ประเภทของกระจกที่นิยมใช้กับประตูหน้าต่างในบ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติและการเลือกใช้งานให้เหมาะสมแตกต่างกันไป
>.
>“กระจก” เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ทุกวันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะกับอาคาร บ้านพักอาศัย ซึ่งจริง ๆ แล้วกระจกไม่ใช่แตกต่างกันแค่ความหนาหรือสีของกระจกเท่านั้น แต่มีหลากหลายประเภทด้วย เช่น กระจกใส กระจกนิรภัย กระจกเคลือบผิว กระจกฮีตสต็อป กระจกเสริมลวด และอื่น ๆ อีกมากมาย ถูกออกแบบและมีกระบวนการผลิตที่ต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งาน การเลือกใช้กระจกมีความสำคัญมาก เพราะไม่ใช่แค่ความสวยงาม ราคา แต่เป็นเรื่องของความปลอดภัยด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับบทความนี้จะขอเล่าถึงกระจกที่นิยมใช้กับประตูหน้าต่างในบ้านซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ กระจกใส กระจกสี กระจกเทมเปอร์ และกระจกลามิเนต
>.
>## กระจกใส
>เป็นกระจกธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป โปร่งแสง ไม่มีสี สามารถมองผ่านได้อย่างชัดเจนและให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว กระจกชนิดนี้ยอมให้แสงผ่านประมาณ 75-92 % มีราคาต่ำสุด เหมาะกับงานประตู/หน้าต่างด้านที่ไม่โดนแดดมากนัก ควรมีบานกรอบเพื่อความปลอดภัย
>กระจกใสยังเป็นกระจกพื้นฐานสำหรับนำไปผลิตเป็นกระจกประเภทต่าง ๆ เช่น กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกนิรภัยหลายชั้น กระจกฉนวนกันความร้อนและกระจกเคลือบผิว ทั้งนี้ คุณภาพของกระจกเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระจกใสที่นำมาผลิตด้วย
>กระจกใสใช้กับประตู/หน้าต่างด้านที่ไม่ต้องโดนแดดทั้งวัน
>ภาพ: กระจกใสใช้กับประตู/หน้าต่างด้านที่ไม่ต้องโดนแดดทั้งวัน มองวิวภายนอกได้ชัดเจน
>.
>## กระจกสี
>หรือกระจกดูดกลืนความร้อน (Heat Absorbing Glass) ผลิตขึ้นโดยผสมออกไซด์ของโลหะเข้าไปในกระบวนการผลิต เพื่อให้มีสีแตกต่างกัน รวมถึงคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมากระทบผิวกระจกและลดปริมาณแสงที่ผ่านกระจก ปริมาณแสงที่จะทะลุผ่านกระจกสีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ความหนา และสีของกระจก เหมาะกับประตู/หน้าต่างด้านที่โดนแดดจัด หรือจะเลือกใช้ทั้งหลังเลยก็ได้เพื่อไม่ให้บ้านดูแปลกตาหากสีกระจกต่างกัน
>ประตูบานเลื่อนกระจกสีเขียวช่วยกรองแสงจากภายนอก
>ภาพ: ประตูบานเลื่อนกระจกสีเขียวช่วยกรองแสงจากภายนอกทำให้ภายในรู้สึกสบายตา
>.
>## กระจกเทมเปอร์
>หรือกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นการนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริง (Tempering) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง โดยการสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัด (Compressive Stress) ขึ้นที่ผิวแก้วเพื่อต้านแรงจากภายนอก วิธีการนี้ทำได้โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) ของแก้วเล็กน้อยที่ประมาณ 650-700 องศาเซลเซียส และทำให้ผิวกระจกเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วโดยการใช้ลมเย็นเป่า (Air Quenching) ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวนอกกับส่วนกลางของแผ่นกระจกจะทำให้เกิดเป็นชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวนอกของแผ่นกระจกทั้ง 2 ด้าน โดยจะประกบชั้นส่วนกลางเหมือนลักษณะแซนด์วิช และชั้นที่ผิวนี้จะช่วยต้านแรงจากภายนอก ทำให้กระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า อย่างไรก็ตาม ก่อนกระบวนการเทมเปอริง จะต้องตัดกระจกให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อน เพราะถ้าตัดหลังจากการผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วกระจกจะแตกละเอียดหมดทั้งแผ่น
>กระจกเทมเปอร์ แตกยาก แตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ต่างกับกระจกใสหรือกระจกสีที่แตกเป็นแผ่นคม เหมาะกับประตูหน้าต่างบานใหญ่หรือสูงเกิน 3 เมตร รวมถึงฉากกั้นอาบน้ำในห้องน้ำ
>กระจกเทมเปอร์แตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลดอันตราย
>ภาพ: กระจกเทมเปอร์แตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลดอันตราย
>.
>## กระจกลามิเนต
>หรือกระจกนิรภัยหลายชั้น เป็นกระจกที่มีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรต (Polyvinyl Butyrate; PVB) ที่เหนียว และแข็งแรงซ้อนอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นกระจกประกบกัน ซึ่งอาจเป็นกระจกใส กระจกสี กระจกเทมเปอร์ หรือกระจกอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ฟิล์มที่อยู่ตรงกลางมีหลายแบบให้เลือกทั้งแบบกันร้อน กันทุบ กันกระสุน สำหรับบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักจะใช้แบบกันความร้อน หากกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตก แผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจายลงมาเป็นอันตราย เหมาะกับหลังคา Skylight, ราวกันตก หรือหน้าต่างที่อยู่สูงมีความเสี่ยง
>กระจกลามิเนตลักษณะเป็นกระจก 2 แผ่นประกบกันตรงกลางเป็นแผ่นฟิล์ม
>ภาพ: กระจกลามิเนตลักษณะเป็นกระจก 2 แผ่นประกบกันตรงกลางเป็นแผ่นฟิล์ม ใช้งานกับที่สูง
>กระจกลามิเนตที่เลือกใช้แผ่นกระจกเทมเปอร์ประกบกัน
>ภาพ: กระจกลามิเนตที่เลือกใช้แผ่นกระจกเทมเปอร์ประกบกันแตกแล้วเป็นเม็ดแต่ไม่หล่นกระจายเพราะมีแผ่นฟิล์มช่วยยึดไว้
>.
>นอกจากกระจกทั้ง 4 ประเภทข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีกระจกชนิดอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่น กระจกฝ้า กระจกสองชั้น กระจกเงา (Mirror) กระจกลวดลาย (Pattern Glass) กระจกเสริมลวด (Wired Glass) ฯลฯ ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับผู้ให้บริการติดตั้งประตู-หน้าต่างเพื่อเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม
>.
>สนใจ หน้าต่าง Aluminium และ uPVC คลิก\{.button .newtab} {.centered}
>.
>สนใจ ประตู Aluminium คลิก\{.button .newtab} {.centered}
>.
>อ่านเพิ่มเติม: เลือกรูปแบบประตูหน้าต่างให้ตอบโจทย์
>อ่านเพิ่มเติม: ความแตกต่างของหน้าต่าง อะลูมิเนียม กับ uPVC
ประเภทของกระจกที่นิยมใช้กับประตูหน้าต่างในบ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติและการเลือกใช้งานให้เหมาะสมแตกต่างกันไป
>.
>“กระจก” เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ทุกวันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะกับอาคาร บ้านพักอาศัย ซึ่งจริง ๆ แล้วกระจกไม่ใช่แตกต่างกันแค่ความหนาหรือสีของกระจกเท่านั้น แต่มีหลากหลายประเภทด้วย เช่น กระจกใส กระจกนิรภัย กระจกเคลือบผิว กระจกฮีตสต็อป กระจกเสริมลวด และอื่น ๆ อีกมากมาย ถูกออกแบบและมีกระบวนการผลิตที่ต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งาน การเลือกใช้กระจกมีความสำคัญมาก เพราะไม่ใช่แค่ความสวยงาม ราคา แต่เป็นเรื่องของความปลอดภัยด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับบทความนี้จะขอเล่าถึงกระจกที่นิยมใช้กับประตูหน้าต่างในบ้านซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ กระจกใส กระจกสี กระจกเทมเปอร์ และกระจกลามิเนต
>.
>## กระจกใส
>เป็นกระจกธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป โปร่งแสง ไม่มีสี สามารถมองผ่านได้อย่างชัดเจนและให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว กระจกชนิดนี้ยอมให้แสงผ่านประมาณ 75-92 % มีราคาต่ำสุด เหมาะกับงานประตู/หน้าต่างด้านที่ไม่โดนแดดมากนัก ควรมีบานกรอบเพื่อความปลอดภัย
>กระจกใสยังเป็นกระจกพื้นฐานสำหรับนำไปผลิตเป็นกระจกประเภทต่าง ๆ เช่น กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกนิรภัยหลายชั้น กระจกฉนวนกันความร้อนและกระจกเคลือบผิว ทั้งนี้ คุณภาพของกระจกเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระจกใสที่นำมาผลิตด้วย
>กระจกใสใช้กับประตู/หน้าต่างด้านที่ไม่ต้องโดนแดดทั้งวัน
>ภาพ: กระจกใสใช้กับประตู/หน้าต่างด้านที่ไม่ต้องโดนแดดทั้งวัน มองวิวภายนอกได้ชัดเจน
>.
>## กระจกสี
>หรือกระจกดูดกลืนความร้อน (Heat Absorbing Glass) ผลิตขึ้นโดยผสมออกไซด์ของโลหะเข้าไปในกระบวนการผลิต เพื่อให้มีสีแตกต่างกัน รวมถึงคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมากระทบผิวกระจกและลดปริมาณแสงที่ผ่านกระจก ปริมาณแสงที่จะทะลุผ่านกระจกสีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ความหนา และสีของกระจก เหมาะกับประตู/หน้าต่างด้านที่โดนแดดจัด หรือจะเลือกใช้ทั้งหลังเลยก็ได้เพื่อไม่ให้บ้านดูแปลกตาหากสีกระจกต่างกัน
>ประตูบานเลื่อนกระจกสีเขียวช่วยกรองแสงจากภายนอก
>ภาพ: ประตูบานเลื่อนกระจกสีเขียวช่วยกรองแสงจากภายนอกทำให้ภายในรู้สึกสบายตา
>.
>## กระจกเทมเปอร์
>หรือกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นการนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริง (Tempering) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง โดยการสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัด (Compressive Stress) ขึ้นที่ผิวแก้วเพื่อต้านแรงจากภายนอก วิธีการนี้ทำได้โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) ของแก้วเล็กน้อยที่ประมาณ 650-700 องศาเซลเซียส และทำให้ผิวกระจกเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วโดยการใช้ลมเย็นเป่า (Air Quenching) ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวนอกกับส่วนกลางของแผ่นกระจกจะทำให้เกิดเป็นชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวนอกของแผ่นกระจกทั้ง 2 ด้าน โดยจะประกบชั้นส่วนกลางเหมือนลักษณะแซนด์วิช และชั้นที่ผิวนี้จะช่วยต้านแรงจากภายนอก ทำให้กระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า อย่างไรก็ตาม ก่อนกระบวนการเทมเปอริง จะต้องตัดกระจกให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อน เพราะถ้าตัดหลังจากการผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วกระจกจะแตกละเอียดหมดทั้งแผ่น
>กระจกเทมเปอร์ แตกยาก แตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ต่างกับกระจกใสหรือกระจกสีที่แตกเป็นแผ่นคม เหมาะกับประตูหน้าต่างบานใหญ่หรือสูงเกิน 3 เมตร รวมถึงฉากกั้นอาบน้ำในห้องน้ำ
>กระจกเทมเปอร์แตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลดอันตราย
>ภาพ: กระจกเทมเปอร์แตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลดอันตราย
>.
>## กระจกลามิเนต
>หรือกระจกนิรภัยหลายชั้น เป็นกระจกที่มีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรต (Polyvinyl Butyrate; PVB) ที่เหนียว และแข็งแรงซ้อนอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นกระจกประกบกัน ซึ่งอาจเป็นกระจกใส กระจกสี กระจกเทมเปอร์ หรือกระจกอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ฟิล์มที่อยู่ตรงกลางมีหลายแบบให้เลือกทั้งแบบกันร้อน กันทุบ กันกระสุน สำหรับบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักจะใช้แบบกันความร้อน หากกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตก แผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจายลงมาเป็นอันตราย เหมาะกับหลังคา Skylight, ราวกันตก หรือหน้าต่างที่อยู่สูงมีความเสี่ยง
>กระจกลามิเนตลักษณะเป็นกระจก 2 แผ่นประกบกันตรงกลางเป็นแผ่นฟิล์ม
>ภาพ: กระจกลามิเนตลักษณะเป็นกระจก 2 แผ่นประกบกันตรงกลางเป็นแผ่นฟิล์ม ใช้งานกับที่สูง
>กระจกลามิเนตที่เลือกใช้แผ่นกระจกเทมเปอร์ประกบกัน
>ภาพ: กระจกลามิเนตที่เลือกใช้แผ่นกระจกเทมเปอร์ประกบกันแตกแล้วเป็นเม็ดแต่ไม่หล่นกระจายเพราะมีแผ่นฟิล์มช่วยยึดไว้
>.
>นอกจากกระจกทั้ง 4 ประเภทข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีกระจกชนิดอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่น กระจกฝ้า กระจกสองชั้น กระจกเงา (Mirror) กระจกลวดลาย (Pattern Glass) กระจกเสริมลวด (Wired Glass) ฯลฯ ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับผู้ให้บริการติดตั้งประตู-หน้าต่างเพื่อเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม
>.
>สนใจ หน้าต่าง Aluminium และ uPVC คลิก\{.button .newtab} {.centered}
>.
>สนใจ ประตู Aluminium คลิก\{.button .newtab} {.centered}
>.
>อ่านเพิ่มเติม: เลือกรูปแบบประตูหน้าต่างให้ตอบโจทย์
>อ่านเพิ่มเติม: ความแตกต่างของหน้าต่าง อะลูมิเนียม กับ uPVC