
ไอเดียตกแต่งบ้านสำหรับงานปรับปรุง ที่สามารถแปลงโฉมจุดต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกบ้านได้อย่างง่ายดายภายในไม่กี่วัน >บ้านที่เราอยู่อาศัยกันมานาน ย่อมมีจุดที่เสื่อมโทรมไม่สวยงาม หรือดูตกยุคน่าเบื่อ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เจ้าของบ้านจะคิดอยากปรับปรุงให้ดูสวยใหม่ หลีกหนีความซ้ำซากจำเจ แต่ก็อาจไม่ต้องการให้ยุ่งยากจนเกินไป วันนี้ SCG Home จึงนำไอเดียแต่งบ้านตามจุดต่างๆ มาฝาก ซึ่งตอบโจทย์การปรับปรุงบ้านแบบง่ายๆ ใช้เวลาไม่กี่วัน และไม่ต้องลำบากหอบผ้าผ่อนย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 1: เปลี่ยนลุคหลังคาทาสีใหม่ สวยง่ายไม่ต้องรื้อ >การปรับปรุงหลังคาบ้านที่เก่าโทรมให้ดูสวยใหม่ขึ้น บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องรื้อกระเบื้องเปลี่ยนเสมอไป หากสภาพหลังคายังสมบูรณ์ ไม่แตกร้าวรั่วซึม อาจลงเอยด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้บริการล้างทำความสะอาดและทาสีทับกระเบื้องหลังคาไปเลย ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเลือกสีเดิมหรือจะเปลี่ยนลุคเป็นสีใหม่ก็ได้ ทาสีหลังคาใหม่ ภาพ: ตัวอย่างบริการทาสีหลังคาสำหรับกระเบื้องหลังคาคอนกรีต สนใจ บริการทาสีหลังคา คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 2: เสกพื้นหญ้าโทรม เป็นหญ้าเทียมเขียวสดสวย >สนามหญ้ารอบบ้านเป็นพื้นที่สีเขียวที่สร้างความสดชื่น แต่ถ้าไม่ดูแลให้ดี ปล่อยให้หญ้าแห้งตาย นอกจากจะไม่สวยสดชื่นแล้วยังทำให้บ้านดูโทรมด้วย กรณีเช่นนี้อาจเปลี่ยนมาใช้เป็นหญ้าเทียมแทน ซึ่งยังคงให้ความเขียวชอุ่มสวยงามอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ทั้งยังมีสีเขียวหลายโทนให้เลือกพร้อมความยาวและรูปทรงใบหญ้าที่หลากหลาย พื้นหญ้าเทียม >ภาพ: ตัวอย่างการใช้หญ้าเทียมในสวน ให้บรรยากาศพื้นที่สีเขียว ที่ดูสวยงามสมจริง (ขอบคุณสถานที่: บ้านคุณเกด-เจษฎ์สุภา พิพัฒนสุภรณ์ และคุณจี๊ป-ปริญญา ณรงค์ธนรัฐ) >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 3: รื้อหญ้ารกออก ปูกระเบื้องใหม่ ได้พื้นที่นั่งชิลหลังบ้าน >หญ้ายาวรกรุงรัง นับเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเจ้าของบ้านที่ไม่สะดวกจะเจียดเวลามาตัดหญ้าบ่อยๆ อีกไอเดียที่ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศ และตัดปัญหาหญ้ารกได้ง่ายๆ ก็คือ รื้อหญ้าออก แล้วปูกระเบื้องคอนกรีตแทน โดยอาจมีการตกแต่งโรยกรวดเพิ่มเติมให้ดูมีชีวิตชีวาเป็นธรรมชาติ กระเบื้องคอนกรีต >ภาพ: พื้นปูกระเบื้องคอนกรีตสีขาว คู่กับกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี รุ่น แสตมป์เพฟ ลายลอนดอน สีส้ม พร้อมโรยกรวดตกแต่ง ได้พื้นที่นั่งชิลหลังบ้าน พร้อมทางเดินน่ารักๆ (ขอบคุณสถานที่: บ้านคุณสมพงค์ จันทร์ทอน และ คุณยลพัชร์ แก้วปรอท) สนใจ บล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 4: แปลงโฉมระเบียงไม้ผุหน้าบ้าน เป็นพื้นไม้เทียมสวยทน >ปฏิเสธไม่ได้ว่าระเบียงพื้นไม้นั้นให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมชาติสวยงาม แต่ก็ต้องดูแลรักษาพอสมควร เพราะเป็นวัสดุที่ผุพังง่าย สำหรับพื้นระเบียงไม้ที่ผุโทรมจนต้องเปลี่ยนใหม่ อาจลองหันมาใช้ระบบพื้นไม้เทียม เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ แทน ซึ่งดูแลรักษาง่ายกว่า ทนแดดฝน ไม่เป็นอาหารของปลวก มีพื้นผิวลายเสี้ยนไม้ที่ดูคล้ายไม้จริง พร้อมสีน้ำตาลหลายเฉดให้เลือกใช้ หรือจะเลือกรุ่นที่ทาสีเองตามใจชอบก็ได้เช่นกัน พื้นไม้เทียม >ภาพ: ตัวอย่างพื้นไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ (ไม้พื้น เอสซีจี ทีคลิป สีเนเชอรัลบีช) ซึ่งทนแดดและฝนได้ดีกว่าไม้จริง และไม่เป็นอาหารปลวก สนใจ พื้นไม้เทียม พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 5 : ทำสวนแนวตั้งบนผนังเดิม เพิ่มเติมพื้นที่สีเขียว >อีกทางเลือกในการเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้านอย่างง่าย โดยไม่ต้องรื้อวัสดุใดๆ ออกก็คือ การทำสวนแนวตั้งบนผนัง โดยวิธีที่สะดวกที่สุดคือ ชื้อชุดปลูกพร้อมกระถางสำเร็จรูปมาติดบนผนัง และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ดูสดชื่นได้โดยไม่เปลืองพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เหมาะมากสำหรับบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด สวนแนวตั้ง >ภาพ: (บน) ตัวอย่างการทำสวนแนวตั้งบนผนัง และ (ล่าง) ชุดปลูกพร้อมกระถางสำเร็จรูป (เอสซีจี โมดูล่ากรีน ไฮฟ์ ชุด DIY) >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 6 : เปลี่ยนลุคพื้นในบ้าน เป็นพื้นลายไม้ใหม่ดูอบอุ่น >พื้นในบ้านที่อยู่อาศัยกันมานาน เช่น ปาร์เกต์ หินแกรนิต หินขัด แม้สภาพจะยังดี แต่บางครั้งลวดลายที่เคยนิยมมาแต่สมัยพ่อแม่ปู่ย่าตายายก็ดูซ้ำซากจำเจ เราอาจเปลี่ยนลุคให้ดูอบอุ่นสวยงามโดยใช้ไม้พื้นไวนิล (ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับกระเบื้องยาง) ปูทับด้วยกาวหรือเข้าลิ้น ซึ่งนอกจากจะติดตั้งได้ง่ายแล้ว ยังมีเฉดสีให้เลือกหลากหลาย พื้นไวนิล ภาพ: ไม้พื้นไวนิล UNIX รุ่นJD223 สี Vanilla Oak ซึ่งใช้ปูทับพื้นเดิมได้ง่าย สนใจ พื้นภายในไวนิล Unix พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไอเดียแต่งบ้านสวยใหม่ 7 : ปรับโฉมผนังห้องสีพื้นๆ เป็นผนังปูนเปลือยสไตล์ลอฟต์ >การจะปรับโฉมผนังห้องแบบเดิมๆ สีเดิมๆ นอกจากจะเลือกเฉดสีใหม่มาทาทับแล้ว ยังมีวิธีที่ง่ายและแหวกแนวไปอีกแบบคือ ใช้ปูนฉาบสำเร็จรูปมาตกแต่งให้เป็นผนังปูนเปลือยสไตล์ลอฟต์ ปูนชนิดนี้บางรุ่นมีข้อดีตรงที่มีอุปกรณ์ให้ครบชุด เจ้าของบ้านสามารถลงมือฉาบทับผนังทาสีได้ด้วยตัวเอง (หากสีที่ทาไว้ยังมีสภาพดีไม่บวมพอง ลอกล่อน) และไม่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ผนังขัดมัน >ภาพ: เสือ เดคอร์ โพลิเมอร์ซีเมนต์ ลอฟท์วอลล์ สำหรับแต่งผนังทาสีธรรมดาให้เป็นผนังปูนเปลือย ซึ่งมีสีเทาให้เลือก 3 พร้อมอุปกรณ์สำหรับให้เจ้าของบ้านลงมือแต่งผนังด้วยตัวเองได้ (ขอบคุณสถานที่: บ้านคุณมาลินี สังขรัตน์) ผนังขัดมัน >ภาพ: ผนังที่ตกแต่งเสร็จเรียบร้อยด้วย เสือ เดคอร์ โพลิเมอร์ซีเมนต์ ลอฟท์วอลล์ (ขอบคุณสถานที่: บ้านคุณมาลินี สังขรัตน์) >ไอเดียแต่งบ้านทั้ง 7 นี้ เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกต่างๆ นานา อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการปรับปรุงบ้านอย่างง่าย แต่ก็ควรคำนึงรูปแบบหน้างาน คุณสมบัติของวัสดุ และการติดตั้งที่เหมาะสมถูกต้อง เพื่อให้บ้านของเราดูสวยงามโดยไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น การทาสีกระเบื้องหลังคาอาจเหมาะกับวัสดุกระเบื้องบางชนิด การเปลี่ยนพื้นไม้จริงเป็นพื้นไม้เทียม อาจต้องปรับระยะตงตามคู่มือติดตั้งด้วย เป็นต้น สนใจบริการฉาบตกแต่งผนังสไตล์ลอฟท์ คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รั้วไม้ระแนงบังตามีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตีระแนงไม้ในแนวตั้ง แนวนอน แนวเฉียง หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งให้อารมณ์และความรู้สีกที่แตกต่างกันไป >ใครๆ ก็อยากมีรั้วบ้านที่นอกจากจะมีความแข็งแรง ใช้งานได้ดีแล้ว ยังต้องมีความสวยงามและตอบโจทย์แต่ละบ้านอีกด้วย ไม้ระแนง เป็นหนึ่งในวัสดุที่สามารถนำเอามาประยุกต์ใช้กับงานรั้วได้หลากหลายรูปแบบ เพราะการใช้ระแนงบังตา มีความโปร่งและสร้างความเป็นส่วนตัวในเวลาเดียวกัน ทั้งยังให้ความรู้สึกอบอุ่น เข้ากับบ้านทุกสไตล์ แต่จะมีแบบไหนบ้างนั้น ไปดูกันเลย สนใจ รั้ว ระแนง บังตา พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ตีรั้วไม้ระแนงบังตาในแนวตั้ง >การตีระแนงไม้แนวตั้ง ลักษณะเส้นตรงในแนวตั้งจะให้ความรู้สึกแข็งแรง สูง สง่า มั่นคง หนักแน่น การเลือกใช้รั้วระแนงลักษณะแนวตั้งนี้ สามารถตีระยะห่างได้ทั้งแบบชิดที่จะดูมีความเป็นส่วนตัว หรือแบบห่างเพื่อเปิดให้ดูโปร่งโล่ง รั้วตีระแนงไม้ในแนวตั้ง ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตีรั้วไม้ระแนงบังตาในแนวตั้ง ให้ความรู้สึกหนักแน่นมั่นคง เมื่อระแนงขาวมีต้นไม้ดอกไม้แซม จะช่วยเพิ่มความสดชื่นและมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น รั้วระแนงแนวตั้งแบบเว้นระยะห่างน้อย ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างรั้วไม้ระแนงแนวตั้งแบบเว้นระยะห่างน้อย ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวกับผู้อยู่อาศัย ระแนงแนวตั้งที่ตีชิด ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ระแนงไม้บังตาแนวตั้งที่ตีชิดแทบจะแนบสนิท รั้วระแนงแนวตั้ง ตีแบบห่าง ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างรั้วระแนงบังตาแนวตั้ง ตีแบบห่าง ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย รั้วระแนงเล็กๆ ตีแนวตั้ง แบบถี่ๆ ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างรั้วระแนงบังตาเล็กๆ ตีแนวตั้ง แบบถี่ๆ รั้วระแนงแนวตั้ง ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างรั้วระแนงไม้บังตาแนวตั้ง แบบเว้นช่องแบบเป็นจังหวะ รั้วระแนงแนวตั้ง เพิ่มฟังก์ชั่นกระบะต้นไม้ ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างรั้วระแนงไม้บังตาแนวตั้ง เพิ่มฟังก์ชั่นกระบะต้นไม้ รั้วระแนงแนวตั้ง ตัดปลายด้านบนในแนวเฉียง ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างรั้วระแนงไม้บังตาแนวตั้ง ตัดปลายด้านบนในแนวเฉียง ดูเรียบเท่ และให้ความรู้สึกปลอดภัย สนใจ รั้ว ระแนง บังตา พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## รั้วไม้ระแนงบังตาแนวนอน >การตีระแนงไม้แนวนอน เส้นแนวนอนให้ความรู้สึกกว้างยาว สงบนิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลาย การเลือกใช้รั้วระแนงลักษณะนี้ สามารถตีระยะห่างได้ทั้งแบบชิดให้มีความเป็นส่วนตัว หรือตีระแนงแบบห่างก็ได้เช่นกัน รั้วระแนงตีแนวนอน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีแนวนอน ให้ความรู้สึกกว้าง สงบนิ่ง รั้วระแนงตีแนวนอน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีแนวนอนต่อเติมบนรั้วทึบเดิม ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว รั้วระแนงตีแนวนอน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีแนวนอน ตีแบบห่าง ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง ซึ่งสามารถแต่งเติมด้วยไม้เลื้อยเพื่อเพิ่มความสดชื่นและพรางสายตา รั้วระแนงตีแนวนอน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีแนวนอน ที่เลือกใช้ความกว้างไม้เล็กใหญ่มาตีเรียงสลับกันเกิดเป็นระแนงที่ดูสวยงามและมีความเฉพาะตัว ระแนงแนวนอนลายเซาะร่อง ตีเว้นร่อง ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ระแนงแนวนอนลายเซาะร่อง ตีเว้นร่องเล็กน้อย รั้วระแนงตีแนวนอน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีแนวนอน ติดตั้งกับโครงเหล็กที่วางตัวเป็นจังหวะ ผสมกับการใช้หญ้าเทียม ทำให้ภาพรวมดูมีเอกลักษณ์น่าสนใจ สนใจ รั้ว ระแนง บังตา พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## รั้วไม้ระแนงบังตาแนวเฉียง >การตีระแนงไม้แนวเฉียง เส้นเฉียงหรือเส้นทะแยงมุมให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง การเลือกระแนงมาตีเฉียงสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น การตีเฉียงแบบก้างปลา หรือการตีเฉียงในองศาต่างๆ แล้วนำมาประกอบกัน ตีระแนงเฉียง ลายก้างปลา ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตีระแนงเฉียงเป็นลายก้างปลา รั้วระแนงตีแนวเฉียง 45 องศา ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีแนวเฉียง 45 องศาที่นำมาประกอบกัน สนใจ รั้ว ระแนง บังตา พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## รั้วไม้ระแนงบังตาที่มีเส้นตัดกัน >การตีระแนงไม้ที่มีเส้นตัดกันให้ความรู้สึกประสานกัน แข็งแรง มั่นคง ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะเส้นตัดกันในลายกากบาทหรือลายตาราง รั้วระแนงตีตัดกัน ลวดลายกากบาท ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีตัดกันเป็นลวดลายกากบาท รั้วระแนงตีตัดกัน ลวดลายกากบาท ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงที่เกิดจากการตีลายกากบาทในกรอบสีเหลี่ยมอีกที รั้วระแนงตีตัดกัน ลวดลายตาราง เครื่องหมายบวก ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงตีตัดกันเป็นลวดลายตาราง หรือเครื่องหมายบวก สนใจ รั้ว ระแนง บังตา พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >นอกจากนี้ เรายังนำมาประยุกต์หรือเล่นลูกเล่นต่างๆ ให้ระแนงได้อย่างน่าสนใจ เช่น การเลือกตีระแนงแนวนอนผสมกับแนวตั้ง อีกทั้งเราสามารถเลือกรูปแบบรั้วให้เหมาะ ตอบโจทย์การใช้งาน และเข้ากับสไตล์ของแต่ละบ้าน รวมถึงออกแบบให้รั้วมีความเฉพาะตัว เพื่อขับให้บ้านทั้งหลังมีความสวยงามลงตัวและดูยังไงก็ไม่เบื่ออีกด้วย ระแนงที่ตีแนวตั้ง แนวนอนผสมกัน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: ตัวอย่างระแนงที่ตีแนวตั้งและแนวนอนผสมกัน รั้วระแนงที่ออกแบบมาให้เข้ากับสไตล์บ้าน ระแนงบังตา ระแนงไม้บังตา รั้วไม้ระแนงบังตา รั้วระแนงบังตา >ภาพ: รั้วระแนงที่ออกแบบมาให้เข้ากับสไตล์บ้านอย่างลงตัวและดูดี สนใจ รั้ว ระแนง บังตา พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >หลังจากทำความเข้าใจถึงรูปแบบของรั้วระแนงไม้บังตา ทั้งรั้วระแนงไม้แนวตั้ง แนวนอน แนวเฉียง แนวเส้นตัดกัน หวังว่าเจ้าของบ้านที่กำลังมองหาไอเดียรั้วระแนงจะนำไปเป็นไอเดียในการทำรั้วระแนงบังตาสวยๆ ของบ้านได้ ในการติดตั้งรั้วระแนงไม่ว่าจะเป็นระแนงไม้จริง หรือระแนงไม้เทียม ควรปรึกษาวิศวกรทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
แนะนำวิธีกำจัดขยะเศษอาหารในบ้านพักอาศัย พร้อมข้อดีและข้อคำนึงของแต่ละทางเลือก ทั้งการนำเศษอาหารใส่ถุงขยะ การนำเศษอาหารไปฝังกลบหรือทำปุ๋ยหมัก รวมถึงการใช้อุปกรณ์ตัวช่วยอย่างเครื่องกำจัดเศษอาหาร >ขยะเศษอาหารเป็นสิ่งที่ทุกบ้านจะต้องเผชิญไม่มากก็น้อย ส่วนวิธีการกำจัดเศษอาหารที่เราคุ้นเคยและหลายบ้านมักทำกัน คือ เทเศษอาหารรวมในถุงขยะแล้วรวบไปทิ้ง แต่จริงๆ แล้วยังมีวิธีอื่นอีกไม่ว่าจะเป็น การขุดหลุมฝัง การใช้เครื่องกำจัดเศษอาหาร ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างไป ครั้งนี้ SCG Home จึงขอหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีกำจัดเศษอาหารในบ้านมาเล่าสู่กันฟัง >## 1) กำจัดเศษอาหารโดยทิ้งใส่ถุงขยะ >ถือเป็นวิธีกำจัดเศษอาหารที่นิยมที่สุดตามที่กล่าวไปข้างต้น เพียงแค่นำถุงขยะมาสวมลงถังแล้วทิ้งเศษอาหารลงไป จากนั้นรวบไปวางไว้ในจุดทิ้งขยะ เพื่อส่งต่อให้เทศบาลมาเก็บนำไปฝังกลบหรือทำปุ๋ยหมัก ทั้งนี้ แม้จะเป็นวิธีกำจัดเศษอาหารที่สะดวกสำหรับเจ้าของบ้าน แต่ทางเทศบาลต้องใช้พื้นที่เยอะในการจัดการ รวมถึงในการหมักปุ๋ยจากขยะเศษอาหารจำนวนมากจะต้องใช้น้ำกับออกซิเจนเยอะ ทั้งยังก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสภาวะเรือนกระจกด้วย ดังนั้น หากเป็นไปได้ เราอาจช่วยแบ่งเบาด้วยการจัดสรรอาหารอย่างพอดีให้เหลือทิ้งน้อยที่สุด และไม่นำขยะประเภทอื่นมาทิ้งรวมกับเศษอาหาร เพื่อลดภาระการจัดการกำจัดเศษอาหารของเทศบาลและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำจัดเศษอาหาร >ภาพ: การกำจัดเศษอาหารโดยใส่ถุงขยะ เป็นวิธีที่สะดวก ซึ่งทางเทศบาลต้องใช้พื้นที่จำนวนมากในการฝังกลบหรือทำปุ๋ยหมัก >นอกจากนี้ เพื่อสุขอนามัยภายในบ้าน ควรมีการจัดถังทิ้งเศษอาหารให้เป็นสัดส่วน ปิดฝามิดชิด และหมั่นนำไปทิ้งเป็นประจำ มิฉะนั้นอาจโดนสัตว์หรือแมลงมารบกวน (เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ) รวมถึงกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ และควรมีการกรองเศษอาหารให้ดี ไม่ปล่อยให้เศษอาหารชิ้นใหญ่ไหลลงท่ออ่างล้างจานซึ่งอาจทำให้ท่อตันง่าย กำจัดเศษอาหาร >ภาพ: การทิ้งขยะเศษอาหารในถุงขยะ หากกรองเศษอาหารไม่ดี จัดเก็บไม่มิดชิดหรือเป็นสัดส่วนพอ อาจเจอปัญหาท่อตัน และสัตว์/แมลงสกปรกรบกวน กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค >## 2) กำจัดเศษอาหารโดยขุดหลุมฝัง >การกำจัดเศษอาหารวิธีนี้เหมาะกับบ้านซึ่งมีพื้นที่ภายนอกกว้างขวางเพียงพอ สำหรับปลูกต้นไม้ นับเป็นวิธีที่ช่วยลดภาระการจัดการขยะของเทศบาล รวมถึงเศษอาหารที่ฝังกลบจะกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินสำหรับต้นไม้ในบ้านด้วย >อย่างไรก็ตาม การกำจัดเศษอาหารวิธีนี้ควรทำให้เป็นสัดส่วนมิดชิด เพื่อเลี่ยงปัญหากลิ่นเหม็น สัตว์สกปรกอย่าง หนู แมลงวัน แมลงสาบมารบกวน รวมถึงต้องระวังไม่ให้สุนัขมาคุ้ยพื้นดินด้วย (อาจต้องขุดหลุมให้ลึกพอสมควร) นอกจากนี้ ควรระวังเรื่องปริมาณไขมันจากเศษอาหาร เพราะหากในดินมีไขมันมากเกินไปอาจทำให้น้ำ/อากาศ ซึมผ่านดินยากจนพืชขาดน้ำได้ กำจัดเศษอาหาร >ภาพ: การทิ้งขยะเศษอาหารแบบขุดหลุมฝังกลบ เหมาะกับบ้านที่มีอาณาบริเวณสำหรับปลูกต้นไม้ และควรทำให้เป็นสัดส่วน มิดชิด เพื่อป้องกันสัตว์ แมลงรบกวน >## 3) ใช้เครื่องกำจัดเศษอาหาร เพื่อแปลงเป็นปุ๋ยแบบแห้ง >สำหรับบ้าน/ที่อยู่อาศัยซึ่งมีพื้นที่จำกัดและไม่มีระบบบำบัดรองรับน้ำเสียจากครัว การกำจัดเศษอาหารด้วยวิธีนี้ ถือว่าตอบโจทย์และสะดวกง่ายดายมาก ช่วยลดขยะ กลิ่น ปัญหาสัตว์/แมลง รบกวน และการสะสมของเชื้อโรค เพียงแค่ใส่อาหารลงไปแล้วกดปุ่ม เศษอาหารจะถูกย่อยกลายเป็นปุ๋ยแห้ง ใช้ผสมลงดินปลูกต้นไม้ได้ >เครื่องกำจัดเศษอาหารประเภทนี้ มักย่อยเศษอาหารได้หลากหลาย ทั้งกระดูกไก่ เปลือกไข่ ก้างปลา ฯลฯ ระยะเวลาของการแปลงเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย อาจขึ้นอยู่กับขนาด และรุ่นของเครื่องกำจัดเศษอาหารเอง ปริมาณอาหาร และที่สำคัญอีกประการคือ ปริมาณน้ำที่ใส่ เพราะหลักการทำงานทั่วไปของเครื่องกำจัดเศษอาหารประเภทนี้ จะมีทั้งการบดและทำให้แห้ง นั่นหมายความว่าจะต้องมีการไล่น้ำออกจากเศษอาหาร ดังนั้น หากต้องการให้เศษอาหารถูกแปลงเป็นปุ๋ยได้เร็ว และช่วยแบ่งเบาการทำงานของเครื่อง อาจแยกน้ำบางส่วน (เช่น น้ำแกง) ออกจากอาหารก่อนที่จะเทใส่เครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร เครื่องกำจัดเศษอาหาร >ภาพ: เครื่องกำจัดเศษอาหาร SMART CARA กับเศษอาหารแบบต่างๆ ที่สามารถใส่ลงไปเพื่อแปลงเป็นปุ๋ยแบบแห้งได้ เครื่องกำจัดเศษอาหาร >ภาพ: ภายใน 3-6 ชม. เศษอาหารภายในเครื่องจะถูกย่อยกลายเป็นปุ๋ยแบบแห้ง ใช้ผสมลงดินปลูกต้นไม้ได้ >## 4) ใช้เครื่องกำจัดเศษอาหารที่ติดตั้งกับอ่างล้างจาน >การกำจัดเศษอาหารวิธีนี้สำหรับบ้าน/หมู่บ้าน/คอนโด ที่มีถังดักไขมันและระบบรองรับน้ำเสียจากครัว หลักการคือ เมื่อติดตั้งเครื่องกำจัดเศษอาหารชนิดนี้เข้ากับสะดืออ่างล้างจาน ก็จะสามารถเทเศษอาหารพร้อมน้ำซุปต่างๆ ลงอ่างล้างจานได้ จึงสะดวกกว่าเครื่องกำจัดเศษอาหารเพื่อแปลงเป็นปุ๋ยแบบแห้ง และมักมีราคาถูกกว่า โดยได้อรรถประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือ กำจัดเศษอาหารได้หลากหลาย (ทั้งกระดูกไก่ เปลือกไข่ ก้างปลา ฯลฯ) ช่วยลดขยะ กลิ่นเหม็น ปัญหาสัตว์/ แมลงรบกวน และการสะสมของเชื้อโรค เครื่องกำจัดเศษอาหาร >ภาพ: ตัวอย่างเครื่องปั่นเศษอาหารที่ติดตั้งกับอ่างล้างจาน >เครื่องกำจัดเศษอาหารชนิดนี้ใช้งานได้ง่ายๆ โดย เปิดสวิตช์เครื่อง และเปิดน้ำจากก๊อก จากนั้นจึงค่อยเทเศษอาหารใส่ลงไปในสะดืออ่าง อุปกรณ์จะทำการบดย่อยเศษอาหารจนมีขนาดเล็ก ไม่ทำให้ท่อตัน จากนั้นจึงค่อยลำเลียงต่อไปตามท่อระบายน้ำ เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียต่อไป (อาจมีตะกอนบางส่วนอยู่บ้างตามถังดักไขมัน/บ่อพัก ซึ่งเมื่อนำไปฝังกลบหรือทำปุ๋ยหมัก จะสามารถย่อยสลายได้ง่ายและเร็วกว่าขยะอาหารทั่วไปที่ไม่ผ่านการบดย่อย >เมื่อเจ้าของบ้านทราบถึงวิธีต่างๆ ในการกำจัดเศษอาหารภายในบ้านแล้ว อาจลองพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าไม่อยากนำเศษมารวมใส่ถุงขยะทิ้งแบบเดิม อาจหันมาลองใช้วิธีฝังกลบใต้ต้นไม้ในสวนรอบบ้านแทน แต่หากไม่มีพื้นที่สวนรอบบ้าน หรือเกรงว่าจะมีสัตว์หรือแมลงรบกวน อาจหันมาเลือกใช้เครื่องกำจัดเศษอาหารตามความเหมาะสม เป็นต้น สนใจสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง บริการออกแบบ ให้คำปรึกษา คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ตอบคำถามบริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน (FillGood) เพื่อแก้ปัญหาดินรอบบ้านทรุด ซึ่งเริ่มต้นขั้นต่ำที่ 10 คิว จะเติมเต็มปิดโพรงใต้บ้านได้กี่ตารางเมตร >บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน “FillGood” เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ปัญหาดินรอบบ้านทรุด ด้วยการใช้วัสดุมวลเบาชนิดพิเศษของ CPAC ฉีดเข้าไปในโพรงใต้บ้านตามปริมาณที่คำนวณไว้หลังจากขั้นตอนเข้าสำรวจ วัสดุนี้มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติไหลลื่นได้ดี เข้าถึงซอกมุมต่าง ๆ ในโพรงโดยไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้าง ท่อน้ำ หรือท่อน้ำยาปลวกแต่อย่างใด เพราะตัววัสดุจะอยู่บนดินที่ระดับความสูงประมาณท้องคานเท่านั้น ไม่ถึงระดับท่อน้ำหรือท่อน้ำยาปลวกซึ่งมักจะเดินเกาะอยู่ข้างคานด้านใน อีกทั้งน้ำหนักของวัสดุนี้ในกรณีที่เทหนา 10 ซม. จะหนักเพียง 50 กิโลกรัมต่อ ตร.ม. เท่านั้น (500 กิโลกรัมต่อ ลบ.ม. หรือต่อ 1 คิว) หากมีบางส่วนเททับท่อหรือโครงสร้างจึงไม่มีผลกระทบใด อย่างไรก็ดี ในขั้นตอนการสำรวจเพื่อประเมินปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ หากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรค ทางทีมวิศวกรจะแจ้งให้ทราบหรือให้ทำการแก้ไขก่อนเข้าดำเนินงาน >ทั้งนี้ ใน 1 งานที่ให้บริการ จะคิดค่าบริการขั้นต่ำที่ปริมาตรวัสดุ 10 คิว หมายความว่าถ้าขนาดโพรงใต้บ้านไม่ว่าจะลึกหรือมีขนาดพื้นโพรงใต้บ้านเท่าใดก็ตาม หากใช้ปริมาตรวัสดุไม่ถึง 10 คิว ค่าบริการจะคิดเทียบเท่าปริมาตรวัสดุ 10 คิวเป็นราคาขั้นต่ำนั่นเอง ทีนี้มาถึงคำถามว่า แล้วปริมาตรวัสดุ FillGood 10 คิวจะปิดโพรงใต้บ้านที่มีขนาดพื้นที่บ้านชั้นล่างได้ประมาณกี่ตารางเมตร? >ก่อนอื่น ขออธิบายคำว่า “คิว” ว่าคืออะไร “คิว” ย่อมาจาก “คิวบิกเมตร (ลูกบาศก์เมตร)” ให้ลองนึกถึงกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่มีทุกด้านเท่ากัน วัสดุ FillGood 1 คิว จะเท่ากับปริมาตรกล่องลูกบาศก์ที่กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และสูง (หรือหนา) 1 เมตร นั่นเอง FillGood-1-คิว บ้านทรุด ปิดโพรงใต้บ้าน ดินรอบบ้านทรุด พื้นบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด FillGood เติมโพรงใต้บ้าน >ภาพ: ปริมาตรวัสดุ FillGood 1 คิวเท่ากับกล่องสี่เหลี่ยมลูกบาศก์กว้าง 1 เมตร x ยาว 1 เมตร x หนา (สูง) 1 เมตร สนใจ บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน (FillGood) คลิก\{.button .newtab} {.centered} >ดังนั้น สำหรับวัสดุ FillGood 10 คิว หากโพรงใต้บ้านลึกเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร (0.1 เมตร) จะเติมเต็มโพรงได้ในพื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร (เช่น กว้าง 10 เมตร x ยาว 10 เมตร) โดยคำนวณค่าจากความสูง 0.1 เมตร x ความกว้าง 10 เมตร x ความยาว 10 เมตร = 10 คิว FillGood-10-คิว บ้านทรุด ปิดโพรงใต้บ้าน ดินรอบบ้านทรุด พื้นบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด FillGood เติมโพรงใต้บ้าน >ภาพ: วัสดุ FillGood 10 คิว เติมเต็มโพรงใต้บ้านหนาเฉลี่ย 10 เซนติเมตร ได้พื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร >หากโพรงใต้บ้านลึกเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร (0.15 เมตร) จะเติมเต็มโพรงใต้บ้านได้ในพื้นที่ประมาณ 66.67 ตารางเมตร (กว้าง 6.67 เมตร x ยาว 10 เมตร) โดยคำนวณค่าจากความสูง 0.15 เมตร x ความกว้าง 6.67 เมตร x ความยาว 10 เมตร = 10 คิว FillGood-10-คิว บ้านทรุด ปิดโพรงใต้บ้าน ดินรอบบ้านทรุด พื้นบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด FillGood เติมโพรงใต้บ้าน >ภาพ: วัสดุ FillGood 10 คิว เติมเต็มโพรงใต้บ้านหนาเฉลี่ย 15 เซนติเมตร ได้พื้นที่ประมาณ 66.67 ตารางเมตร >หากโพรงใต้บ้านลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เซนติเมตร (0.2 เมตร) จะเติมเต็มโพรงใต้บ้านได้ในพื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร (กว้าง 5 เมตร x ยาว 10 เมตร) โดยคำนวณค่าจากความสูง 0.2 เมตร x ความกว้าง 5 เมตร x ความยาว 10 เมตร = 10 คิว FillGood-10-คิว บ้านทรุด ปิดโพรงใต้บ้าน ดินรอบบ้านทรุด พื้นบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด FillGood เติมโพรงใต้บ้าน >ภาพ: วัสดุ FillGood 10 คิว เติมเต็มโพรงใต้บ้านหนาเฉลี่ย 20 เซนติเมตร ได้พื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร สนใจ บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน (FillGood) คลิก\{.button .newtab} {.centered} >แต่ระดับโพรงใต้บ้านนั้น อาจไม่ได้เรียบสม่ำเสมอกันทั้งผืน เช่นว่า พื้นที่บ้านเราประมาณ 100 ตารางเมตร เราเห็นคร่าวๆ ว่าดินใต้บ้านทรุดและวัดระดับความลึกของโพรงข้างบ้านได้ประมาณ 10 ซม. ซึ่งระดับดินที่ทรุดแต่ละจุดใต้บ้านอาจมีความตื้นลึกแตกต่างกันหลายระดับ จึงเป็นไปได้ว่า การเลือกเติมวัสดุ FillGood 10 คิว อาจเติมเต็มโพรงใต้บ้านได้มากกว่าหรือน้อยกว่าขนาดพื้นที่ตามที่กล่าวมาได้ ระดับโพรงใต้บ้านอาจไม่ได้เรียบเสมอกัน บ้านทรุด ปิดโพรงใต้บ้าน ดินรอบบ้านทรุด พื้นบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด FillGood เติมโพรงใต้บ้าน >ภาพ: ระดับโพรงใต้บ้านอาจไม่ได้เรียบเสมอกัน วัสดุ FillGood 10 คิว จึงอาจเติมเต็มโพรงใต้บ้านได้มากกว่าหรือน้อยกว่าขนาดพื้นที่ตามที่กล่าวมา >จึงแนะนำให้รับบริการสำรวจโดยวิศวกร พร้อมเครื่องมือสำรวจโพรงใต้บ้าน คำนวณปริมาณวัสดุ FillGood ที่ต้องใช้ให้ใกล้เคียงมากที่สุด เพื่อให้สามารถเติมเต็มโพรงใต้บ้านได้พอดีและมีความเรียบร้อยสวยงาม งานเติมเต็ม-ปิดโพรงใต้บ้าน-FillGood บ้านทรุด ดินรอบบ้านทรุด พื้นบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด >ภาพ: ตัวอย่างงานเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน FillGood >อ่านเพิ่มเติม: 11 ข้อสงสัยยอดฮิต...บริการเติมเต็มปิดโพรงใต้บ้าน FillGood สนใจ บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน (FillGood) คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ทำความรู้จักฟิล์มกรองแสงในเรื่องของคุณสมบัติ การป้องกันแสงอาทิตย์กับรังสีต่างๆ และหลักการเลือกซื้อเพื่อให้ได้ฟิล์มติดกระจกบ้านที่ดีมีคุณภาพ เหมาะกับการใช้งานในบ้าน >สำหรับบ้านพักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียมนั้น ฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้านถือเป็นตัวช่วยในการลดสิ่งไม่พึงประสงค์จากแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านกระจกประตูหน้าต่าง ไม่ว่าจะเป็น “ความร้อน” ที่ทำให้เรารู้สึกแสบผิว เหนอะหนะ และสิ้นเปลืองค่าแอร์ “แสงจ้าของพระอาทิตย์” ที่ทำให้ไม่สบายตา รวมถึง “รังสี UV” ที่ทำร้ายผิวหนัง ทั้งยังทำให้ข้าวของเครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ในบ้านสีซีดจางเสื่อมสภาพ วันนี้ SCG HOME จึงขอนำเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวสำหรับฟิล์มกรองแสงมาฝากสำหรับเจ้าของบ้านที่สนใจอยากจะใช้งาน ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างการใช้ฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้านสำหรับห้องครัว >## รู้จักฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้าน >ฟิล์มกรองแสงผลิตจาก “โพลีเอสเตอร์” เป็นวัสดุแผ่นใสผิวเรียบ เหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นดี ดูดซับความชื้นน้อย ทนอุณหภูมิได้ทั้งสูงและต่ำ เฉดสีและความอ่อนเข้มของฟิล์มกรองแสงที่เราเห็นนั้นเกิดจากการใส่สีเพิ่ม ฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพจะผลิตโดยใส่สีลงในเนื้อฟิล์ม (ไม่ใช่แค่ย้อมเคลือบบนผิวหรือผสมสีในกาว) ซึ่งจะทำให้สีติดทนนาน ไม่เปลี่ยนหรือซีดจางแม้จะใช้งานเป็นเวลานาน ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างฟิล์มกรองแสงอาคารที่มีเฉดสี ความใส และความเงาต่างกัน >## ฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้าน กันความร้อน และ UV ได้อย่างไร >เรามักรู้สึกว่าสีของฟิล์มกรองแสงยิ่งเข้ม ยิ่งมืด น่าจะกันความร้อนได้ดี แต่ความเป็นจริงแล้ว สีของฟิล์ม “ไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์และรังสี UV โดยตรง” คุณสมบัติที่ว่านี้จะเกิดขึ้นได้ดีต่อเมื่อฟิล์มนั้นผ่านการเคลือบไอโลหะหรือเซรามิกเพื่อเป็นตัวช่วยในการสะท้อนความร้อน (ฟิล์มเคลือบเซรามิกจะดูใสกว่า และสะท้อนแสงน้อยกว่าฟิล์มเคลือบโลหะ) รวมถึงมีการเพิ่มสารป้องกัน UV ลงไปในฟิล์มด้วย ดังนั้นฟิล์มที่มีสีเข้มๆ มืดๆ ก็ไม่ได้แปลว่าจะกันความร้อนหรือรังสี UV ได้ดีกว่าฟิล์มที่ดูใสสว่างเสมอไป ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างฟิล์มติดกระจกบ้านสีเข้ม ซึ่งช่วยให้รู้สึกว่ากรองแสงได้ดี แต่จะกันความร้อนจากแสงอาทิตย์และรังสี UV ได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการผลิต >## ฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้านที่ดี มีคุณภาพเป็นอย่างไร >1) มีค่าการป้องกันแสงอาทิตย์ที่ดีเหมาะกับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ค่าแสงส่องผ่าน (VLT) ค่าสะท้อนแสง (VLR) ค่ากันรังสี UV ค่ากันรังสีอินฟราเรต (IRR) ค่าการลดความร้อนจากแสงแดด (TSER) รวมถึงสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากแสงอาทิตย์ (SHGC) ซึ่งค่าที่เล่ามานี้ควรมาจากการทดสอบกับแสงอาทิตย์ จะตรงกับการใช้งานมากกว่าการใช้สปอตไลท์ทดสอบ เนื่องจากระดับแสงสว่าง รังสีอินฟราเรดและรังสี UV ที่ได้จากแสง 2 ชนิดนี้จะแตกต่างกัน ดังนั้น ฟิล์มที่มีค่ากันรังสีความร้อนจากสปอตไลท์สูง ไม่ได้แปลว่าจะกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดี ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ตารางเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างส่วนประกอบของพลังงานจากแสงอาทิตย์และแสงสปอตไลท์ >2) กาวติดฟิล์มดีมีคุณภาพ ทั้งกาวที่ประกบฟิล์มแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน และกาวที่ใช้ติดฟิล์มเข้ากับกระจก ควรจะมีความบาง ใส เหนียว ทนอุณหภูมิกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอด สามารถยึดกับกระจกได้ดี ไม่ทำให้เกิดฟองอากาศ พอง ลอกล่อน และไม่เปลี่ยนสีเมื่อใช้งานไปนานๆ นอกจากนี้ เวลาลอกฟิล์มออกกาวควรจะติดอยู่กับฟิล์ม ไม่ใช่ติดกับกระจก >3) ป้องกันรอยขีดข่วนได้ เนื่องด้วยผิวของวัสดุโพลีเอสเตอร์จะเกิดรอยขีดข่วนแบบขนแมวง่าย ฟิล์มกรองแสงที่ดีจึงต้องมีการเคลือบสารป้องกันรอยขีดข่วนที่ผิวหน้า เพื่อความสวยงามและการใช้งานที่ยาวนาน >4) ความหนาฟิล์มที่เหมาะสม ฟิล์มกรองแสงสำหรับติดอาคารบ้านเรือนทั่วไป (ที่ไม่ใช่ฟิล์มนิรภัย) ความหนามาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 mil. ซึ่งถือว่าไม่หนาจนเกินไป สามารถติดตั้งได้ง่าย >## จะเลือกฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้านอย่างไรให้เหมาะและดี >1) พิจารณาคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสงให้ตรงความต้องการ หลักง่ายๆ คือ ให้เลือกความเข้มความใสที่ต้องการ หรือดูที่ค่าแสงส่องผ่านของฟิล์มแต่ละรุ่น ซึ่งจะส่งผลในเรื่องการลดแสงจ้าของพระอาทิตย์ ความเป็นส่วนตัว และความชัดในการมองวิวด้านนอก จากนั้นจึงดูค่าการลดความร้อนจากแสงแดด สำหรับฟิล์มที่มีสีและความเข้มความใสใกล้เคียงกัน รุ่นที่สะท้อนแสงดีกว่า (ดูคล้ายกระจกเงาเมื่อมองจากภายนอก) ส่วนใหญ่จะลดความร้อนได้มากกว่า เพราะมีปริมาณโลหะเคลือบเยอะกว่า (ยกเว้นฟิล์มเคลือบเซรามิกซึ่งกันความร้อนได้ดีแต่จะสะท้อนแสงน้อยกว่าฟิล์มเคลือบโลหะ) ทั้งนี้ หากเจ้าของบ้านต้องการเน้นเรื่องการลดความร้อนเป็นพิเศษ อาจเลือกรุ่นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟิล์มประหยัดพลังงานเบอร์ 5* >*เป็นมาตรฐานการทดสอบฟิล์มกรองแสงในประเทศไทย ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยใช้เกณฑ์การวัดค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือ SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) จะต้องมีค่าที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.45 ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างตารางฟิล์มกรองแสงที่แสดงให้เห็นค่าการลดความร้อนจากแสงแดด และการป้องกันรังสี UV >2) จุดประสงค์การใช้งานและตำแหน่งที่ตั้ง เช่น ห้องอยู่ชั้นล่างและต้องการบังสายตาอาจเน้นฟิล์มสีเข้ม ห้องทางทิศตะวันตกซึ่งโดนแดดแรงควรเลือกฟิล์มที่ช่วยลดแสงจ้าของพระอาทิตย์และมีค่ากันความร้อนสูง สำหรับห้องที่ต้องการชมวิวทั้งกลางวันและกลางคืนแต่ต้องการลดความร้อนด้วย อาจใช้ฟิล์มใส ค่าแสงส่องผ่านสัก 40% แต่กันความร้อนได้สูง เป็นต้น (สำหรับคอนโดมิเนียม มักมีข้อกำหนดเรื่องฟิล์มกรองแสง เช่น ความเข้ม สี การสะท้อนแสง ควรเช็คกับทางนิติบุคคลก่อนเลือกซื้อฟิล์ม) ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ฟิล์มติดกระจกบ้านที่มีสีมืดและผิวมันเงาสะท้อนแสงสร้างความเป็นส่วนตัว ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: ห้องที่ต้องการชมวิวและลดความร้อนในขณะเดียวกัน จะเหมาะกับฟิล์มใสที่มีค่าการกันความร้อนสูง >3) ยี่ห้อฟิล์มและร้านค้าที่น่าเชื่อถือ โรงงานผลิตต้องได้มาตรฐาน บริษัทผู้นำเข้าควรมีชื่อเสียงในการขายสินค้าคุณภาพคุ้มราคามาเป็นเวลานาน ในส่วนของร้านค้า แนะนำซื้อฟิล์มจากร้านที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้จำหน่ายโดยสังเกตจากป้ายหน้าร้าน ใบรับรองการแต่งตั้ง ใบรับประกันสินค้า หรือโทรสอบถามจากบริษัทฟิล์มโดยตรง >4) ทีมติดตั้งฟิล์มควรมีความชำนาญ สามารถกรีดตัดฟิล์มให้ได้ขนาดเสมอพอดีกับขอบยาง โดยไม่ทำให้กระจกเป็นรอย รวมถึงไม่กรีดโดนขอบยางกระจกเสียหาย เพราะหากกรีดโดนขอบยาง แม้จะใช้ซิลิโคนยิงซ่อมก็อาจเกิดปัญหารั่วซึมเมื่อใช้งานไปนานๆ ได้ (ควรยิงซิลิโคนเท่าที่จำเป็นตามสภาพหน้างานเท่านั้น เช่น กรณีที่ต้องเลาะซิลิโคนของเดิมหรือขอบยางเสื่อม เป็นต้น) ฟิล์มติดกระจกบ้าน >ภาพ: การกรีดฟิล์มให้พอดีกับขอบกระจกประตูหน้าต่าง เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการใช้งานฟิล์ม ซึ่งต้องอาศัยความประณีตชำนาญของช่าง >จะเห็นว่า การเลือกฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้านให้ตรงตามความต้องการนั้น แม้จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่เจ้าของบ้านต้องใส่ใจเพื่อความคุ้มค่าในระยะยาว โดยนอกจากจะเลือกที่คุณภาพและผู้จัดจำหน่ายที่น่าเชื่อถือแล้ว ยังต้องดูคุณสมบัติต่างๆ (เช่น ค่าแสงส่องผ่าน ค่าสะท้อนแสง ค่ากันรังสี UV ค่าการลดความร้อนจากแสงแดด เป็นต้น) ให้เหมาะกับลักษณะการใช้งาน รวมถึงเลือกใช้ทีมช่างผู้ชำนาญเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย >ขอบคุณข้อมูลจาก : ฟิล์มกรองแสงลามิน่า สนใจ สินค้าพร้อมบริการติดตั้ง และบริการเรื่องบ้านครบวงจร คลิก\{.button .newtab} {.centered}
แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาเรื่องเสียงดังจากโดยรอบ และกั้นเสียงดังจากห้องเราเอง รวมถึงลดปัญหาเสียงก้องเวลาพูดคุยหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ text >การออกแบบห้องต่างๆ ที่ต้องการควบคุมเรื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันเสียงดังรบกวนซึ่งกันและกัน หรือการลดเสียงก้องภายในห้อง ควรมีการออกแบบให้ตอบโจทย์แต่ละกิจกรรม เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องเสียงที่อาจจะเกิดขึ้น การออกแบบห้องให้กันเสียงนั้นสามารถทำได้โดยเลือกใช้วัสดุกันเสียง เพื่อกันไม่ให้เสียงทะลุจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง หรือเพื่อกันเสียงจากภายในไม่ให้ออกและกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้า ส่วนการออกแบบห้องให้ลดเสียงก้องสามารถทำได้โดยเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง เพื่อลดเสียงก้องและเสียงสะท้อนภายในห้องที่อาจรบกวนการพูดคุยหรือการดูหนังฟังเพลง >## ป้องกันปัญหาเสียงดังรบกวน >1.ใช้ฉนวนกันเสียง ติดตั้งบริเวณผนัง (สามารถติดตั้งคู่กับทั้งผนังก่ออิฐ และผนังโครงเบาได้) และฝ้าเพดาน (ติดตั้งระหว่างแผ่นฝ้าสองแผ่น) เช่น วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock ซึ่งเป็นฉนวนใยแก้วที่ความหนาแน่นสูงและมีรูพรุน* หุ้มรอบด้านด้วยวัสดุกันความชื้นสีดำ >*รูพรุนหรือ Open Cell จะเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของพลังงานเสียงกับรูพรุนของแผ่นอะคูสติก จึงช่วยลดระดับพลังงานเสียงได้ ฉนวนกันเสียงบริเวณผนัง-ติดตั้งคู่กับระบบผนังโครงเบา >ภาพ: ตัวอย่างฉนวนกันเสียงบริเวณผนัง ที่ติดตั้งคู่กับระบบผนังโครงเบา ติดตั้งฉนวนที่ผนังและฝ้าเพดาน >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งฉนวนที่ผนังและฝ้าเพดาน >2.เพิ่มความหนาผนัง โดยการก่ออิฐแบบเต็มแผ่น หรือ การก่ออิฐสองชั้นแบบเว้นช่องว่างระหว่างผนังเพื่อลดการส่งผ่านของเสียง ซึ่งหากมีการติดตั้งฉนวนกันเสียงเข้าไปที่ช่องว่างระหว่างผนังนี้ด้วย จะยิ่งช่วยกันเสียงได้มากยิ่งขึ้น ผนังก่ออิฐสองชั้น >ภาพ: ผนังก่ออิฐสองชั้น ที่เป็นลักษณะก่ออิฐแบบเต็มแผ่น ก่ออิฐสองชั้นแบบเว้นช่องระหว่างผนัง >ภาพ: การก่ออิฐสองชั้นแบบเว้นช่องว่างระหว่างผนัง >3.ปิดรอยต่อประตู-หน้าต่างให้มิดชิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียง ด้วยการปิดรอยต่อระหว่างประตู-หน้าต่างให้แนบสนิทที่สุด ปิดรอยต่อระหว่างประตู-หน้าต่างให้แนบสนิท ภาพ: ปิดรอยต่อระหว่างประตู-หน้าต่างให้แนบสนิทที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียง >4.เลือกใช้กระจกหนาหรือกระจกสองชั้น สำหรับกรณีที่ต้องการกันเสียงหรือลดเสียงรบกวนมากยิ่งขึ้น เลือกใช้กระจกสองชั้น >ภาพ: การเลือกใช้กระจกสองชั้น สำหรับกรณีที่ต้องการลดเสียงรบกวนมากๆ >## ลดเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนภายในห้อง >1.ทำผนังขรุขระ เลือกใช้วัสดุผิวปรุเป็นรู เพื่อช่วยในการดูดซับเสียง ทำผนังขรุขระ >ภาพ: ตัวอย่างการทำผนังขรุขระ หรือเลือกใช้วัสดุที่มีผิวปรุเพื่อช่วยดูดซับเสียง >2.เลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง ที่ผนัง เพดาน หรือพื้น สำหรับวัสดุบุผนัง เช่น วัสดุอะคูสติก เอสซีจีรุ่น Cylence Zandera ซึ่งเป็นแผ่นบุผนังสำเร็จรูปที่ผลิตจากฉนวนใยแก้วความหนาแน่นสูง ขึ้นรูปเป็นแผ่นแข็ง หุ้มด้วยผ้าตกแต่งชนิดพิเศษหลากสี มีน้ำหนักเบา สำหรับบุฝ้าเพดาน เช่น แผ่นฝ้ากลาสวูล แผ่นฝ้ายิปซั่ม และบุพื้น เช่น พรมอัดชนิดลูกฟูก เพื่อช่วยลดเสียงสะท้อนให้ดียิ่งขึ้น บุผนังด้วยวัสดุดูดซับเสียงเอสซีจีรุ่น-Cylence-Zandera >ภาพ: ตัวอย่างการบุผนังด้วยวัสดุดูดซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera เพื่อช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน ติดตั้งฝ้าซับเสียง-วัสดุอะคูสติก-เอสซีจี-รุ่น-Cylence-Wondery-ระบบยิปซั่ม >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งฝ้าซับเสียง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Wondery ระบบยิปซั่ม เลือกใช้พรมที่พื้น-ช่วยดูดซับเสียง-ลดเสียงสะท้อน >ภาพ: เลือกใช้พรมที่พื้น เพื่อช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน >3.ใส่ผ้าม่านที่ผนังกระจก สำหรับห้องที่มีกระจกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของประตู หน้าต่างกระจก เพื่อช่วยลดการสะท้อนของเสียง ใส่ผ้าม่านที่ผนังกระจก-ช่วยลดการสะท้อนของเสียง >ภาพ: ใส่ผ้าม่านที่ผนังกระจก เพื่อช่วยลดการสะท้อนของเสียง >## Cylence Zandera กับ Cylence Zoundblock ใช้ทดแทนกันได้ไหม? >แม้ว่าทั้ง Zandera และ Zoundblock จะมีวัตถุดิบหลักเป็นฉนวนใยแก้วความหนาแน่นสูงทั้งคู่ แต่ด้วยวิธีการผลิต วัสดุประสาน รวมถึงขนาดและความหนาของเส้นใยนั้นแตกต่างกัน เพื่อตอบจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน โดย Zandera จะเป็นวัสดุดูดซับเสียงที่ช่วยลดเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้อง ส่วน Zoundblock เป็นวัสดุกันเสียงรบกวน ซึ่งช่วยกั้นเสียงไม่ให้ทะลุผ่านจากผนังด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง จึงแนะนำให้เลือกใช้งานให้ถูกหน้าที่จะดีสุด >สำหรับใครที่ต้องการทำห้องที่ต้องมีการใช้เสียง ไม่ว่าจะเป็น ห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องอัดเสียง ห้องประชุม ออฟฟิศ และห้องเรียน ควรได้รับการออกแบบให้มีค่าการกันเสียงและค่าดูดซับเสียงที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ห้องโฮมเธียเตอร์-ออกแบบให้มีค่ากันเสียง-ดูดซับเสียงที่เหมาะสม >ภาพ: ห้องโฮมเธียเตอร์ ควรออกแบบให้มีค่าการกันเสียงและดูดซับเสียงที่เหมาะสม เพื่อการดูหนังฟังเพลงได้อย่างเต็มอรรถรส และไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ห้องที่ต้องคุยธุระ-ควรออกแบบให้มีการกันเสียง-ดูดซับเสียงที่ดี >ภาพ: สำหรับห้องที่ต้องคุยธุระกันอย่างมีกิจลักษณะ ควรออกแบบให้มีการกันเสียงและดูดซับเสียงที่ดี เพื่อการคุยงานที่มีประสิทธิภาพ ห้องที่มีการเล่นดนตรี-ติดตั้งวัสดุกันเสียง >ภาพ: ห้องที่ต้องใช้เสียงดัง เช่นห้องที่มีการเล่นดนตรีเป็นครั้งคราว ก็ควรออกแบบติดตั้งวัสดุที่ช่วยกันเสียงไม่ให้เล็ดลอดออกไปรบกวนห้องข้างเคียงเช่นกัน สนใจ วัสดุดูดซับเสียง พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รีโนเวทห้องนั่งเล่นธรรมดาๆ ให้สวยงามมีสีสัน และได้ฟังก์ชั่นในแบบโฮมเธียเตอร์ ด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock และแผ่นซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง ลดเสียงก้องและเสียงสะท้อน อีกทั้งยังสามารถนำมาออกแบบและตกแต่งร่วมกับวัสดุอื่นๆ ได้ตามต้องการ >สำหรับเจ้าของบ้านที่ชื่นชอบการดูหนัง ฟังเพลง หรือเป็นสายปาร์ตี้ เรามีไอเดียในการตกแต่ง/ปรับปรุงห้องนั่งเล่นธรรมดาๆ ให้ได้ลุคที่สวยงามมีสีสันและได้ฟังก์ชั่นในแบบโฮมเธียเตอร์ ด้วย วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock และแผ่นซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera ที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง ลดเสียงก้องและเสียงสะท้อนได้อย่างดี นำมา Mix & Match กับ ไม้ตกแต่งผนัง เอสซีจี รุ่นโมดิน่า ที่มีให้เลือกหลายแบบ สามารถดีไซน์ได้ตามความต้องการ และยังง่ายต่อการติดตั้งอีกด้วย ส่วนจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลย >1.เตรียมโครงสร้าง โดยติดตั้งโครงกัลวาไนซ์บนผนัง เว้นระยะห่างไม่เกิน 60 ซ.ม. >2.ติดตั้ง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock ที่มีคุณสมบัติกั้นเสียงดังระหว่างห้อง โดยติดตั้งระหว่างช่องว่างของโครงคร่าว จากนั้นนำผนังสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี มาปิดทับ และยิงด้วยตะปูเกลียว text >ภาพ: ติดตั้งโครงสร้างด้วยโครงกัลวาไนซ์ แล้วใส่วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock ระหว่างโครงคร่าว ปิดทับด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ด >3.ตกแต่งผนังด้วย แผ่นซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับเสียง ลดเสียงก้องและเสียงสะท้อน ผลิตจากแผ่นกลาสวูลที่มีความหนาแน่นสูง ปิดผิวด้านหน้าและด้านหลังด้วยแผ่นกลาสแมท เคลือบขอบรอบด้านด้วยสารอะครีลิคลาเท็กซ์ หุ้มด้วยผ้าสีสันสวยงาม มีให้เลือกหลากหลายขนาด ติดตั้งง่ายโดยทากาวที่แผ่นเป็นแนวทแยงมุม แล้วติดลงบนผนังตามรูปแบบที่ต้องการ text >ภาพ: ติดตั้งแผ่นซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera บนแผ่นสมาร์ทบอร์ด ตามตำแหน่งที่ได้ออกแบบไว้ >4.เพิ่มลูกเล่นด้วย ไม้ตกแต่งผนัง เอสซีจี รุ่นโมดิน่า นำมาตัดตามขนาด และทาสีอะครีลิกตามเฉดสีที่ต้องการ จากนั้นติดตั้งโดยใช้ปลายสว่าน ขนาด 38 มม. ยิงด้วยตะปูเกลียวบนโครงกัลวาไนซ์ ก็จะได้ผนังห้องที่มีสีสันหลากหลายไม่น่าเบื่อ text >ภาพ: นำไม้ตกแต่งผนัง เอสซีจี รุ่นโมดิน่า มาติดตั้งร่วมกับ แผ่นซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera เป็นการ Mix and Match ที่ลงตัว text >ภาพ: สร้างสรรค์แพทเทิร์นได้หลากหลายไม่ซ้ำใคร ทำให้เกิดมิติของผนังที่แปลกใหม่ และกลายเป็นจุดเด่นของห้องนั่งเล่นนี้ >เพียง 4 ขั้นตอน เราก็จะได้ห้องนั่งเล่นที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังได้ฟังก์ชั่นในเรื่องของการกันเสียง ดูดซับเสียง และลดเสียงก้องอีกด้วย สามารถนำไอเดียนี้ไปปรับใช้กับห้องนอน หรือห้องอื่นๆ ที่เป็นมุมโปรดของสมาชิกในครอบครัว ให้ได้มีช่วงเวลาแห่งการเติมเต็มความสุขร่วมกันมากยิ่งขึ้น text >ภาพ: สร้างสรรค์แพทเทิร์นได้หลากหลายไม่ซ้ำใคร ทำให้เกิดมิติของผนังที่แปลกใหม่ และกลายเป็นจุดเด่นของห้องนั่งเล่นนี้ สนใจ วัสดุดูดซับเสียง พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
วิธีช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่ส่องผ่านแผ่นหลังคาโปร่งแสง สำหรับงานต่อเติมหลังคานอกบ้าน เพื่อให้ใช้งานพื้นที่ใต้หลังคาได้มากขึ้น ทั้งยังออกแบบได้หลากหลายตามต้องการ และดูสวยงามเข้ากับสไตล์ของแต่ละบ้าน >เมื่อพูดถึงการต่อเติมหลังคาไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงรถ หลังคากันสาด หลังคาคลุมพื้นที่อเนกประสงค์หรือส่วนต่อเติมอื่น ๆ “หลังคาโปร่งแสง” หรือ หลังคาใส เป็นอีกแนวทางที่นิยม ซึ่งจะช่วยบังฝนให้เรา ขณะเดียวกันก็ยอมให้เราได้สัมผัสบรรยากาศภายนอก พร้อมๆ กับยอมให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาได้ แต่เมื่อแสงธรรมชาติผ่านเข้ามา ความร้อนก็สามารถผ่านเข้ามาได้ สำหรับใครที่กังวลเรื่องความร้อนที่จะผ่านเข้ามาทำให้พื้นที่หน้าบ้านและตัวบ้านร้อน เรามีวิธีทำหลังคาโปร่งแสงให้ช่วยลดความร้อนมาฝากกัน >## 1. เลือกวัสดุหลังคาโปร่งแสง รุ่นที่กันร้อน หรือยอมให้แสงผ่านเข้ามาน้อย >ในท้องตลาดก็มีให้เลือกหลากหลาย อย่างเช่น “หลังคาโปร่งแสง เอสซีจี” สำหรับรุ่นปกตินั้น แต่ละสีก็มีค่าปริมาณที่ยอมให้แสงผ่านได้แตกต่างกัน โดยสีเทาหมอก (Gray Mist) จะยอมให้แสงผ่านลงมาได้น้อยที่สุดเพียง 16% (เมื่อเทียบกับสีอื่นในรุ่นเดียวกัน) ส่วน “หลังคาโปร่งแสง เอสซีจี รุ่นฮีทชิลด์” นวัตกรรมใหม่ที่ใส่สารป้องกันความร้อน ช่วยกันร้อนสะท้อนยูวี ด้วยการติดฟิล์ม 2 ด้าน ช่วยป้องกันรังสียูวีได้สูงสุดถึง 99% >อ่านเพิ่มเติม: ต่อเติมหลังคาใสหลากสี กับแผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลอนกันสาด แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลอนกันสาด รุ่นยูวีชิลด์ หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ตัวอย่างการเลือกใช้แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลอนกันสาด รุ่นยูวีชิลด์ สีส้ม หลังคาโปร่งแสง เอสซีจี หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ปริมาณแสงผ่านของหลังคาโปร่งแสง เอสซีจี รุ่นปกติ แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี รุ่นฮีทชิลด์ หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ค่าป้องกันความร้อนจากแสง UV และปริมาณแสงผ่าน ของแผ่นโปร่งแสง เอสซีจี รุ่นฮีทชิลด์ บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ หลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >นอกจากนี้ ยังมี “หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่น กันความร้อน” หรือ รุ่น Heat Cut ความหนา 6 มม. ที่ช่วยกันความร้อนจากรังสีอินฟาเรต 48-59% ทำให้ช่วยประหยัดพลังงาน ขณะที่ดูโปร่ง มีร่มเงา และช่วยกรองแสง ทั้งยังมีอีกรุ่นคือ “หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่นไพรม์” ความหนา 10 มม. ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษด้านการกันความร้อน ช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ใต้หลังคาได้ประมาณ 5-6 องศาเซลเซียส ช่วยกันความร้อนจากการตัดรังสีอินฟาเรต 69-75% หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่นกันความร้อน หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ตัวอย่างการเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่นกันความร้อน สีรอยัลบลู >ขอบคุณภาพ: บริษัท จรุงรัตน์ จำกัด หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่นกันความร้อน หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ปริมาณแสงผ่าน ของหลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่น กันความร้อน (Heat Cut) ที่ช่วยกันความร้อนจากรังสีอินฟาเรต 48-59% หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่นไพรม์ หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ปริมาณแสงผ่าน ของหลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite รุ่นไพรม์ ช่วยกันความร้อนจากการตัดรังสีอินฟาเรต 69-75% บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ หลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2. เพิ่มระแนงใต้แผ่นหลังคาโปร่งแสง >ให้ช่วยกรองแสงและช่วยลดความร้อนที่จะส่งผ่านลงมา โดยหากระแนงมีความถี่มาก จะยิ่งช่วยกรองแสงได้ดี นอกจากนี้ ทั้งวัสดุ ขนาด และรูปทรงของวัสดุระแนงที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มลูกเล่นให้ระแนงมีรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ติดตั้งระแนงใต้แผ่นโปร่งแสง หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคาโปร่งแสง หลังคาใส หลังคากันร้อน >ภาพ: ตัวอย่างการเลือกติดตั้งระแนงใต้แผ่นโปร่งแสง (ซ้าย) ระแนงที่มีความหนาแผ่นมาก วางตัวแบบถี่ๆ, (กลาง) ระแนงขนาดเล็กที่วางตัวแบบถี่ๆ, (ขวา) ลูกเล่นระแนงที่มีทั้งถี่และห่างสลับกันเป็นจังหวะ เพิ่มความน่าสนใจของเงาตกกระทบ >## 3. เลือกทำหลังคาโปร่งแสงลูกเล่นทึบสลับโปร่ง >เลือกใช้หลังคาโปร่งแสงมาผสมควบคู่กับหลังคาทึบแสง ที่มีขนาดและรูปแบบหน้าตัดที่เท่ากัน เพื่อให้สามารถติดตั้งได้พอดี ไม่มีรั่วซึม หรือเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงทั้งหมด เพื่อคงรูปแบบหลังคาโปร่งแสง แต่ติดตั้งฝ้าเพดานใต้หลังคาโปร่งแสงในบางส่วน ติดตั้งฝ้าใต้หลังคาโปร่งแสง เลือกหลังคาโปร่งแสงผสมกับการเลือกใช้วัสดุหลังคาแบบทึบแสง หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา หลังคากันร้อน >ภาพ: (ซ้าย) ตัวอย่างการติดตั้งฝ้าเพดานใต้หลังคาโปร่งแสง, (ขวา) ตัวอย่างการเลือกหลังคาโปร่งแสง ผสมกับการเลือกใช้วัสดุหลังคาแบบทึบแสง มาติดตั้งอยู่ด้วยกัน เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาได้บ้างแต่ไม่ใช่ทั้งผืนหลังคา >## 4. ปลูกต้นไม้ให้ปกคลุมพื้นที่บางส่วนของหลังคาโปร่งแสง >หากมีพื้นที่รอบบ้านมากพอ ก็เลือกปลูกต้นไม้ใหญ่ ให้ปกคลุมพื้นที่และเพิ่มร่มเงาให้บริเวณหลังคาโปร่งแสงได้ หากพื้นที่ไม่มาก ก็สามารถเลือกการแขวนไม้ประดับ หรือปลูกไม้เลื้อยให้เลื้อยไปบดบังแสงบางส่วนได้ ปลูกต้นไม้สูงใหญ่เพิ่มร่มเงาให้บริเวณหลังคาโปร่งแสง หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา >ภาพ: ปลูกต้นไม้สูงใหญ่เพิ่มร่มเงาให้บริเวณหลังคาโปร่งแสง ตัวอย่างการเลือกปลูกไม้เลื้อยที่เป็นต้นองุ่น ช่วยกรองแสงแล้ว รับประทานได้ หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมหลังคา >ภาพ: ตัวอย่างการเลือกปลูกไม้เลื้อยที่เป็นต้นองุ่น นอกจากจะช่วยกรองแสงแล้ว ยังเอามารับประทานได้อีกด้วย >นอกจากการหาวิธีช่วยลดความร้อนเมื่อเราเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงแล้ว สิ่งสำคัญ อย่าลืมหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หลังคาโปร่งแสงดูสวยงามตลอดเวลาด้วย >อ่านเพิ่มเติม: ไอเดียตกแต่งหลังคาโรงรถ กันสาด ด้วยหลังคาโปร่งแสงและทึบแสง บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ หลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered}
วัสดุแต่ละชนิด มีค่าความสามารถในการดูดซับเสียง ที่ช่วยแก้ไขปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อนในห้องได้แตกต่างกัน ดังนั้น ในการจะเลือกวัสดุอะคูสติก หรือแผ่นดูดซับเสียง ที่แก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุดนั้น เราจึงจำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่า หลักในการเลือกพิจารณาวัสดุดูดซับเสียงนั้นต้องเลือกจากอะไร และวัสดุใด มีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงมากน้อยแค่ไหน >“ปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อน” ถือเป็นสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพในการฟังของคนเราด้อยลง จนนำไปสู่การสูญเสียสุนทรีย์ในการฟัง ตลอดไปจนถึงการรับสารที่ไม่ชัดเจนจนก่อให้เกิดความผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเสียงสะท้อนเสียงก้องในห้องประชุม ที่ทำให้ผู้ฟังฟังไม่รู้เรื่อง เกิดความหงุดหงิด นำสาระสำคัญในการประชุมไปทำงานต่อไม่ได้ หรือ ปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนในโรงละคร โรงภาพยนตร์ หรือห้องดูหนังฟังเพลง ที่ทำให้อรรถรสในการรับฟังความบันเทิงนั้นลดน้อยหายไป เป็นต้น นั่นเองที่เป็นเหตุผลว่าทำไม เราจึงควรใส่ใจกับการแก้ไขปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อน ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดตั้งฉนวนกันเสียง หรือวัสดุดูดซับเสียง ที่วัสดุต่างชนิดกัน ก็จะมีความสามารถในการดูดซับเสียง และแก้ไขปัญหาเสียงสะท้อนได้ต่างกัน วัสดุอะคูสติก แผ่นดูดซับเสียง >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงที่ผนังอาคารของศูนย์แสดงสินค้า อยุธยาซิตี้พาร์ค สนใจ วัสดุดูดซับเสียง พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกวัสดุอะคูสติก/แผ่นดูดซับเสียง? >เนื่องจากวัสดุอะคูสติก/แผ่นดูดซับเสียงแต่ละชนิดนั้น อาจผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน และวัสดุแต่ละชนิดก็มีความสามารถในการดูดซับเสียงที่ต่างกัน ดังนั้น การที่เราจะทราบได้ว่า วัสดุชนิดใดมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงเพื่อแก้ไขปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนได้มากที่สุดนั้น มีสิ่งต่างๆ ที่เราควรรู้ไว้เพื่อประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้ >1.การดูดซับเสียง หมายถึง การที่เมื่อเสียงเดินทางมากระทบกับวัสดุใดวัสดุหนึ่ง แล้วจะมีบางส่วนที่ถูกดูดซับไว้ในวัสดุ และส่วนที่เหลือจะถูกสะท้อนออกไป ซึ่งเสียงที่สะท้อนออกไปจะมีพลังงานหรือดังน้อยกว่าแหล่งกำเนิดเสียงเสมอ ดังนั้น วัสดุดูดซับเสียงที่ดี จึงเป็นวัสดุที่ดูดซับเสียงจากแหล่งกำเนิดเอาไว้กับตัวเองได้มาก และเหลือพลังงานเสียงที่สะท้อนออกไปน้อยที่สุด >2.SAC หรือ Sound Absorption Coefficient หมายถึง สัดส่วนของพลังเสียงที่ถูกดูดซับไปเมื่อกระทบกับวัสดุดูดซับเสียง เทียบกับพลังงานเสียงจากแหล่งกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น หากวัสดุชนิดหนึ่งมีค่า SAC เท่ากับ 0.80 ก็หมายความว่า วัสดุชนิดนั้นจะดูดซับพลังงานเสียงไว้ 80% เมื่อมีเสียงมากระทบ และจะมี 20% ที่เหลือถูกสะท้อนออกไป >3.ค่า SAC จะแปรผันไปตามความถี่ของเสียงด้วย จึงทำให้ถูกวัดที่หลายความถี่ ได้แก่ 125, 250, 500, 1,000, 2,000 และ 4,000 Hz ดังนั้น ในการเลือกวัสดุดูดซับเสียง ถ้าหากพิจารณาที่ค่า SAC จะต้องพิจารณาจากหลายค่าความถี่ โดยดูที่ค่าความถี่เดียวไม่ได้ เพราะในชีวิตจริง เสียงที่จะมากระทบในห้องนั้น ย่อมมีมากกว่าค่าความถี่เดียว ทั้งนี้ ในการพิจารณาค่า SAC หรือค่าการดูดซับเสียงนั้น ยิ่งมีค่ามากยิ่งดี >4.ค่า NRC หรือ Noise Reduction Coefficient หมายถึง ค่าที่บ่งบอกถึงในการดูดซับเสียงของวัสดุ โดย NRC จะเป็นค่าเฉลี่ยของ SAC ซึ่งถูกวัดที่ความถี่เสียงในระดับต่างๆ ได้แก่ 250, 500, 1,000, 2,000 Hz และปัดเศษให้อยู่ที่ 0.05 >5.วัสดุที่จะถือได้ว่าเป็นวัสดุดูดซับเสียง ควรจะมีค่า NRC อยู่ที่ 0.40 ขึ้นไป ทั้งนี้ หูของคนเราไม่สามารถแยกความแตกต่างของค่า NRC ที่ต่างกันเพียง 0.05 ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเลือกใช้วัสดุที่มีค่า NRC 0.70 กับ 0.75 หูของเราจะแยกไม่ออกว่า วัสดุทั้ง 2 นั้นดูดซับเสียงได้ดีต่างกัน >6.ในการเลือกวัสดุเพื่อแก้ไขปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อนนั้น เราสามารถพิจารณาได้ทั้งจากค่า SAC และ NRC แต่ที่ง่ายที่สุด คือ การดูที่ค่า NRC ของวัสดุต่างๆ โดยควรเลือกที่ตั้งแต่ระดับ 0.40 ขึ้นไป ทั้งนี้ สำหรับสถาปนิกส่วนใหญ่ จะเลือกพิจารณาวัสดุจากค่า NRC เช่นกัน แต่ถ้าหากเป็น Acoustician หรือผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์เรื่องเสียง จะเลือกพิจารณาวัสดุที่ค่า SAC สนใจ วัสดุดูดซับเสียง พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ควรเลือกวัสดุอะคูสติก/แผ่นดูดซับเสียงชนิดใด เพื่อแก้ปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อน >จากที่ทำความเข้าใจเรื่องการดูดซับเสียงกันไปแล้วว่า วัสดุแต่ละชิ้นนั้นมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อน ที่แตกต่างกัน โดยจะพิจารณาได้จากค่า SAC และ NRC ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและการเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจในการเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง เราสามารถพิจารณาได้จากตารางตัวอย่างค่าการดูดซับเสียงของวัสดุชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ ค่าการดูดซับเสียงของวัสดุชนิดต่างๆ >ภาพ: ตารางตัวอย่างค่าการดูดซับเสียงของวัสดุชนิดต่างๆ >ในการแก้ไขปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อนในห้องประชุมนั้น ภาพรวมแนวทางของการดำเนินการก็คือ การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงที่มีค่าการดูดซับเสียงที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ ในการจะทราบได้ว่า จะต้องเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงที่มีค่าการดูดซับเสียงเท่าไร และต้องใช้ปริมาณกี่แผ่น จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาเสียงในห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ นั้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงคือแนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุด เพราะเราจำเป็นจะต้องทำการวัดและคำนวณก่อนว่า ห้องประชุม ห้องสตูดิโอ ของเรานั้น มีปัญหาหนักมากเพียงใด เพื่อให้สามารถออกแบบแนวทางการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง และควบคุมงบประมาณในการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตั้งวัสดุอะคูสติกดูดซับเสียงในโรงงาน >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งวัสดุอะคูสติกดูดซับเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงสะท้อนในอาคารของศูนย์แสดงสินค้า อยุธยาซิตี้พาร์ค การติดตั้งวัสดุอะคูสติกดูดซับเสียงที่ผนังอาคารของโรงงาน >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งวัสดุอะคูสติกดูดซับเสียงที่ผนังอาคารของศูนย์แสดงสินค้า อยุธยาซิตี้พาร์ค >สนใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเสียง >สามารถติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกของเราได้ที่ >คุณณัฐคม สุวรรณกุล 085-488-2527 สนใจ วัสดุดูดซับเสียง พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ทำความเข้าใจที่มาของเสียงรบกวนสำหรับบ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ หรือบ้านก่ออิฐฉาบปูนที่ชั้นบนเป็นพื้นไม้ รวมถึงแนวทางในการบรรเทาเสียงรบกวนดังกล่าว >ไม้เป็นวัสดุที่ให้ลวดลายผิวสัมผัสสวยงาม อบอุ่น เป็นธรรมชาติ แต่เมื่อนำมาสร้างเป็นส่วนประกอบต่างๆ ของบ้านจะเกิดเสียงรบกวนได้ง่าย ทั้งเสียงยืดหดตัวของไม้ เสียงจากระบบพื้น/ผนังแบบโครงเบาของไม้ซึ่งสั่นสะเทือนง่าย (เช่น ขณะเดินในบ้าน หรือขณะมีรถวิ่งผ่านหน้าบ้าน) รวมถึงเสียงรบกวนทั้งจากนอกบ้านและในบ้าน ที่ลอดผ่านช่องรอยต่อไม้ฝา/ไม้พื้น ทั้งนี้ การบรรเทาเสียงรบกวนสำหรับบ้านไม้ หรือบ้านก่ออิฐฉาบปูนที่มีพื้นเป็นไม้นั้น จะเน้นการอุดปิดรอยต่อต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงรบกวนลอดผ่าน ดังนี้ >## เสียงรบกวนจากร่องรอยต่อพื้นไม้ >สำหรับบ้าน 2 ชั้นที่เป็นบ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ หรือบ้านก่ออิฐที่มีพื้นชั้นบนเป็นไม้นั้น เราอาจลดเสียงรบกวนโดยปูวัสดุตกแต่งทับพื้นไม้เดิมเพื่อปิดร่องรอยต่อระหว่างพื้นไม้ เช่น กระเบื้องยาง พื้นไม้ไวนิล พรม เป็นต้น ทั้งนี้ หากไม้พื้นเดิมผุพังหรือยังมีสภาพดีแต่ระดับไม่เรียบพอ ควรปรับปรุงโดยใช้แผ่นพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์มาปูแทนหรือปูทับให้เรียบร้อยก่อน จึงค่อยปูวัสดุตกแต่งดังกล่าว เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: การปูพรมทับพื้นไม้ เป็นวิธีตกแต่งพื้นผิวที่ง่าย สามารถปูทับพื้นไม้ได้ทุกชนิด เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: พื้นไม้ไวนิลซึ่งเป็นวัสดุกลุ่มเดียวกับกระเบื้องยาง สามารถติดทับพื้นไม้เดิม (กรณีพื้นไม้เดิมมีสภาพดี) ช่วยปิดรอยต่อระหว่างร่องพื้นไม้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน >สำหรับใครที่เสียดายลวดลายอันสวยงามของผิวหน้าพื้นไม้ สามารถใช้หลักการเดียวกัน แต่เปลี่ยนจากติดวัสดุทับบนพื้นเป็นติดแผ่นฝ้าเพดานชั้นล่างใต้ท้องพื้นแทน โดยอาจลงทุนติดฉนวนกันเสียงเหนือฝ้าเพดานเพิ่มด้วยก็ได้ เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: การนำฉนวนกันเสียงประกบแผ่นฝ้าทั้งด้านบนและด้านล่าง มาติดตั้งไว้ใต้ตงไม้ เพื่อช่วยป้องกันเสียงทะลุผ่านพื้นไม้ขึ้นไปยังห้องชั้นบน >## เสียงรบกวนที่ลอดจากผนังไม้ >การป้องกันเสียงจากนอกบ้านหรือนอกห้อง ที่ลอดตามรอยต่อผนังเข้ามารบกวนเรานั้น แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ >1) เสียงที่ลอดตามร่องระหว่างแผ่นไม้ฝา ป้องกันได้โดยติดตั้งระบบผนังโครงเบาทับผนังไม้เดิม พร้อมตกแต่งผิวตามต้องการ โดยอาจซ่อนฉนวนกันเสียงในผนังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียง เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: ตัวอย่างการป้องกันเสียงรบกวนที่ลอดตามร่องระหว่างแผ่นไม้ฝา >2) เสียงที่ลอดตามร่องบริเวณประตูหน้าต่าง ป้องกันได้ด้วยการอุดปิดรอยต่อประตูหน้าต่างให้มิดชิด เช่น ใช้หน้าต่างแบบมีบังใบ หรือติดบังใบเพิ่มพร้อมเสริมเส้นยางตามแนววงกบเพื่อให้ปิดได้สนิท อีกทางเลือกคือ เปลี่ยนใช้ประตูหน้าต่างไวนิลซึ่งสามารถปิดได้สนิทมิดชิดกว่าประตูหน้าต่างแบบอื่น เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: ตัวอย่างการป้องกันเสียงรบกวนที่ลอดตามรอยต่อประตูหน้าต่าง >## เสียงรบกวนที่ลอดตามรอยต่อตามหลังคา >หลังคาเป็นส่วนประกอบของบ้านที่มีรอยต่อหลายจุด ไม่ว่าจะเป็ฯ รอยต่อแผ่นกระเบื้อง รอยต่อกระเบื้องบริเวณเชิงชาย รอยต่อโครงหลังคา รอยต่อผนังกับโครงหลังคา ซึ่งล้วนเป็นช่องทางให้เสียงลอดเข้าบ้านได้ง่าย ฝ้าเพดานใต้โถงหลังคาจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกันเสียงไม่ให้มารบกวนพื้นที่ชั้นบน สำหรับบ้านไม้ที่ไม่มีฝ้าใต้โถงหลังคา แนะนำให้ลองติดตั้งฝ้าเพดานโดยอาจเพิ่มฉนวนกันเสียงด้วยก็ได้ ทั้งนี้ หากต้องการโถงหลังคาที่ดูโปร่งโล่งและได้อารมณ์ใกล้เคียงบ้านไม้ดังเดิม สามารถเลือกติดฝ้าพร้อมฉนวนไปตามความลาดเอียงของหลังคา โดยอาจใช้เป็นฝ้าไม้ ฝ้าไม้เทียม หรือฝ้าลายไม้ ตามต้องการ เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: ตัวอย่างการป้องกันเสียงรบกวนที่ลอดตามรอยต่อจากหลังคาด้วยการติดตั้งฝ้าเพดานพร้อมฉนวนกันเสียง เสียงรบกวนบ้านไม้ >ภาพ: ตัวอย่างฝ้าเพดานลาดเอียงตามโถงหลังคา ที่ให้อารมณ์แบบบ้านไม้ ฝ้าลายไม้ >ภาพ: ตัวอย่างฝ้าเพดานไม้เทียมจากวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ ที่ให้อารมณ์ใกล้เคียงไม้ >จะเห็นว่าแนวทางการป้องกันเสียงรบกวนในส่วนต่างๆ ของบ้านที่เป็นไม้นั้น โดยหลักแล้วจะเป็นเรื่องของการปิดรอยต่อ ซึ่งมักต้องใช้วัสดุอื่นมาติดตั้งทับพื้นหรือไม้ฝาของเดิม หากอยากจะคงบรรยากาศอบอุ่นแบบไม้อาจเลือกใช้วัสดุตกแต่งที่มีลวดลายใกล้เคียงไม้ กรณีมีการติดตั้งระบบพื้น (พร้อมตง) หรือระบบผนัง (พร้อมโครงคร่าว) แนะนำให้ปรึกษาวิศวกรเพื่อยืนยันว่า โครงสร้างบ้านเรายังแข็งแรงสมบูรณ์เพียงพอ และสามารถรับน้ำหนักวัสดุพร้อมโครงที่เพิ่มมาได้อย่างปลอดภัย สนใจวัสดุตกแต่งปูพื้นภายใน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}