเติมด้านที่ไม่ได้ยึดกับตัวบ้านจะถูกน้ำหนักดึงลงไปอย่างรวดเร็วมากกว่า > ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ภาพ: (ซ้าย) ส่วนต่อเติมทรุด แยกออกจากตัวบ้านเป็นช่องทางให้น้ำรั่ว รวมถึงฝุ่น แมลงเข้ามารบกวนจากภายนอกได้ และ (ขวา) ครัวต่อเติมทรุดจนกระเบื้องพื้นแตกร้าวและพื้นเอียงจนไม่สามารถปิดประตูได้ > บริการต่อเติมครัวโดยทีมงานมืออาชีพ จาก HomeSmile คลิก\{.button .newtab} {.centered} > โครงสร้างเสียหาย เพราะต่อเติมครัวยึดเข้ากับตัวบ้าน > การต่อเติมครัวโดยยึดโครงสร้างเข้ากับโครงสร้างบ้านเดิมนั้น นอกจากจะเกิดปัญหาการทรุดเอียง พื้นผนังแตกร้าวแล้ว อีกเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านจะต้องตระหนักคือ โครงสร้างบ้านจะต้องรับภาระน้ำหนักส่วนต่อเติมที่เพิ่มมาโดยไม่ได้ถูกคำนวณไว้แต่แรก และเมื่อครัวต่อเติมทรุด โครงสร้างอาจถูกดึงรั้งกันจนเสียหาย นำมาซึ่งปัญหาอันตรายด้านโครงสร้างได้ในอนาคต > text ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้านภาพ: ครัวต่อเติมลงเสาเข็มสั้นยึดกับตัวบ้าน เมื่อครัวทรุดจะดึงรั้งตัวบ้านจนกระทบกับโครงสร้างได้ > ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ภาพ: รอยร้าวแนวเฉียงบนผนัง เป็นหนึ่งในสัญญาณแสดงปัญหาการทรุดที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง ถือเป็นรอยร้าวอันตรายซึ่งควรรีบปรึกษาวิศวกร > แก้ปัญหาครัวต่อเติมทรุดแตกร้าว > รอยแตกร้าวบริเวณพื้น ผนังที่เกิดขึ้น อาจซ่อมแซมเฉพาะจุดโดยใช้วัสดุอุดยาแนวปิดรอยแตก ไปจนถึงทุบรื้อ ทำใหม่บางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความเสียหายมากน้อยตามสภาพที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่โครงสร้างบ้านเสียหายด้วยเพราะโดนส่วนต่อเติมดึงรั้ง ถือว่าอันตราย ควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อทำการแก้ไขโดยเร็ว ต่อเติมครัวครั้งถัดไป กันไว้ดีกว่าแก้ > การลงเสาเข็มครัวต่อเติมเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งเพื่อป้องกันครัวต่อเติมทรุด ถือเป็นเรื่องดี กรณีพื้นที่จำกัดอาจเลือกเสาเข็มไมโครไพล์ซึ่งใช้เครื่องตอกขนาดเล็กและเกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ แม้จะเป็นทางเลือกที่ค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็ดูคุ้มค่าในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านไม่สะดวกจะจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ และยอมรับการทรุดในอนาคตได้ จะต้องปฏิบัติตามหลักการต่อเติมบ้านที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด นั่นคือ ส่วนต่อเติมกับตัวบ้านจะต้องแยกจากกันทั้งส่วนของวัสดุและโครงสร้าง หมายถึงจะต้องมีเสา คาน อีกชุดสำหรับรองรับส่วนต่อเติมทั้งหมด โดยไม่ไปฝากน้ำหนักไว้กับเสาคานของตัวบ้าน นอกจากนี้วัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้น ผนัง ไม่ควรก่อหรือหล่อชนกับตัวบ้าน แต่ให้ใช้วัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น โฟมยาง คั่นรอยต่อแทน > เสาเข็มไมโครไพล์ ไมโครไพล์ micropile ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้าน ภาพ: การลงเสาเข็มไมโครไพล์ซึ่งใช้เครื่องมือตอกขนาดเล็ก เหมาะกับการต่อเติมบ้านในพื้นที่จำกัด ตัวเสาเข็มยาวท่อนละ 1.5 ม. สามารถตอกต่อกันลึกไปถึงชั้นดินแข็งได้ > ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้าน ภาพ: การต่อเติมครัวหรือต่อเติมบ้านแบบลงเสาเข็มสั้นสำหรับรองรับส่วนต่อเติมโดยเฉพาะ ไม่ฝากน้ำหนักไว้กับตัวบ้าน > ทั้งนี้ หลักการที่ว่าจะต้องแยกส่วนต่อเติมกับตัวบ้านนั้น ไม่ได้ใช้เฉพาะกรณีลงเสาเข็มสั้นอย่างเดียว แต่รวมถึงการต่อเติมบ้านโดยลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งด้วย เผื่อมีการการขยับเขยื้อนของชั้นดินในอนาคต โครงสร้างและฐานรากเสาเข็มของส่วนต่อเติมกับบ้านจะได้ไม่กระทบหรือสร้างความเสียหายซึ่งกันและกัน อีกข้อสำคัญที่จะลืมไม่ได้ คือการต่อเติมครัวหรือต่อเติมบ้านแต่ละครั้งควรเลือกทีมช่าง ผู้รับเหมา ที่มีความชำนาญ ทำงานได้มาตรฐานและต่อเติมอย่างถูกต้องตามหลักการ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาในระยะยาว > แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้าน ภาพ: ตัวอย่างการต่อเติมบ้านที่มีโครงสร้าง เสา คาน สำหรับรองรับน้ำหนักของส่วนต่อเติมโดยเฉพาะ โดยไม่มีการฝากน้ำหนักส่วนต่อเติมไว้กับตัวบ้าน (ขอบคุณภาพจาก HomeSmile) > บริการต่อเติมครัวโดยทีมงานมืออาชีพ จาก HomeSmile คลิก\{.button .newtab} {.centered} > อ่านเพิ่มเติม: จะต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มอย่างไรดี ?
ข้อดีน่ารู้เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ที่เจ้าของบ้านควรทราบ เพื่อเป็นทางเลือกในการต่อเติมบ้านบนพื้นที่ขนาดจำกัด และช่วยแก้ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดในระยะยาวได้ >เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดหนึ่งมีทั้งแบบ “หน้าตัดรูปตัวไอ” และแบบหน้าตัดกลมที่เรียกว่า “เสาเข็มสปันไมโครไพล์” (Spun Micropile ผลิตจากคอนกรีตแบบมีแรงเหวี่ยงในแบบหล่อ จึงแข็งแรงกว่าแบบหน้าตัดรูปตัวไอ) เสาเข็มไมโครไพล์ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ใช้ตอกต่อกันตามความยาวที่ต้องการโดยเชื่อมเพลทเหล็กที่หัวและท้ายของเสาเข็ม เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานต่อเติมบ้านในพื้นที่จำกัดและไม่ต้องการเจอกับปัญหาต่อเติมบ้านทรุด รวมถึงมีข้อดีอื่นๆ อีก ซึ่ง SCG HOME อยากจะนำทั้งหมดมาสรุปให้อ่านกันเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: เสาเข็มไมโครไพล์ แบบหน้าตัดกลม (Spun Micropile) และหน้าตัดรูปตัวไอ สามารถตอกต่อกันจนลึกถึงชั้นดินแข็งได้ สังเกตที่หัวท้ายเสาเข็มจะมีแผ่นเหล็กเพื่อใช้เชื่อมต่อกันระหว่างเสาเข็มแต่ละต้น เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile เชื่อมเหล็ก เชื่อมเสาเข็ม >ภาพ: การเชื่อมเหล็กที่หัวท้ายของเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อต่อความยาวเสาเข็ม >## 1) ใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หมดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด >พื้นที่ดินทั่วไปที่เราสร้างบ้านจะมีชั้นดินอ่อนอยู่ด้านบนและชั้นดินแข็งอยู่ด้านล่าง (ยกเว้นพื้นที่บริเวณใกล้ภูเขา ซึ่งดินชั้นบนเป็นดินแข็ง) เสาเข็มของบ้านปกติแล้วจะลงลึกจนถึงชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. จากผิวดิน ในขณะที่ส่วนต่อเติมทั่วไปมักลงเสาเข็มสั้นลึกจากผิวดินแค่ไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งอยู่ในระดับชั้นดินอ่อน จึงทำให้ส่วนต่อเติมทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ช่วยแก้ปัญหานี้ เพราะสามารถใช้ตอกต่อกันให้ลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นดินแข็งได้ ส่วนต่อเติมก็จะไม่ทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดจึงหมดไป เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: เสาเข็มสั้นในส่วนต่อเติม ฝังอยู่ในขั้นดินอ่อน ทำให้ครัวทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: ส่วนต่อเติมที่ใช้เสาเข็มไมโครไพล์ สามารถนำมาตอกต่อกันให้ลึกถึงชั้นดินแข็งได้ จึงช่วยแก้ปัญหาต่อเติมบ้านทรุด >## 2) เสาเข็มไมโครไพล์ ใช้ต่อเติมบ้านในพื้นที่แคบได้ >การจะลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งในงานต่อเติมบ้าน โดยทั่วไปมี 2 ทางเลือก คือ “เสาเข็มเจาะ” กับ “เสาเข็มไมโครไพล์” ข้อจำกัดของเสาเข็มเจาะคือเครื่องมือที่ใช้มีขนาดใหญ่ พื้นที่หน้างานต้องไม่ต่ำกว่า 5x6 เมตร โดยห้ามมีสิ่งกีดขวางที่ระยะความสูง 5 เมตร และตำแหน่งเสาเข็มต้องไม่อยู่ในจุดมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วย ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์จะใช้เครื่องมือตอกที่มีขนาดเล็ก จึงตอบโจทย์งานต่อเติมบ้านในพื้นที่ขนาดเล็กอย่างบ้านในชุมชนเมือง ในซอยแคบๆ หรือหมู่บ้านจัดสรร เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: (ซ้าย) การลงเสาเข็มเจาะกับเครื่องมือซึ่งต้องใช้พื้นที่เยอะ และ (ขวา) เครื่องมือตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ซึ่งมีขนาดเล็กจึงใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ (ขอบคุณภาพจาก knproconcrete.com) >## 3) ลงเสาเข็มไมโครไพล์ ใช้เวลาน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ >การต่อเติมบ้านด้วยเสาเข็มเจาะ ใน 1 วันจะลงเสาเข็มได้ประมาณ 2 ต้น โดยแต่ละต้นจะต้องมีการขุดเจาะดิน ใส่เหล็กเสริม และเทหล่อคอนกรีต ยังไม่รวมเวลาคอนกรีตเซตตัวอีก 48 ชม. ก่อนจะตัดหัวเข็มได้ ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์ จะอาศัยการตอกและเชื่อมเสาเข็มเพื่อต่อความยาวลงไปเรื่อยๆ โดยใน 1 วัน สามารถลงเข็มได้ประมาณ 3 ต้น และไม่ต้องเสียเวลารอคอนกรีตเซตตัว จึงทำงานได้รวดเร็วกว่าเสาเข็มเจาะมาก ต่อเติมบ้านทรุด ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: การลงเสาเข็มเจาะซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนขุดเจาะดิน ใส่เหล็กเสริม และเทหล่อคอนกรีต ทั้งยังต้องรอคอนกรีตเซตตัวด้วย จึงใช้เวลามากกว่า เมื่อเทียบกับการลงเสาเข็มไมโครไพล์ >## 4) ลงเสาเข็มไมโครไพล์ หน้างานเรียบร้อยกว่าเสาเข็มเจาะ >ในการลงเสาเข็มเจาะ จะมีดินโคลนที่ต้องขุดขึ้นมากองอยู่บนพื้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับกองแล้ว ยังเป็นภาระที่จะต้องขนเอาดินปริมาณมากไปหาที่ทิ้งอีกด้วย ส่วนการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ จะมีดินที่ไหลออกมาเป็นจำนวนน้อย หน้างานจึงไม่เลอะเทอะมาก และดูสะอาดเรียบร้อยกว่าการลงเสาเข็มเจาะ >## 5) ลงเสาเข็มไมโครไพล์ เสียงดังรบกวนน้อยกว่าเสาเข็มชนิดอื่น >การต่อเติมบ้านบริเวณพื้นที่อาศัยที่มีความหนาแน่นอย่างในเมืองนั้น ต้องระวังเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้านเป็นอย่างมาก การลงเสาเข็มไมโครไพล์จึงนับว่าตอบโจทย์ตรงนี้ด้วย เพราะเสียงรบกวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการลงเสาเข็มชนิดอื่น >จะเห็นได้ว่า การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ในงานต่อเติมบ้านนั้น นอกจากจะมีข้อดีหลักๆ คือ ป้องกันปัญหาต่อเติมบ้านทรุด สามารถใช้ในพื้นที่ต่อเติมที่มีขนาดเล็กได้แล้ว ยังใช้เวลาน้อยกว่าและมีหน้างานที่เรียบร้อยกว่าเมื่อเทียบกับเสาเข็มเจาะ ทั้งยังเกิดเสียงดังรบกวนน้อยกว่าการลงเสาเข็มชนิดอื่นด้วย ถึงแม้เสาเข็มไมโครไพล์จะมีราคาสูงกว่าเสาเข็มทั่วไป แต่หากลองเทียบข้อดีแล้วก็อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าอยู่ไม่น้อยในระยะยาว