ความแตกต่างในเรื่องรูปแบบและการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของเสาเข็มสั้นทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ เสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) เสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง และเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >. >“เสาเข็มตอก” ที่เป็น “เสาเข็มสั้น” หรือ “เสาเข็มเล็ก” นิยมใช้กันแพร่หลายในงานโครงสร้างขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือส่วนต่อเติมต่าง ๆ เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว เสริมลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง มีหลายขนาดและหน้าตัดต่าง ๆ ตามการใช้งาน >. >## 1. เสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) >เหมาะกับงานที่รับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น งานฐานรากของรั้ว รับน้ำหนักได้น้อยกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง และเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) มีขนาดหน้าตัดของเสา 10x12 ซม. มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1, 1.5, 2, 3, 4, 5 และ 6 เมตร ราคาถูกกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง และเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) >ภาพ: ลักษณะและขนาดของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงซีแพค หน้าตัดตัวที (T) >ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) ใช้กับงานรั้ว >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวที (T) ใช้กับงานรั้ว >. >## 2. เสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง >เหมาะกับงานรั้ว งานโครงสร้างขนาดเล็ก งานต่อเติมทั่วไป ลักษณะของเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวงจะมีรูกลวงตรงกลางตลอดท่อน โดยมีรูด้านหนึ่งเล็กกว่าอีกด้านหนึ่ง เวลาตอกจะตอกให้ด้านที่รูกว้างอยู่ด้านล่าง ด้านรูเล็กอยู่ด้านบน เพื่อให้พื้นที่ที่เสาเข็มสัมผัสกับดินจนเกิดแรงเสียดทานมีมากขึ้น การรับน้ำหนักใกล้เคียงกับเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I-12) มีขนาดหน้าตัดของเสา 15 ซม. มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1-6 เมตร ราคาใกล้เคียงกับเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ >ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง >ภาพ: ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง >ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง ใช้กับงานต่อเติมพื้นที่ข้างบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดหกเหลี่ยมกลวง ใช้กับงานต่อเติมพื้นที่ข้างบ้าน >. >## 3. เสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >เหมาะกับงานรั้ว งานต่อเติมปรับปรุงอาคาร งานเสริมความแข็งแรงถนน ทางเชื่อมระหว่างอาคาร งานฐานรากขนาดเล็ก และงานกำแพงกันดิน เป็นเสาเข็มที่มีพื้นที่รอบรูปมากกว่าเสาเข็มแบบอื่น ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำไห้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น มีขนาดหน้าตัดของเสา 12 และ 15 ซม. มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1, 1.5, 2, 3, 4, 5 และ 6 เมตร โดยเสาเข็มไอ 12 (I-12) จะรับน้ำหนักได้ใกล้เคียงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ส่วนเสาเข็มไอ 15 (I-15) จะรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง แต่ราคาใกล้เคียงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง >ลักษณะและขนาดของเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) >ภาพ: ลักษณะและขนาดของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง หน้าตัดตัวไอ (I) >ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) ใช้กับงานต่อเติมรั้ว กำแพงกันดิน >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มหน้าตัดตัวไอ (I) ใช้กับงานต่อเติมรั้ว กำแพงกันดิน >. >## ตารางเปรียบเทียบ ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละรูปแบบ >ตารางเปรียบเทียบ ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละรูปแบบ >. >การเลือกเสาเข็มตอกในรูปแบบต่างๆ ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลายผู้ผลิต แตกต่างกันตามขนาดหน้าตัด มาตรฐานการผลิต ฯลฯ ทั้งนี้ ในการเลือกใช้ตลอดจนการคำนวณจำนวน ความลึก ความห่าง และขนาดของเสาเข็มแต่ละประเภท ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมและแข็งแรง >. >สนใจ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >สนใจ เสาเข็มไอ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >อ่านเพิ่มเติม: เสาเข็มต่อเติมบ้าน “เข็มเหล็ก VS. ไมโครไพล์ (Micropile)" แบบไหนตอบโจทย์ ? >อ่านเพิ่มเติม: 5 ข้อชวนใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หมดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด
เล่าที่มาของครัวต่อเติมทรุด รวมถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากครัวทรุด ทั้งการแตกร้าวของพื้นผนัง และปัญหาด้านโครงสร้าง > การต่อเติมครัวหลังบ้าน เป็นหนึ่งในการต่อเติมบ้านที่นิยมกันมาก ตามมาด้วย “ครัวต่อเติมทรุด” ที่มักกลายเป็นปัญหายอดนิยมด้วยเช่นกัน ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงที่มาว่าทำไมครัวต่อเติมถึงทรุด และปัญหาที่ตามมาเมื่อครัวทรุดจะมีอะไรได้บ้าง > ครัวต่อเติมทรุดเพราะลงเสาเข็มสั้น > อธิบายกันก่อนว่าพื้นที่ทั่วไปที่ไม่ใช่บริเวณภูเขา ชั้นดินแข็งจะอยู่ลึกลงไปด้านล่าง สำหรับกทม. ปริมณฑล ส่วนใหญ่ชั้นดินแข็งจะอยู่ลึกประมาณ 17-23 ม. ส่วนดินที่อยู่เหนือจากนั้นขึ้นมาจนถึงผิวดินจะเป็นชั้นดินอ่อนซึ่งมีแรงพยุงน้อย การสร้างบ้านทั่วไปจึงต้องลงเสาเข็มให้ลึกไปถึงชั้นดินแข็งเพื่อพยุงบ้านไม่ให้ทรุดตัว การลงเสาเข็มต่อเติมครัวก็เช่นกัน หากไม่ลงลึกถึงชั้นดินแข็ง หรือไม่ได้ลงเสาเข็มเลย เหตุการณ์ครัวต่อเติมทรุดย่อมเกิดขึ้นได้ และมักตามมาซึ่งปัญหาต่างๆ ได้แก่... > ครัวต่อเติมทรุด พื้นผนังแยก แตกร้าว รั่วซึม > การต่อเติมครัวโดยลงเสาเข็มสั้นนั้น หากมีการหล่อพื้น ก่อผนัง ชนกับตัวบ้าน เมื่อครัวต่อเติมทรุด รอยต่อพื้นรวมถึงกระเบื้องพื้นและรอยต่อผนังมักเกิดการแตกร้าว แยกออก จนเกิดเป็นช่องทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ และหากยึดโครงสร้างครัวต่อเติมไว้กับตัวบ้านก็มักจะเกิดการทรุดเอียง เนื่องจากครัวต่อเติมด้านที่ไม่ได้ยึดกับตัวบ้านจะถูกน้ำหนักดึงลงไปอย่างรวดเร็วมากกว่า > ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ภาพ: (ซ้าย) ส่วนต่อเติมทรุด แยกออกจากตัวบ้านเป็นช่องทางให้น้ำรั่ว รวมถึงฝุ่น แมลงเข้ามารบกวนจากภายนอกได้ และ (ขวา) ครัวต่อเติมทรุดจนกระเบื้องพื้นแตกร้าวและพื้นเอียงจนไม่สามารถปิดประตูได้ > บริการต่อเติมครัวโดยทีมงานมืออาชีพ จาก HomeSmile คลิก\{.button .newtab} {.centered} > โครงสร้างเสียหาย เพราะต่อเติมครัวยึดเข้ากับตัวบ้าน > การต่อเติมครัวโดยยึดโครงสร้างเข้ากับโครงสร้างบ้านเดิมนั้น นอกจากจะเกิดปัญหาการทรุดเอียง พื้นผนังแตกร้าวแล้ว อีกเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านจะต้องตระหนักคือ โครงสร้างบ้านจะต้องรับภาระน้ำหนักส่วนต่อเติมที่เพิ่มมาโดยไม่ได้ถูกคำนวณไว้แต่แรก และเมื่อครัวต่อเติมทรุด โครงสร้างอาจถูกดึงรั้งกันจนเสียหาย นำมาซึ่งปัญหาอันตรายด้านโครงสร้างได้ในอนาคต > text ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้านภาพ: ครัวต่อเติมลงเสาเข็มสั้นยึดกับตัวบ้าน เมื่อครัวทรุดจะดึงรั้งตัวบ้านจนกระทบกับโครงสร้างได้ > ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ภาพ: รอยร้าวแนวเฉียงบนผนัง เป็นหนึ่งในสัญญาณแสดงปัญหาการทรุดที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง ถือเป็นรอยร้าวอันตรายซึ่งควรรีบปรึกษาวิศวกร > แก้ปัญหาครัวต่อเติมทรุดแตกร้าว > รอยแตกร้าวบริเวณพื้น ผนังที่เกิดขึ้น อาจซ่อมแซมเฉพาะจุดโดยใช้วัสดุอุดยาแนวปิดรอยแตก ไปจนถึงทุบรื้อ ทำใหม่บางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความเสียหายมากน้อยตามสภาพที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่โครงสร้างบ้านเสียหายด้วยเพราะโดนส่วนต่อเติมดึงรั้ง ถือว่าอันตราย ควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อทำการแก้ไขโดยเร็ว ต่อเติมครัวครั้งถัดไป กันไว้ดีกว่าแก้ > การลงเสาเข็มครัวต่อเติมเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งเพื่อป้องกันครัวต่อเติมทรุด ถือเป็นเรื่องดี กรณีพื้นที่จำกัดอาจเลือกเสาเข็มไมโครไพล์ซึ่งใช้เครื่องตอกขนาดเล็กและเกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ แม้จะเป็นทางเลือกที่ค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็ดูคุ้มค่าในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านไม่สะดวกจะจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ และยอมรับการทรุดในอนาคตได้ จะต้องปฏิบัติตามหลักการต่อเติมบ้านที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด นั่นคือ ส่วนต่อเติมกับตัวบ้านจะต้องแยกจากกันทั้งส่วนของวัสดุและโครงสร้าง หมายถึงจะต้องมีเสา คาน อีกชุดสำหรับรองรับส่วนต่อเติมทั้งหมด โดยไม่ไปฝากน้ำหนักไว้กับเสาคานของตัวบ้าน นอกจากนี้วัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้น ผนัง ไม่ควรก่อหรือหล่อชนกับตัวบ้าน แต่ให้ใช้วัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น โฟมยาง คั่นรอยต่อแทน > เสาเข็มไมโครไพล์ ไมโครไพล์ micropile ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้าน ภาพ: การลงเสาเข็มไมโครไพล์ซึ่งใช้เครื่องมือตอกขนาดเล็ก เหมาะกับการต่อเติมบ้านในพื้นที่จำกัด ตัวเสาเข็มยาวท่อนละ 1.5 ม. สามารถตอกต่อกันลึกไปถึงชั้นดินแข็งได้ > ครัวทรุด ครัวต่อเติมทรุด แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้าน ภาพ: การต่อเติมครัวหรือต่อเติมบ้านแบบลงเสาเข็มสั้นสำหรับรองรับส่วนต่อเติมโดยเฉพาะ ไม่ฝากน้ำหนักไว้กับตัวบ้าน > ทั้งนี้ หลักการที่ว่าจะต้องแยกส่วนต่อเติมกับตัวบ้านนั้น ไม่ได้ใช้เฉพาะกรณีลงเสาเข็มสั้นอย่างเดียว แต่รวมถึงการต่อเติมบ้านโดยลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งด้วย เผื่อมีการการขยับเขยื้อนของชั้นดินในอนาคต โครงสร้างและฐานรากเสาเข็มของส่วนต่อเติมกับบ้านจะได้ไม่กระทบหรือสร้างความเสียหายซึ่งกันและกัน อีกข้อสำคัญที่จะลืมไม่ได้ คือการต่อเติมครัวหรือต่อเติมบ้านแต่ละครั้งควรเลือกทีมช่าง ผู้รับเหมา ที่มีความชำนาญ ทำงานได้มาตรฐานและต่อเติมอย่างถูกต้องตามหลักการ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาในระยะยาว > แก้ปัญหาครัวทรุด ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว เสาเข็มต่อเติมบ้าน ภาพ: ตัวอย่างการต่อเติมบ้านที่มีโครงสร้าง เสา คาน สำหรับรองรับน้ำหนักของส่วนต่อเติมโดยเฉพาะ โดยไม่มีการฝากน้ำหนักส่วนต่อเติมไว้กับตัวบ้าน (ขอบคุณภาพจาก HomeSmile) > บริการต่อเติมครัวโดยทีมงานมืออาชีพ จาก HomeSmile คลิก\{.button .newtab} {.centered} > อ่านเพิ่มเติม: จะต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มอย่างไรดี ?
ข้อดีน่ารู้เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ที่เจ้าของบ้านควรทราบ เพื่อเป็นทางเลือกในการต่อเติมบ้านบนพื้นที่ขนาดจำกัด และช่วยแก้ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดในระยะยาวได้ >เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดหนึ่งมีทั้งแบบ “หน้าตัดรูปตัวไอ” และแบบหน้าตัดกลมที่เรียกว่า “เสาเข็มสปันไมโครไพล์” (Spun Micropile ผลิตจากคอนกรีตแบบมีแรงเหวี่ยงในแบบหล่อ จึงแข็งแรงกว่าแบบหน้าตัดรูปตัวไอ) เสาเข็มไมโครไพล์ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ใช้ตอกต่อกันตามความยาวที่ต้องการโดยเชื่อมเพลทเหล็กที่หัวและท้ายของเสาเข็ม เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานต่อเติมบ้านในพื้นที่จำกัดและไม่ต้องการเจอกับปัญหาต่อเติมบ้านทรุด รวมถึงมีข้อดีอื่นๆ อีก ซึ่ง SCG HOME อยากจะนำทั้งหมดมาสรุปให้อ่านกันเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: เสาเข็มไมโครไพล์ แบบหน้าตัดกลม (Spun Micropile) และหน้าตัดรูปตัวไอ สามารถตอกต่อกันจนลึกถึงชั้นดินแข็งได้ สังเกตที่หัวท้ายเสาเข็มจะมีแผ่นเหล็กเพื่อใช้เชื่อมต่อกันระหว่างเสาเข็มแต่ละต้น เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile เชื่อมเหล็ก เชื่อมเสาเข็ม >ภาพ: การเชื่อมเหล็กที่หัวท้ายของเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อต่อความยาวเสาเข็ม >## 1) ใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หมดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด >พื้นที่ดินทั่วไปที่เราสร้างบ้านจะมีชั้นดินอ่อนอยู่ด้านบนและชั้นดินแข็งอยู่ด้านล่าง (ยกเว้นพื้นที่บริเวณใกล้ภูเขา ซึ่งดินชั้นบนเป็นดินแข็ง) เสาเข็มของบ้านปกติแล้วจะลงลึกจนถึงชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. จากผิวดิน ในขณะที่ส่วนต่อเติมทั่วไปมักลงเสาเข็มสั้นลึกจากผิวดินแค่ไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งอยู่ในระดับชั้นดินอ่อน จึงทำให้ส่วนต่อเติมทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ช่วยแก้ปัญหานี้ เพราะสามารถใช้ตอกต่อกันให้ลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นดินแข็งได้ ส่วนต่อเติมก็จะไม่ทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดจึงหมดไป เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: เสาเข็มสั้นในส่วนต่อเติม ฝังอยู่ในขั้นดินอ่อน ทำให้ครัวทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: ส่วนต่อเติมที่ใช้เสาเข็มไมโครไพล์ สามารถนำมาตอกต่อกันให้ลึกถึงชั้นดินแข็งได้ จึงช่วยแก้ปัญหาต่อเติมบ้านทรุด >## 2) เสาเข็มไมโครไพล์ ใช้ต่อเติมบ้านในพื้นที่แคบได้ >การจะลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งในงานต่อเติมบ้าน โดยทั่วไปมี 2 ทางเลือก คือ “เสาเข็มเจาะ” กับ “เสาเข็มไมโครไพล์” ข้อจำกัดของเสาเข็มเจาะคือเครื่องมือที่ใช้มีขนาดใหญ่ พื้นที่หน้างานต้องไม่ต่ำกว่า 5x6 เมตร โดยห้ามมีสิ่งกีดขวางที่ระยะความสูง 5 เมตร และตำแหน่งเสาเข็มต้องไม่อยู่ในจุดมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วย ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์จะใช้เครื่องมือตอกที่มีขนาดเล็ก จึงตอบโจทย์งานต่อเติมบ้านในพื้นที่ขนาดเล็กอย่างบ้านในชุมชนเมือง ในซอยแคบๆ หรือหมู่บ้านจัดสรร เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์ เสาเข็ม micropile ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: (ซ้าย) การลงเสาเข็มเจาะกับเครื่องมือซึ่งต้องใช้พื้นที่เยอะ และ (ขวา) เครื่องมือตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ซึ่งมีขนาดเล็กจึงใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ (ขอบคุณภาพจาก knproconcrete.com) >## 3) ลงเสาเข็มไมโครไพล์ ใช้เวลาน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ >การต่อเติมบ้านด้วยเสาเข็มเจาะ ใน 1 วันจะลงเสาเข็มได้ประมาณ 2 ต้น โดยแต่ละต้นจะต้องมีการขุดเจาะดิน ใส่เหล็กเสริม และเทหล่อคอนกรีต ยังไม่รวมเวลาคอนกรีตเซตตัวอีก 48 ชม. ก่อนจะตัดหัวเข็มได้ ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์ จะอาศัยการตอกและเชื่อมเสาเข็มเพื่อต่อความยาวลงไปเรื่อยๆ โดยใน 1 วัน สามารถลงเข็มได้ประมาณ 3 ต้น และไม่ต้องเสียเวลารอคอนกรีตเซตตัว จึงทำงานได้รวดเร็วกว่าเสาเข็มเจาะมาก ต่อเติมบ้านทรุด ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ส่วนต่อเติมทรุด เสาเข็มต่อเติมบ้าน >ภาพ: การลงเสาเข็มเจาะซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนขุดเจาะดิน ใส่เหล็กเสริม และเทหล่อคอนกรีต ทั้งยังต้องรอคอนกรีตเซตตัวด้วย จึงใช้เวลามากกว่า เมื่อเทียบกับการลงเสาเข็มไมโครไพล์ >## 4) ลงเสาเข็มไมโครไพล์ หน้างานเรียบร้อยกว่าเสาเข็มเจาะ >ในการลงเสาเข็มเจาะ จะมีดินโคลนที่ต้องขุดขึ้นมากองอยู่บนพื้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับกองแล้ว ยังเป็นภาระที่จะต้องขนเอาดินปริมาณมากไปหาที่ทิ้งอีกด้วย ส่วนการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ จะมีดินที่ไหลออกมาเป็นจำนวนน้อย หน้างานจึงไม่เลอะเทอะมาก และดูสะอาดเรียบร้อยกว่าการลงเสาเข็มเจาะ >## 5) ลงเสาเข็มไมโครไพล์ เสียงดังรบกวนน้อยกว่าเสาเข็มชนิดอื่น >การต่อเติมบ้านบริเวณพื้นที่อาศัยที่มีความหนาแน่นอย่างในเมืองนั้น ต้องระวังเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้านเป็นอย่างมาก การลงเสาเข็มไมโครไพล์จึงนับว่าตอบโจทย์ตรงนี้ด้วย เพราะเสียงรบกวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการลงเสาเข็มชนิดอื่น >จะเห็นได้ว่า การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ในงานต่อเติมบ้านนั้น นอกจากจะมีข้อดีหลักๆ คือ ป้องกันปัญหาต่อเติมบ้านทรุด สามารถใช้ในพื้นที่ต่อเติมที่มีขนาดเล็กได้แล้ว ยังใช้เวลาน้อยกว่าและมีหน้างานที่เรียบร้อยกว่าเมื่อเทียบกับเสาเข็มเจาะ ทั้งยังเกิดเสียงดังรบกวนน้อยกว่าการลงเสาเข็มชนิดอื่นด้วย ถึงแม้เสาเข็มไมโครไพล์จะมีราคาสูงกว่าเสาเข็มทั่วไป แต่หากลองเทียบข้อดีแล้วก็อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าอยู่ไม่น้อยในระยะยาว
ยกปัญหายอดฮิตอย่างต่อเติมครัวไปแล้วครัวทรุด มาเจาะประเด็นเรื่องการลงเสาเข็มให้เข้าใจถึงสาเหตุ และแนะนำทางออกในการเลือกใช้เสาเข็มต่อเติมครัวหลังบ้านที่เหมาะสม >หลายบ้านที่เคยทำการต่อเติมครัวไว้ คงจะรู้ดีถึงปัญหาครัวทรุดอันน่ากลุ้มใจ เพราะนอกจากจะเกิดรอยแตกร้าวที่ไม่สวยงามแล้ว เวลาฝนตก น้ำยังรั่วซึมตามรอยแตกร้าวนั้นด้วย ว่ากันตรงๆ แล้ว สาเหตุที่ครัวทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน ก็เป็นเพราะเราลงเสาเข็มต่อเติมครัวหลังบ้านสั้นกว่าเสาเข็มของตัวบ้านนั่นเอง >## เสาเข็มต่อเติมครัวหลังบ้าน ยิ่งสั้นยิ่งทรุดเร็ว >เสาเข็มทำหน้าที่รับน้ำหนักบ้านทั้งหลังโดยอาศัยดินเป็นตัวช่วย ดังนั้นการสร้างบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเราจึงมีการลงเสาเข็ม (ยกเว้นบางพื้นที่ซึ่งมีดินแข็งอยู่ชั้นบน เช่น พื้นที่ใกล้ภูเขา อาจไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม) และเนื่องจากผิวดินชั้นบนเป็นชั้นดินอ่อน จึงทำให้ต้องลงเสาเข็มลึกไปจนถึงชั้นดินแข็ง (ประมาณ 17-23 ม.) เพื่อไม่ให้บ้านทรุดตัว >ทีนี้เวลาต่อเติมครัวแบบประหยัดงบหรือมีพื้นที่จำกัด ส่วนใหญ่เรามักใช้เสาเข็มสั้นสำเร็จรูปที่ความยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ห่างไกลมากจากชั้นดินแข็ง เสาเข็มสั้นที่รับน้ำหนักครัวส่วนต่อเติมของเราจะอยู่แค่ในชั้นดินอ่อน จึงทำหน้าที่ได้เพียงแค่ชะลอการทรุดตัวเท่านั้น ครัวที่เราต่อเติมจึงมีโอกาสทรุดตัวลงเรื่อยๆ จะเร็วหรือช้า มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะดินในแต่ละพื้นที่ แต่ยังไงก็เร็วกว่าตัวบ้านที่มีเสาเข็มลึกยาวถึงชั้นดินแข็งแน่นอน ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัว ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ครัวทรุด ส่วนต่อเติมทรุด >ภาพ: เสาเข็มต่อเติมครัว เป็นเสาเข็มสั้น ฝังอยู่ในขั้นดินอ่อน ทำให้ครัวทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน สนใจ สินค้าเสาเข็ม CPAC คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไม่อยากให้ครัวทรุด ต้องลงเสาเข็มต่อเติมครัวลึกเท่าตัวบ้าน >เมื่อบ้านลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็ง พอเราต่อเติมครัวโดยลงเสาเข็มลึกเท่าตัวบ้าน ย่อมแปลว่าเสาเข็มเรามีชั้นดินแข็งช่วยรับน้ำหนัก ดังนั้นครัวต่อเติมของเราก็จะไม่ทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน ทั้งนี้ การลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งในงานต่อเติมที่นิยมในปัจจุบันจะมี 2 ทางเลือก คือ “เสาเข็มเจาะ” กับ ”เสาเข็มไมโครไพล์” ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัว ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ครัวทรุด ส่วนต่อเติมทรุด ภาพ: เสาเข็มต่อเติมครัวลงลึกถึงชั้นดินแข็ง ทำให้อัตราการทรุดของครัวต่อเติม และตัวบ้านใกล้เคียงกัน >## เสาเข็มต่อเติมครัวหลังบ้าน “เสาเข็มเจาะ” VS “เสาเข็มไมโครไพล์” >- เสาเข็มเจาะ หลักการคือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สามขา หรือสามเกลอ ในการเจาะขุดดินใช้เป็นทรงกระบอกลึกตามขนาดและความยาวของเสาเข็ม โดยเจาะลึกให้ถึงชั้นดินแข็ง จากนั้นจึงใส่เหล็กเสริมแล้วเทคอนกรีตลงไป ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้เจาะขุดดินจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ (ขนาดพื้นที่หน้างานต้องไม่ต่ำกว่า 5x6 เมตร โดยห้ามมีสิ่งกีดขวางที่ระยะความสูง 5 เมตร และตำแหน่งเสาเข็มต้องไม่อยู่ในจุดมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยม) หากพื้นที่ต่อเติมค่อนข้างจำกัดอาจเข้าไปทำงานไม่ได้ นอกจากนี้ ในการขุดเจาะเสาเข็มจะต้องจัดการกับดินที่ขุดขึ้นมาให้ดี เพื่อไม่ให้เลอะเทอะ และต้องหาที่ทิ้งให้เรียบร้อย ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้านต่อเติมครัว สามขา เสาเข็มเจาะ ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ครัวทรุด ส่วนต่อเติมทรุด >ภาพ: การใช้สามขาขุดดินเพื่อติดตั้งเสาเข็มเจาะ ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัว เสาเข็ม ไมโครไพล์ spun micropile เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ลงเสาเข็มต่อเติมครัว ครัวทรุด ส่วนต่อเติมทรุด >ภาพ: การใส่เหล็กเสริม (ซ้าย) และเทคอนกรีตหล่อเสาเข็มเจาะ (ขวา) >- เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) เป็นเสาเข็มคอนกรีตท่อนสั้นๆ ขนาดยาว 1.5 เมตร นำมาตอกลงดินต่อกันทีละท่อนโดยมีการเชื่อมเหล็กบริเวณหัวท้ายของเสาเข็ม มีให้เลือกทั้งแบบ “หน้าตัดรูปตัวไอ” ซึ่งเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง กับอีกแบบคือ “หน้าตัดกลม” หรือที่เรียกว่า สปันไมโครไพล์ (Spun Micropile) ผลิตโดยการปั่นคอนกรีตด้วยความเร็วสูงจึงแข็งแรงกว่าแบบหน้าตัดรูปตัวไอ (และราคาสูงกว่าด้วย) เครื่องมือที่ใช้ตอกเสาเข็มไมโครไพล์จะมีขนาดเล็กกว่าเครื่องตอกเสาเข็มเจาะมาก เสียงขณะตอกดังน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ (ในขณะที่แรงสั่นสะเทือนใกล้เคียงกัน) และดินที่ไหลออกมาจากการตอกจะมีน้อย ไม่ค่อยเลอะเทอะ จึงตอบโจทย์สำหรับพื้นที่คับแคบได้ดีกว่าเสาเข็มเจาะมาก แต่ราคาก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัว เสาเข็ม ไมโครไพล์ spun micropile เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ลงเสาเข็มต่อเติมครัว >ภาพ: เสาเข็มไมโครไพล์ แบบหน้าตัดกลม (Spun Micropile) และหน้าตัดรูปตัวไอ) สังเกตที่หัวท้ายเสาเข็มจะมีแผ่นเหล็กเพื่อใช้เชื่อมต่อกันระหว่างเสาเข็มแต่ละต้น >ในเรื่องระยะเวลาติดตั้ง ก็มีข้อดีอีกอย่างของเสาเข็มไมโครไพล์ เพราะใน 1 วันสามารถลงเสาเข็มได้ประมาณ 3 ต้น (ขณะที่การทำเสาเข็มเจาะจะลงได้ประมาณ 2 ต้นต่อวัน ยังไม่รวมเวลาคอนกรีตเซตตัวอีก 48 ชม. ก่อนจะตัดหัวเข็มได้) ทั้งนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าตำแหน่งเหล็กเชื่อมที่ปลายเสาเข็มไมโครไพล์ จะมีปัญหาเรื่องสนิมในระยะยาวหรือไม่นั้น โดยหลักแล้วสนิมที่เหล็กจะเกิดได้ต่อเมื่อมีองค์ประกอบสำคัญคือ น้ำและออกซิเจน ในชั้นดินที่เสาเข็มฝังอยู่นั้นมีแต่น้ำอย่างเดียวไม่มีออกซิเจน จึงไม่ต้องกังวลเรื่องสนิม ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัว เครื่องมือตอก เสาเข็ม ไมโครไพล์ เชื่อม spun micropile เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ลงเสาเข็มต่อเติมครัว >ภาพ: (ซ้าย) เครื่องมือตอกเสาเข็มไมโครไพล์ซึ่งมีขนาดเล็ก เหมาะกับพื้นที่ขนาดจำกัด และ (ขวา) การเชื่อมเหล็กเพื่อต่อเสาเข็มไมโครไพล์ >กล่าวโดยสรุปคือ ถ้าจะต่อเติมครัวแบบไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องปัญหาครัวทรุด คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลงเสาเข็มต่อเติมครัวให้ลึกเท่าตัวบ้าน (ลึกถึงชั้นดินแข็ง) โดยใช้เสาเข็มเจาะหรือเสาเข็มไมโครไพล์ ในทางปฏิบัติถ้าเป็นบ้านในเมืองส่วนใหญ่โดยเฉพาะโครงการหมู่บ้านจัดสรร พื้นที่ต่อเติมครัวมักมีขนาดเล็กจนต้องเลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์ซึ่งตอบโจทย์งานต่อเติมในพื้นที่แคบได้ดี แม้จะราคาสูง แต่หากเจ้าของบ้านมองว่าในระยะยาวจะช่วยลดปัญหาครัวต่อเติมทรุดได้มาก ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่า >ก่อนจากกันไปขอฝากอีกเรื่องสำคัญคือ ในการต่อเติมทุกครั้งควรแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมต่างหากกับตัวบ้าน ไม่ควรเชื่อมส่วนต่อเติมเข้ากับบ้านเดิม เพราะโครงสร้างของบ้านถูกออกแบบไว้เพื่อรับน้ำหนักตัวบ้านเท่านั้น แม้ส่วนต่อเติมจะลงเสาเข็มลึกเท่ากับบ้าน แต่ก็มีโอกาสทรุดตัวต่างกันได้แม้จะน้อยมากก็ตาม นอกจากนี้ ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อให้ออกแบบโครงสร้างส่วนต่อเติมให้เหมาะสมและอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย >อ่านเพิ่มเติม: จะต่อเติมครัวหลังบ้าน ลงเสาเข็มอย่างไรดี ? >อ่านเพิ่มเติม: 5 เรื่อง ต่อเติมครัวต้องกลัวอะไรบ้าง สนใจ สินค้าเสาเข็ม CPAC คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เปรียบเทียบเสาเข็มเหล็กกับเสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) ซึ่งเป็นเสาเข็มที่มีขั้นตอนติดตั้งสะดวก รวดเร็ว สำหรับส่วนต่อเติมในพื้นที่จำกัด >บริเวณที่มีบ้านพักอาศัยหนาแน่นโดยเฉพาะตามเขตเมืองใหญ่ การลงเสาเข็มต่อเติมบ้านอาจมีทางเลือกน้อยเนื่องด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ดังนั้น เสาเข็มที่ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก ทำงานสะดวกอย่าง “เสาเข็มเหล็ก” และ “เสาเข็มไมโครไพล์” จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในงานต่อเติม ตามมาด้วยคำถามที่ว่า เสาเข็มทั้ง 2 ประเภท มีข้อแตกต่างอย่างไร และจะเลือกใช้แบบไหนดี >## เสาเข็มเหล็ก >ทำจากเหล็กเคลือบกันสนิม ท่อนเข็มเป็นเกลียวยึดกับดินได้ดี งานต่อเติมที่ลงเสาเข็มสั้น นิยมใช้เสาเข็มเหล็กความยาวไม่เกิน 2 ม. จุดเด่นของเสาเข็มเหล็ก คือความสะดวกรวดเร็วที่ได้เปรียบกว่าเสาเข็มชนิดอื่น เครื่องมือลงเสาเข็มเหล็กมีขนาดเล็กมาก ใช้พื้นที่น้อยกว่างานติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์ จึงติดตั้งในพื้นที่ต่อเติมซึ่งมีขนาดเล็กมากและแคบมากได้ เสาเข็มเหล็ก เข็มเหล็กราคา ราคาเข็มเหล็ก เสาเข็มเหล็กเกลียว kemrex ราคา เสาเข็มต่อเติมบ้าน ขั้นตอนลงเสาเข็มเหล็ก >ภาพ: ตัวอย่างเสาเข็มเหล็ก ความยาวไม่เกิน 2 เมตร ซึ่งนิยมใช้กับส่วนต่อเติมแบบลงเสาเข็มสั้น เสาเข็มเหล็ก เข็มเหล็กราคา ราคาเข็มเหล็ก เสาเข็มเหล็กเกลียว kemrex ราคา เสาเข็มต่อเติมบ้าน ขั้นตอนลงเสาเข็มเหล็ก >ภาพ: การใช้เสาเข็มสั้นกับงานต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน >การติดตั้งเสาเข็มเหล็กใช้เวลาติดตั้งรวดเร็วมาก ประมาณต้นละ 30-60 นาที ด้วยวิธีที่สะดวกง่ายดาย อาศัยเครื่องมือขนาดเล็กในการหมุนเสาเข็มเจาะลงดินไปได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าดิน (ลักษณะคล้ายการขันสกรูลงไป) หากจุดที่จะติดตั้งมีพื้น ค.ส.ล. ก็ไม่จำเป็นต้องรื้อออก สามารถเจาะช่องบนพื้นเพื่อลงเข็มได้เลยเช่นกัน หน้างานจึงสะอาด เศษดินน้อยมาก ปราศจากแรงสั่นสะเทือนหรือเสียงรบกวน นอกจากนี้ ตัวเข็มเหล็กสามารถดึงออกมาใช้ใหม่และย้ายตำแหน่งได้ >ทั้งนี้ เสาเข็มเหล็กขนาดไม่เกิน 2 ม. เหมาะกับส่วนต่อเติมที่ยอมให้ทรุดเร็วกว่าตัวบ้านได้ และไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกับพื้นที่ในบ้านมากนัก เช่น ระเบียง โรงจอดรถหน้าบ้าน ศาลาในสวน เป็นต้น เสาเข็มเหล็ก เข็มเหล็กราคา ราคาเข็มเหล็ก เสาเข็มเหล็กเกลียว kemrex ราคา เสาเข็มต่อเติมบ้าน ขั้นตอนลงเสาเข็มเหล็ก >ภาพ: ตัวอย่างแสดงขั้นตอนการลงเสาเข็มเหล็ก สนใจ เสาเข็ม CPAC คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) >ผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็กยาวท่อนละ 1.5 ม. นำมาตอกต่อกันได้ลึกถึงชั้นดินแข็ง เสาเข็มไมโครไพล์มี 2 ประเภทคือ >- ไอไมโครไพล์ หน้าตัดเป็นรูปตัว I นิยมใช้ขนาด 18×18 ซม. หรือ 22×22 ซม. หรือ 26×26 ซม. >- สปันไมโครไพล์ (Spun Micropile หรือ เสาเข็มสปัน) มีหน้าตัดกลม นิยมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. ผลิตจากคอนกรีตแบบมีแรงเหวี่ยงในแบบหล่อ จึงแข็งแรงกว่า ไอไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติมบ้าน ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้าน เข็มเหล็กvsไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้าน ลงเสาเข็มต่อเติมครัว >ภาพ: เสาเข็มไมโครไพล์ทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ไอไมโครไพล์ (ซ้าย) และ สปันไมโครไพล์ (ขวา) >เสาเข็มไมโครไพล์ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก เหมาะกับพื้นที่ขนาดจำกัดที่ไม่สามารถใช้เสาเข็มเจาะ หรือเสาเข็มตอกทั่วไปได้ การลงเข็มใช้วิธีตอกและเชื่อมเหล็กที่หัวท้ายของเสาเข็มแต่ละต้น โดยต่อกันไปจนกว่าจะถึงชั้นดินแข็ง ใช้เวลาลงเข็มได้ประมาณ 3 ต้น ใน 1 วัน (เร็วกว่าเสาเข็มเจาะซึ่งลงได้วันละ 2 ต้น) ขณะตอกมีเสียง/แรงสั่นสะเทือนพอประมาณ มีเศษดินจากการตอกบ้างแต่น้อยกว่ามากหากเทียบกับเสาเข็มเจาะ >เสาเข็มไมโครไพล์โดยทั่วไป จะตอกต่อกันจนลึกถึงชั้นดินแข็ง จึงเหมาะกับส่วนต่อเติมแบบพื้นที่ขยายซึ่งอัตราการทรุดควรใกล้เคียงกับตัวบ้าน เช่น ห้องครัว ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น เสาเข็มต่อเติมบ้าน ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด เข็มเหล็กvsไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้านลงเสาเข็มต่อเติมครัว ภาพ: การลงเสาเข็มไมโครไพล์สำหรับส่วนต่อเติมหลังบ้าน เสาเข็มต่อเติมบ้าน ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้าน เข็มเหล็กvsไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ ต่อเติมบ้านทรุด spun micropile ลงเสาเข็มหลังบ้านลงเสาเข็มต่อเติมครัว >ภาพ: ตัวอย่างขั้นตอนการลงเสาเข็มไมโครไพล์ >## เสาเข็มเหล็ก VS. เสาเข็มไมโครไพล์ ใช้อะไรต่อเติมบ้านดี >เมื่อเทียบระหว่าง เสาเข็มเหล็กทั่วไป (ยาวไม่เกิน 2 ม.) กับเสาเข็มไมโครไพล์ จะเห็นว่ามีการใช้งานที่ต่างกัน แม้ในภาพรวมเสาเข็มเหล็กจะติดตั้งสะดวก ง่าย และเร็วกว่าเสาเข็มไมโครไพล์ เข้าถึงพื้นที่แคบมากได้ มีหน้างานสะอาดเรียบร้อยไม่เกิดแรงสั่นสะเทือน และยังสามารถรื้อถอนออกมาใช้ใหม่ได้ก็ตาม แต่เสาเข็มเหล็กทั่วไปมักใช้ในงานต่อเติมบ้านแบบลงเข็มสั้น ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์จะใช้ต่อเติมบ้านแบบลงเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง ดังนั้น ในการตัดสินใจเลือกใช้ ก็ต้องดูว่าพื้นที่ที่จะต่อเติมนั้น จะยอมให้ทรุดตัวเร็วกว่าตัวบ้านได้หรือไม่ โดยดูจากการใช้งานตามที่กล่าวไปข้างต้น ควบคู่กับค่าใช้จ่ายเพื่อเทียบความคุ้มค่า >อ่านเพิ่มเติม: 5 ข้อชวนใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หมดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด เสาเข็มเหล็ก เข็มเหล็กราคา ราคาเข็มเหล็ก เสาเข็มเหล็กเกลียว kemrex ราคา เสาเข็มต่อเติมบ้าน ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด ต่อเติมครัวหลังบ้าน เข็มเหล็กvsไมโครไพล์ >ภาพ: เปรียบเทียบส่วนต่อเติมที่ลงเสาเข็มเหล็กขนาดยาวไม่เกิน 2 ม. กับเสาเข็มไมโครไพล์ และราคาโดยประมาณ (เดือน พค. 2564)
เราสามารถลดปัญหาบ้านชื้นได้โดยอาศัยแนวทางต่างๆ ทั้งการระบายอากาศ ใช้วัสดุหรือเครื่องดูดความชื้น ไปจนถึงการซ่อมแซมปรับปรุงดูแล เพื่อลดหรือป้องกันความเปียกชื้นทั้งภายในบ้านและจากภายนอกบ้าน > หน้าฝนกับปัญหาบ้านชื้นเป็นของคู่กัน หากความชื้นสะสมมากๆ ในบ้านอาจมีกลิ่นอับ สีผนังบวมลอก ผนังและฝ้าเพดานเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ หรือแม้แต่ปัญหาประตูหน้าต่างไม้บวมที่เปิดปิดยาก และยังอาจกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในการรับมือและลดปัญหาบ้านชื้น ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถอาศัยวิธีต่างๆ ดังนี้ > 1) ลดปัญหาบ้านชื้น ทำให้บ้านระบายอากาศและความชื้นได้เพียงพอ > ง่ายที่สุดคือ เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อให้อากาศถ่ายเท รับลมและแสงแดด เพื่อช่วยลดความชื้นและกลิ่นอับในบ้าน หากเป็นห้องที่อับลมหรือไม่มีหน้าต่าง ควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศหรือพัดลมหมุนเวียนอากาศช่วย แต่สำหรับหรับบ้านที่ไม่สามารถเปิดประตูหน้าต่างได้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเพราะกลัวฝุ่นกลัวเชื้อโรคเข้า หรือไม่มีคนอยู่บ้านเพราะต้องออกไปทำธุระนอกบ้านทั้งวัน อาจเลือกใช้ชุดอุปกรณ์ช่วยเร่งอัตราการระบายอากาศ\{.newtab}ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้แม้ปิดบ้านมิดชิด > Singleimage ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow System ช่วยลดปัญหาบ้านชื้น ภาพ: ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System ช่วยให้บ้านสามารถระบายอากาศได้ตลอดแม้ปิดบ้านมิดชิด > 2) ใช้วัสดุดูดความชื้น เครื่องดูดความชื้น ช่วยลดปัญหาบ้านชื้น เบื้องต้นเราอาจลดความชื้นด้วยวัสดุอย่าง ถ่านไม้ไผ่ เกลือ หรือข้าวสาร ใส่ในถุงผ้าที่ระบายอากาศได้ดี แล้ววางในมุมที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือมุมตู้เก็บของ เพื่อช่วยดูดซับความชื้น การเปิดแอร์ Dry Mode ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเช่นกัน หรือหากต้องการควบคุมความชื้นอย่างจริงจัง อาจเลือกใช้เครื่องดูดความชื้น\{.newtab}เพื่อควบคุมระดับความชื้นให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ช่วยลดกลิ่นอับ เชื้อรา และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค > Singleimage เครื่องดูดความชื้น ภาพ: ตัวอย่างเครื่องดูดความชื้นรุ่นต่างๆ > 3) ตรวจสอบและซ่อมแซมรอยรั่วซึมในบ้าน > ไล่เช็กรอยรั่วและจุดช้ำน้ำจากเพดานซึ่งอาจเกิดจากหลังคารั่วหรือห้องน้ำชั้นบนรั่วซึม รอยรั่วผนัง รอยรั่วตามรอยต่อประตูหน้าต่าง รอยรั่วจากท่อน้ำ หากพบจุดรั่วซึมควรลงมืออุดซ่อมแซมด้วย วัสดุอุดซ่อมรั่วซึม\{.newtab} หรือติดต่อช่างให้ดำเนินการซ่อมให้เรียบร้อยตามความเหมาะสม รวมถึงจัดการระบบระบายน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้มีน้ำหยด น้ำขัง เพื่อลดความชื้นสะสมในบ้าน > Singleimage รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึมรอบวงกบ ภาพ: ตัวอย่างรอยร้าวรั่วซึมที่ผนัง รอยรั่วที่หน้าต่าง และรอยร้าวรั่วซึมที่ผนังรอบหน้าต่าง > บริการซ่อมหลังคารั่ว ดาดฟ้ารั่ว คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 4) ติดตั้งกันสาด ป้องกันฝนสาดเข้าบ้าน > ฝนที่สาดเข้ามาทางประตูและหน้าต่าง เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นำความชื้นเข้ามาในบ้าน แม้จะปิดประตูหน้าต่าง แต่หากฝนตกหนักมากก็อาจเกิดการรั่วซึม รวมถึงเกิดความความชื้นสะสม นำมาซึ่งปัญหาเชื้อราที่ขอบหน้าต่างหรือประตูได้ด้วยเช่นกัน การติดตั้งหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่างจะช่วยลดปัญหานี้ โดยอาจเลือกเป็นกันสาดแบบธรรมดา หรือกันสาดพับได้ ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน > Singleimage กันสาด กันสาดพับได้ > ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งกันสาดพับได้ และกันสาดโปร่งแสงเหนือประตูหน้าต่าง เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าบ้านอันนำมาซึ่งปัญหาบ้านชื้น > > บริการติดตั้งหลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} > กันสาดพับได้พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 5) เลือกใช้วัสดุที่ลดการสะสมความชื้น หรือมีคุณสมบัติกันเชื้อรา > ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนจากวัสดุที่เป็นแหล่งสะสมความชื้น อย่างพื้นพรม พื้นไม้จริง เป็นวัสดุที่ทนต่อความชื้น เช่น กระเบื้องเซรามิก พื้นไวนิล พื้น SPC รวมถึงวัสดุอื่นๆ อย่างมู่ลี่ไม้ ประตูไม้ อาจเปลี่ยนมาพิจารณามู่ลี่อะลูมิเนียมลายไม้ ประตู UPVC แทน เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ต้องเผชิญความชื้นอย่างห้องน้ำ อาจเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติกันชื้น กันเชื้อรา เช่น สีกันชื้น ฝ้าทนชื้น ผ้าม่านกันเชื้อรา ประตู PVC ประตู UPVC ไปจนถึงพื้นกันลื่นรอยต่อน้อย\{.newtab}เพื่อลดปัญหาการสะสมของเชื้อรา > เลือกซื้อประตู UPVC พื้นไวนิล พื้น SPC คลิก\{.button .newtab} {.centered} > วิธีที่แนะนำไป คงพอจะช่วยลดและรับมือปัญหาบ้านชื้นได้ นอกจากนี้เราอาจใส่ใจในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ช่วยลดความเปียกชื้นในชีวิตประจำวัน เช่น หากพบน้ำเปียกตามพื้น เฟอร์นิเจอร์ ควรเช็ดให้แห้งตลอด หมั่นทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อรา กลิ่นอับ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการตากผ้าภายในบ้านเพื่อลดความชื้นสะสม สำหรับบ้านที่มีต้นไม้ไว้ในบ้าน ไม่ควรวางต้นไม้ในจุดอับลมอับแสงแดด เพราะต้นไม้จะคายน้ำทำให้ความชื้นเพิ่ม ควรวางไว้ในจุดที่มีการระบายอากาศและความชื้นได้ดี
ประเภทรางน้ำฝนเชิงชายหลากหลายวัสดุ ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน พร้อมแนะนำข้อดีข้อเสียก่อนเลือกใช้ >บ้านเราที่มีฤดูฝนยาวนาน เหมาะมากกับการติดตั้งรางน้ำฝน เพราะช่วยควบคุมการไหลของน้ำปริมาณมากจากหลังคาลงสู่บ่อพักน้ำ ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าจะมีหรือไม่มีรางน้ำฝนยังไงฝนก็ตกลงมาที่พื้นอยู่ดีแล้วก็ไหลลงทางระบายน้ำได้เหมือนกัน แต่ที่จริงแล้วน้ำฝนที่ตกบนหลังคาบ้านจะไหลรวมกันในปริมาณมาก ซึ่งแรงกระแทกของน้ำจากหลังคาลงต้นไม้ สวน ส่งผลให้ต้นไม้ตายได้ พื้นที่บริเวณนั้นเกิดการทรุด น้ำขัง และหากบ้านติดกันกับเพื่อนบ้านก็เป็นการป้องกันไม่ให้น้ำฝนจากหลังคาบ้านเรากระเด็นไปยังบ้านอื่นด้วย >ปัจจุบันรางน้ำฝนมีวัสดุให้เลือกหลายชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มโลหะ ได้แก่ สังกะสี สเตนเลส อะลูมิเนียม เหล็กเคลือบสี และ (2) กลุ่มวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่ ไฟเบอร์กลาส พีวีซี ไวนิล ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้ >. >## รางน้ำฝนสังกะสี >สังกะสีเป็นวัสดุเบา ติดตั้งง่าย และราคาไม่แพง จึงหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป มีสีเดียวคือสีธรรมชาติของสังกะสี แต่สามารถทาสีน้ำมันทับได้ สามารถพับขึ้นรูปได้ตามต้องการ ติดตั้งได้ทั้งแบบลอยตัวและแบบซ่อนรางน้ำ ข้อเสียคืออาจเป็นสนิมและผุพังได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสังกะสี การติดตั้ง และการดูแลรักษา >ข้อควรคำนึงคือ การเชื่อมรอยต่อของสังกะสีจะใช้วิธีการบัดกรี ซึ่งจะเป็นจุดที่รั่วซึมได้ง่ายและทำให้เกิดสนิมตามมา ควรทาสีกันสนิมและทาสีทับตามความต้องการจะเป็นการยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น >รางน้ำฝนสังกะสี >ภาพ: รางน้ำฝนสังกะสี >. >## รางน้ำฝนสเตนเลส >มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับรางน้ำสังกะสีคือน้ำหนักเบา พับขึ้นรูปได้ตามต้องการ และติดตั้งง่ายได้ทั้งแบบลอยตัวและแบบซ่อนรางน้ำ แต่มีราคาสูงกว่า และไม่นิยมทาสีทับ จุดเด่นคือมีความทนทานสูง ไม่เป็นสนิม (สเตนเลสเกรด 304) >ข้อควรคำนึงคือ การเชื่อมรอยต่อของสเตนเลสแบบอาร์กอน ต้องอาศัยความละเอียดของช่างติดตั้งเพื่อความสวยงามและไม่รั่วซึม >รางน้ำฝนสเตนเลส >ภาพ: รางน้ำฝนสเตนเลส >. >## รางน้ำฝนอะลูมิเนียม >อะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีความทนทานต่อการกัดกร่อนได้สูง จึงไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน น้ำหนักเบา และมีสีให้เลือกหลากหลาย โดยเป็นสีที่เคลือบมาจากโรงงานจึงได้สีเนียนสวยมีคุณภาพ ที่สำคัญคือรางน้ำยาวต่อเนื่องเพราะเป็นการขึ้นรูปหน้างาน ลดรอยต่อที่เสี่ยงต่อการรั่วซึม ติดตั้งแบบซ่อนตะขอยึดรางน้ำดูเรียบร้อยจึงเหมาะกับการติดตั้งแบบลอยตัว >ข้อควรคำนึงคือ รอยต่อบริเวณเข้ามุมซึ่งเป็นการพับแผ่นรางน้ำและเชื่อมติดกันด้วยซิลิโคนมีโอกาสรั่วซึมได้หากใช้ไปนานๆ ต้องอาศัยความชำนาญในการติดตั้ง >รางน้ำฝนอะลูมิเนียม >ภาพ: รางน้ำฝนอะลูมิเนียม >. >## รางน้ำฝนเหล็กเคลือบสี >ผลิตจากเหล็กกล้าเคลือบกัลวาไนซ์และเคลือบสี เป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปผลิตจากโรงงานได้มาตรฐานทั้งขนาด รูปทรง และสีเคลือบติดทนทาน มีสีให้เลือกหลากลาย แข็งแรงรับน้ำได้เต็มรางแบบไม่บิดเบี้ยวหรือเสียรูปทรง เหมาะกับการติดตั้งแบบลอยตัว >ข้อควรคำนึงคือ มีขนาดและรูปทรงจำกัด ความยาวท่อนละ 3 เมตร จึงต้องมีการเชื่อมต่อแต่ละท่อนโดยมีชิ้นส่วนสำเร็จรูปปิดตกแต่งทำให้เห็นส่วนที่เป็นรอยต่อ และมีโอกาสเป็นสนิมได้บริเวณรอยตัด >รางน้ำฝนเหล็กเคลือบสี >ภาพ: รางน้ำฝนเหล็กเคลือบสี >. >## รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส >เป็นวัสดุพลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว หรือ Fiberglass Rainforceed Plastic ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีจึงทนต่อสภาพกรดและด่าง มีให้เลือกหลายเฉดสี ติดตั้งได้ทั้งแบบลอยตัวและแบบซ่อนรางน้ำ สั่งผลิตขึ้นรูปได้ตามต้องการ ด้วยการวัดพื้นที่หน้างานแล้วขึ้นรูปและตัดจากโรงงานมาติดตั้งได้ทันที >ข้อควรคำนึงคือ มีอายุการใช้งานจำกัด อาจกรอบแตกได้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกระบวนการผลิตของแต่ละยี่ห้อ มีความยาวแต่ละท่อนสูงสุด 6 เมตร เชื่อมรางด้วยน้ำยาประสานรอยต่อที่มีกลิ่นเรซิ่นค่อนข้างฉุน หากมีการตัดต่อหน้างานจะมีฝุ่นฟุ้งกระจาย >รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส >ภาพ: รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส >. >## รางน้ำฝนพีวีซี (PVC) >ผลิตจากพีวีซีคุณภาพสูง ทนต่อสภาพอากาศ ไม่เปราะแตกง่าย น้ำหนักเบา มีสีในเนื้อวัสดุคือสีฟ้าและสีเทา ผลิตเป็นท่อนสำเร็จรูปจากโรงงาน ติดตั้งแบบลอยตัวยึดด้วยขอแขวน เชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยน้ำยาประสานท่อ (เช่นเดียวกับการต่อท่อประปา PVC) >ข้อควรคำนึงคือ หากโดนแสงแดดโดยตรงเป็นประจำอาจกรอบแตกหรือสีซีดจางได้ง่าย ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกระบวนการผลิตของแต่ละยี่ห้อ >รางน้ำฝนพีวีซี >ภาพ: รางน้ำฝนพีวีซี >>สนใจ บริการติดตั้งรางน้ำฝนพีวีซี คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >## รางน้ำฝนไวนิล (uPVC) >เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าพลาสติกทั่วไป มีความแข็งแรงสูงและมีอายุการใช้งานยาวนาน สีผสมมาในเนื้อวัสดุทำให้ไม่ซีดจาง ซ่อนตะขอยึดรางน้ำไว้ด้านในทำให้เรียบร้อยสวยงามทำให้เหมาะกับการติดตั้งแบบลอยตัว มีอุปกรณ์ติดตั้งสำเร็จรูปครบถ้วนจึงติดตั้งหน้างานได้ทันที แต่มีขนาดและรูปทรงจำกัด มีสีให้เลือกไม่มาก >ข้อควรคำนึงคือ ความยาวรางน้ำท่อนละ 3-4 เมตร จึงมีการเชื่อมต่อโดยชิ้นส่วนสำเร็จรูปปิดตกแต่งทำให้เห็นส่วนที่เป็นรอยต่อ >รางน้ำฝนไวนิล >ภาพ: รางน้ำฝนไวนิล >>สนใจ รางน้ำฝนไวนิล คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >รางน้ำฝนมีให้เลือกหลากหลายชนิดและมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ควรพิจารณาใช้งานที่ยาวนาน ติดตั้งง่ายเหมาะสมกับหลังคา รวมไปถึงความเรียบร้อยสวยงามตามสไตล์ที่ชอบ แต่เหนือสิ่งอื่นใดควรเลือกใช้ให้พอเหมาะพอดีกับงบประมาณที่จัดสรรไว้ด้วย >. >อ่านเพิ่มเติม: รางน้ำฝนไวนิล อุปกรณ์จากเอสซีจี ตัวช่วยบ้านในหน้าฝน >อ่านเพิ่มเติม: ไอเดียรางน้ำหลังคากันสาดกับการระบายน้ำฝน
รวมถามตอบเกี่ยวกับบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี วัสดุคอนกรีตปูพื้นมีให้เลือกหลากหลายทำให้หลายคนสงสัยว่าแบบไหนถึงเรียกว่าบล็อกคอนกรีตหรือกระเบื้องคอนกรีต มีความแตกต่างและใช้งานต่างกันอย่างไร รวมถึงการติดตั้งและการดูแลรักษา >. >---------------------------------------------------------------- >### สารบัญบทความ >1) บล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นมีลักษณะต่างกันอย่างไร? >2) การใช้งานบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นต่างกันอย่างไร? >3) ต้องเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมบ้างในการติดตั้ง? >4) วิธีการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >5) วิธีการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >6) ปูบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตแล้วพื้นยุบเกิดจากอะไร แก้อย่างไร? >7) วิธีการดูแลทำความสะอาดบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น? >8) หากสีซีดจางเมื่อใช้งานไปสักระยะ ใช้สีทาพื้นได้หรือไม่? >9) มีวิธีจัดการหญ้าที่แทรกขึ้นตามร่องอย่างไร? >---------------------------------------------------------------- >. >## 1) บล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นมีลักษณะต่างกันอย่างไร? >บล็อกคอนกรีตปูพื้น หรือที่มักเรียกกันว่า อิฐตัวหนอน บล็อกตัวหนอน มีความหนา 6 -12 ซม. มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งขนาด รูปทรง และมีรุ่นพิเศษ เช่น บล็อกสนามหญ้า (ปลูกหญ้าแซมได้) บล็อกรุ่นคูลพลัส (ช่วยลดความร้อน) บล็อกรุ่น Porous Block (มีเนื้อพรุนจึงน้ำระบายได้เร็ว ช่วยลดปัญหาน้ำขัง) ส่วนกระเบื้องคอนกรีตมักมีรูปทรงเป็นแผ่นกว้างและบางกว่าบล็อกปูพื้น โดยทั่วไปมีความหนา 3.5 ซม. มีทั้งแบบแผ่นเดียวและแบบผืนที่ประกอบด้วยกระเบื้องแผ่นเล็กเรียงเป็นแพทเทิร์น >ตัวอย่างบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นรุ่นต่างๆ >ภาพ: ตัวอย่างบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นรุ่นต่างๆ >. >## 2) การใช้งานบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นต่างกันอย่างไร? >สำหรับบล็อกคอนกรีตซึ่งมีความหนากว่ากระเบื้องคอนกรีต จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่รับน้ำหนักมาก เช่น ถนน ที่จอดรถ โดยสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 350 กก./ ตร.ม. เป็นทางเลือกแทนการเทพื้นคอนกรีต ซึ่งนอกจากจะได้พื้นที่มีสีสันและลวดลายพร้อมใช้งานแล้ว ยังสามารถรื้อถอนเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ไม่ยาก >พื้นที่จอดรถเลือกใช้บล็อกปูพื้น เอสซีจี รุ่นบล็อกหกเหลี่ยม >ภาพ: พื้นที่จอดรถเลือกใช้บล็อกปูพื้น เอสซีจี รุ่นบล็อกหกเหลี่ยม >. >ส่วนกระเบื้องคอนกรีตหากปูบนทรายปรับระดับจะเหมาะกับการใช้งานเป็นทางเท้า ทางเดินรอบบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับผู้คนใช้งาน แต่หากปูบนพื้นคอนกรีตโดยใช้ปูนทรายจะรับน้ำหนักได้มากขึ้น สามารถใช้งานเป็นที่จอดรถได้ >พื้นที่ทางเดินหน้าบ้านเลือกใช้กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี รุ่นแสตมป์ เพฟ >ภาพ: พื้นที่ทางเดินหน้าบ้านเลือกใช้กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เอสซีจี รุ่นแสตมป์ เพฟ >. >## 3) ต้องเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมบ้างในการติดตั้ง? >นอกจากบล็อกคอนกรีตตามที่เราเลือกแล้ว ยังจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ร่วมในการติดตั้ง คือ ขอบกั้น/ขอบคันหิน เพื่อกำหนดขอบเขตและป้องกันกระเบื้องขยับออกจากแนว, ทรายใช้รองบล็อก/กระเบื้องเพื่อปรับระดับ อุดร่องระหว่างบล็อก/กระเบื้อง, แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) เพื่อป้องกันทรายไหลช่วยไม่ให้พื้นยุบตัวได้ง่าย, น้ำยาประสานทราย ช่วยชะลอการเกิดวัชพืชตามร่องทราย ลดปริมาณน้ำซึมผ่านร่องทราย ลดโอกาสพื้นทรุดตัว และน้ำยาเคลือบผิวหน้าคอนกรีต ช่วยป้องกันความชื้นและตะไคร่ >วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรเตรียมไว้ใช้ในการปูบล็อกคอนกรีต >ภาพ: วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรเตรียมไว้ใช้ในการปูบล็อกคอนกรีต >. >## 4) วิธีการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >สามารถปูบนพื้นดินที่ตบอัดแน่นได้เลยโดยไม่ต้องมีพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับ โดยวางขอบกั้นและแผ่นใยสังเคราะห์รองทราย เพื่อป้องกันบล็อกและทรายไหลออกด้านข้าง มีขั้นตอนดังนี้ >1. เตรียมพื้นดิน (กำจัดขยะหรือหญ้า) และตบอัดดินให้แน่น >2. วางขอบคันหินโดยรอบพื้นที่ ป้องกันการแยกตัวของบล็อก >3. ปูแผ่นใยสังคราะห์รองทราย (Geo Textile) ถมทรายปรับระดับ แล้วพับหุ้มทรายในลักษณะตัวยู (U) ทับแผ่นรองทรายที่หุ้มเข้ามาด้วยบล็อก >4. ติดตั้งบล็อกปูพื้น เมื่อปูเต็มพื้นที่ให้โรยทรายละเอียดลงในช่องว่างระหว่างก้อนบล็อกให้เต็ม แล้วใช้เครื่องตบอัดแบบสั่นสะเทือนบดอัด 2-3 เที่ยว จากนั้นลงน้ำยาประสานทรายให้ทั่วร่องทรายระหว่างก้อน แล้วทาทับด้วยน้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีตบนพื้นผิวบล็อก >แนวทางการเตรียมพื้นที่และการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >ภาพ: แนวทางการเตรียมพื้นที่และการติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >การติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >ภาพ: การติดตั้งบล็อกคอนกรีตปูพื้น >. >## 5) วิธีการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ทำอย่างไร? >ให้เลือกวิธีการติดตั้งตามการใช้งานเป็นหลัก เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนี้ >พื้นทางเดินในสวน ทางเท้า เลือกติดตั้งได้ 2 วิธี คือ >๐ สำหรับทางเดินทั่วไป ให้ปรับระดับดิน ถมทรายบดอัด และปูกระเบื้องคอนกรีตได้เลย วิธีนี้ติดตั้งได้ง่าย สามารถรื้อออกและติดตั้งใหม่ได้ >๐ สำหรับทางเท้าที่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ให้ปรับระดับดิน เทคอนกรีตหยาบ (Lean Concrete) หรือที่มักเรียกกันว่า “เทลีน” และปูกระเบื้องด้วยปูนทรายปรับระดับ >การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นทางเดินในสวน ทางเท้า >ภาพ: การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นทางเดินในสวน ทางเท้า >. >พื้นที่จอดรถ ถนน ต้องมีพื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับ แล้วจึงปูกระเบื้องด้วยปูนทรายปรับระดับ >การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นที่จอดรถ ถนน >ภาพ: การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นสำหรับพื้นที่จอดรถ ถนน >. >## 6) ปูบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตแล้วพื้นยุบเกิดจากอะไร แก้อย่างไร? >ปัญหาหลักของพื้นยุบ มีอยู่ 2 สาเหตุ ได้แก่ การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน และมีการไหลของดินหรือทรายไปด้านข้าง >สาเหตุหลัก: การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้พื้นไม่เท่ากัน >วิธีแก้ไข: รื้อและติดตั้งใหม่ตามวิธีที่ถูกต้อง โดยปรับพื้นให้เรียบ ใช้ทรายหนาประมาณ 4 ซม. บดอัดให้แน่น และปูบล็อกใหม่ >สาเหตุรอง: มีการไหลของดินหรือทรายไปด้านข้าง >วิธีป้องกันและแก้ไข: ใช้แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) กั้นทรายไว้ลักษณะคล้ายการห่อทราย หรือใช้ขอบกั้นคอนกรีตเพื่อป้องกันการไหลของดินและทราย >ปัญหาพื้นกระเบื้องคอนกรีตทรุดตัวเนื่องจากทรายไหล >ภาพ: ปัญหาพื้นกระเบื้องคอนกรีตทรุดตัวเนื่องจากทรายไหล >. >บริการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีต เอสซีจี โดยนายช่างโฮมโซลูชั่น\{.button .newtab} {.centered} >บริการติดตั้งบล็อกและกระเบื้องคอนกรีต เอสซีจี โดย SCG Home Experience Vendor\{.button .newtab} {.centered} >. >## 7) วิธีการดูแลทำความสะอาดบล็อกและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น? >การดูแลทำความสะอาดทำได้ง่ายๆ โดยใช้การฉีดน้ำทำความสะอาดผิวหน้า หากมีคราบสกปรก สามารถใช้ผงซักฟอกและแปรงขัดออก จากนั้นฉีดน้ำล้างและปล่อยให้แห้ง หากต้องการให้พื้นดูสวยงามยาวนาน สามารถใช้น้ำยาเคลือบผิวคอนกรีตเพื่อป้องกันตะไคร่น้ำและช่วยคงสภาพสีได้ >ทำความสะอาดง่ายๆ โดยการฉีดน้ำทำความสะอาดผิวหน้าบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น >ภาพ: ทำความสะอาดง่ายๆ โดยการฉีดน้ำทำความสะอาดผิวหน้าบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น >. >สนใจ น้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เอสซีจี คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >## 8) หากสีซีดจางเมื่อใช้งานไปสักระยะ ใช้สีทาพื้นได้หรือไม่? >ไม่ควรใช้สีทาพื้น เพราะอาจไม่ได้ผิวสัมผัสเช่นเดิมและมีโอกาสที่สีจะลอกล่อนได้ง่าย ควรขัดล้างทำความสะอาดและทาด้วยน้ำยาเคลือบเงาคอนกรีต เพื่อให้สภาพสีดูสดใสขึ้นและทำให้สีทนยาวนาน >ใช้น้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เอสซีจี ทุกๆ 1 ปี เพื่อรักษาสภาพสีให้ทนยาวนาน >ภาพ: ใช้น้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เอสซีจี ทุกๆ 1 ปี เพื่อรักษาสภาพสีให้ทนยาวนาน >. >## 9) มีวิธีจัดการหญ้าที่แทรกขึ้นตามร่องอย่างไร? >สำหรับบ้านใหม่ควรเคลียร์พื้นที่ไม่ให้มีวัชพืชตั้งแต่แรก จากนั้นติดตั้งบล็อกตามขั้นตอนและทาน้ำยาประสานทรายระหว่างร่องรอยต่อบล็อก/กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เพื่อทำให้ทรายแข็งช่วยป้องกันหญ้าขึ้นแทรก นอกจากนี้ยังสามารถเคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกันอีกชั้นได้ด้วย สำหรับพื้นที่เดิมที่ควบคุมได้ยาก สามารถใช้วัสดุ/ทรายประสานร่องผสมโพลิเมอร์ในการแก้ปัญหาหญ้าขึ้น >น้ำยาประสานทราย เอสซีจี >ภาพ: น้ำยาประสานทราย เอสซีจี >. >สนใจ กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น คลิก\{.button .newtab} {.centered} >สนใจ บล็อกคอนกรีตปูพื้น คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >อ่านเพิ่มเติม: 5 เหตุผลน่าใช้ บล็อกปูพื้น และกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น\{.newtab} >อ่านเพิ่มเติม: ไขปัญหาบล็อกปูพื้นยุบ แต่งพื้นรอบบ้านสวยทนนาน\{.newtab}
รีวิวปัญหาหลังคารั่วฉบับบ้านทาวน์เฮาส์ ที่จัดการให้หายขาดได้ด้วย บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up Roof) โดยทีมช่าง SCG พร้อมรับประกัน 1 ปี >ปัญหาหลังคารั่วในหน้าฝนที่มาปั่นป่วนความสงบสุขในบ้าน หากจะซ่อมแซมจบในระยะยาวได้จะต้องพึ่งการซ่อมที่มีประสิทธิภาพโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะหลังคาบ้านทาวน์เฮาส์จะทำได้ยากกว่าบ้านเดี่ยว ด้วยหลังคาที่เชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกันกับบ้านหลังอื่น การซ่อมแซมโดยไม่ให้กระทบกับหลังคาของเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันจึงต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ >สำหรับประสบการณ์ซ่อมหลังคารั่วทาวน์เฮาส์ที่จะรีวิวในวันนี้ เป็นบ้านทาวน์เฮาส์ของคุณปริญญา จารุมโนกุล ที่อยู่อาศัยมาย่างเข้าปีที่ 6 หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: รอยด่างคราบน้ำบนฝ้าเพดาน ที่เกิดจากปัญหาหลังคารั่วซึม สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## ทาวน์เฮาส์หลังนี้ ซ่อมหลังคารั่วทุกปี >จุดเริ่มต้นปัญหาหลังคารั่วซึมของบ้านทาวน์เฮาส์หลังนี้ เกิดขึ้นหลังจากเข้าอยู่อาศัยได้ 3 ปี จากนั้นก็ต้องทำการซ่อมหลังคารั่วทุกปี โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนักพายุพัดแรง จะมีน้ำรั่วซึมหยดลงที่ชั้นสามของบ้านซ้ำแล้วซ้ำเล่า “หลังคารั่วที ก็ให้ช่างแถวหมู่บ้านมาซ่อม วิธีซ่อมคือทาสีกันซึมบริเวณรอยรั่ว อยู่ไปไม่นานก็กลับมารั่วซ้ำอีก แก้ไม่จบ” คุณปริญญา เจ้าของบ้าน เล่าประสบการณ์ซ่อมหลังคารั่วบ้านทาวน์เฮาส์ที่กันรั่วได้เพียงหน้าฝนเดียว แล้วก็ต้องกลับมาซ่อมใหม่กันทุกปี หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: บ้านทาวน์เฮาส์กับหลังคาที่ติดเป็นผืนเดียวกันกับเพื่อนบ้าน หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: หลังคาที่ผ่านการซ่อมด้วยการทาสีกันซึมเฉพาะจุด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาหลังคารั่วแบบชั่วคราว และมักกลับมารั่วซึมอีกในไม่ช้า สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## เปลี่ยนวิธีซ่อมหลังคารั่ว จบชัวร์ได้ มั่นใจยาว >“เคยซ่อมหลังคารั่วด้วยวิธีทาสีกันซึมมาหลายรอบแล้วก็ไม่หาย กังวลมาก อยากหาวิธีที่ซ่อมแล้วจบในระยะยาว เพราะเราไม่อยากต้องคอยแก้ปัญหาหลังคารั่วเดิมๆ กันทุกปี” คุณปริญญากล่าวถึงวิธีซ่อมหลังคารั่วแบบเดิมที่แก้ปัญหาไม่หายขาด จึงเริ่มหาแนวทางการแก้ไขอื่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนมาพบกับบริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) จาก SCG Roof Renovation ที่ใช้แผ่นเมทัลชีทมุงทับแนบไปหลังคาลอนคู่ของเดิม เป็นการป้องกันอีกชั้น ช่วยให้มั่นใจเรื่องการแก้ปัญหาหลังคารั่วซึมได้มากขึ้น หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: แผ่นเมทัลชีทรูปลอนเดียวกับกระเบื้องหลังคาลอนคู่ สำหรับใช้วางแนบกับกระเบื้องหลังคาของเดิม สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## บริการซ่อมหลังคารั่ว Top Up roof ตอบโจทย์ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม >คุณปริญญากล่าวถึงประสบการณ์ที่ได้รับเมื่อใช้บริการ Top Up Roof จาก SCG Roof Renovation ว่า “เคยลองซ่อมแบบอื่นแล้วไม่หายขาด พอได้รู้จักบริการ Top Up Roof ก็ดูน่าสนใจมาก เขาใช้วัสดุมุงทับกระเบื้องเดิมลงไปเลย ไม่ต้องรื้อหลังคาเก่า เป็นวิธีซ่อมหลังคารั่วสำหรับทาวน์เฮาส์โดยเฉพาะ ทีมติดตั้งเป็นช่างมืออาชีพจาก เอสซีจี และยังรับประกันงานติดตั้ง 1 ปีด้วย” บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) เริ่มด้วยขั้นตอนสำรวจ โดยจะมีทีม Site Consultant เข้ามาสำรวจหลังคาและประเมินผลผ่านภาพถ่ายทางโดรน ทำให้เห็นภาพหลังคาในมุมกว้างครอบคลุมทั้งหมด จากนั้นจะนำข้อสรุปปัญหาและวิธีแก้ไขมานำเสนออย่างชัดเจนพร้อมราคา หลังตกลงรับบริการก็นัดวันซ่อมตามที่สะดวกได้เลย >“ระหว่างที่ช่างกำลังทำงานเราก็ยังอยู่ในบ้านได้ตามปกติ ทีมช่างจะทำงานอยู่แต่นอกบ้านเท่านั้น โดยใช้เครนหรือนั่งร้านขึ้นไปบนหลังคา มีความปลอดภัยสูง ไม่ไปรุกล้ำสร้างความเสียหายให้กับเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ที้นี้พอไม่ต้องรื้อกระเบื้องเก่าหน้างานก็สะอาด ไม่มีเศษฝุ่นเศษกระเบื้องร่วงหล่นเข้าในบ้าน” คุณปริญญากล่าว หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: การยึดติดตั้งแผ่นเมทัลชีททับบนหลังคาทาวน์เฮาส์เดิม ในบริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) โดยทีมช่าง SCG สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## ทาวน์เฮาส์หลังคารั่วแก้ได้ จบปัญหาง่ายด้วย Top Up Roof >หลังจากใช้บริการแล้วเกิดความประทับใจ คุณปริญญาเลยอยากแนะนำสำหรับเจ้าของบ้านทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ท่านอื่นที่เผชิญปัญหาหลังคารั่ว บริการ Top Up Roof คิดค้นมาเพื่อแก้ปัญหาหลังคารั่วสำหรับทาวน์เฮาส์โดยเฉพาะ จบปัญหาได้ในระยะยาว เราไม่ต้องมาคอยปวดหัวแก้ปัญหาเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ และยังมีรับประกันการติดตั้งให้นาน 1 ปี จึงมั่นใจได้มากกว่าช่างทั่วๆ ไป หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: หลังจากใช้บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) เสร็จเรียบร้อย หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: คุณปริญญา จารุมโนกุล เจ้าของบ้าน ผู้อนุเคราะห์ข้อมูลในการรีวิวครั้งนี้) สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered}
การปูหญ้าเทียมให้สวยงามและใช้งานได้ยาวนาน ไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่คุณภาพของตัวหญ้าเทียมเท่านั้น แต่ การเตรียมพื้นที่ก็เป็นอีกขั้นตอนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการปูหญ้าเทียมบนพื้นดินหรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก > การเตรียมพื้นที่ก่อนปูหญ้าเทียมบนพื้นดิน > 1) จัดการสภาพพื้นที่ให้พร้อม ทั้งการรื้อถอนต้นไม้ที่ไม่ต้องการ รื้อถอนเฟอร์นิเจอร์ รื้อวัสดุปูพื้นของเดิม กรณีพื้นรอบบ้านมีปัญหาทรุดตัว เกิดโพรงใต้บ้าน เจ้าของบ้านควรให้ช่างทำการปิดโพรง รวมถึงปรับถมพื้นดินตามระดับที่ต้องการให้เรียบร้อย Singleimage ดินทรุด เกิดโพรงใต้บ้าน ภาพ: ตัวอย่างปัญหาดินทรุดเกิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งจะต้องจัดการปิดโพรงและปรับหน้าดินให้ได้ระดับ ก่อนจะทำการปูหญ้าเทียม > 2) กำจัดวัชพืชและขยะ เริ่มต้นด้วยการลอกวัชพืชและหญ้าจริงออก กวาดเก็บขยะและเศษวัสดุต่างๆ ออกจากพื้นที่ ทั้งนี้อาจมีการใช้น้ำยาฆ่าหญ้า ใช้แผ่นป้องกันวัชพืชปูใต้ผืนหญ้าเทียมร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของหน้างาน > 3) ปรับเตรียมพื้นที่ด้วยหินและทราย โดยถมหินเกล็ดหรือกรวดขนาดเล็กในระดับหนาประมาณ 5-7 ซม. ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นดินหน้างาน จากนั้นโรยทรายหยาบลงบนชั้นหินอีกประมาณ 5-10 ซม. แล้วใช้เครื่องบดอัดให้แน่นและเรียบเสมอกัน เพื่อป้องกันการทรุดตัวและช่วยให้ติดตั้งหญ้าเทียมได้อย่างมั่นคง > เมื่อเตรียมพื้นที่ตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถลงมือปูหญ้าเทียมต่อได้ โดยใช้วัสดุยึดประเภท หมุด ตะปูรูปตัว U หรือสมอบกในการยึดแผ่นหญ้าเทียมเข้ากับพื้นให้แน่นหนา > Singleimage เตรียมพื้นที่ปูหญ้าเทียมบนพื้นดิน ภาพ: (ซ้าย) การลงหินเกล็ด และบดอัดทรายให้แน่นเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับปูหญ้าเทียม และ (ขวา) การปูแผ่นป้องกันวัชพืชใต้ผืนหญ้าเทียม > หญ้าเทียมคุณภาพดี พร้อมบริการปูโดยทีมช่างผู้ชำนาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > การเตรียมพื้นที่ก่อนปูหญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก > 1) ตรวจสอบพื้นคอนกรีตว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว มีระดับลาดเอียงพอเหมาะ ระบายน้ำได้ดี ไม่เป็นหลุม เป็นแอ่งน้ำขังเมื่อฝนตก หากพบปัญหาต้องจัดการซ่อมแซมหรือปรับระดับพื้นให้เรียบร้อยก่อน > 2) ทำความสะอาดพื้นผิว โดยกวาดฝุ่น เศษหิน เศษไม้ และคราบมันออก ล้างพื้นให้สะอาดและปล่อยให้แห้งสนิท > 3) ปรับพื้นให้นุ่มขึ้น เป็นทางเลือกสำหรับเจ้าของบ้าน หากต้องการให้พื้นหญ้าเทียมมีสัมผัสการกดที่ยืดหยุ่นไม่แข็งกระด้าง อาจเลือกปูแผ่นรองกันกระแทก (Shock Pad) เพื่อเพิ่มความนุ่ม เช่น แผ่นโฟม แผ่นยางหรือตะแกรงพลาสติก เมื่อเตรียมพื้นที่ตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถลงมือปูหญ้าเทียมโดยใช้กาวในการยึดผืนหญ้าเทียมเข้ากับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก > Singleimage ปูหญ้าเทียมบนพื้นดิน ปูหญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีต ภาพ: (ซ้าย) การปูหญ้าเทียมลงพื้นทราย และ (ขวา) การปูหญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้กาว > เจ้าของบ้านคงมองเห็นภาพพอสมควรแล้วว่า เราจะต้องดำเนินการอย่างไรในการเตรียมพื้นที่เพื่อปูพื้นหญ้าเทียม สิ่งสำคัญคือ เราควรเลือกใช้ผู้ให้บริการติดตั้งที่มีความชำนาญ เพราะขั้นตอนในการเตรียมพื้นที่และติดตั้งหญ้าเทียม มีรายละเอียดที่ต้องคำนึงเพื่อให้ได้พื้นหญ้าเทียมที่สวยงาม และลดปัญหาการใช้งานในระยะยาวไม่ว่าจะเป็น การต่อผืนหญ้าเทียมได้ระยะห่างเท่ากับความห่างของฝีเข็มของหญ้า รวมถึงจัดเรียงเส้นหญ้าให้อยู่ในทิศทางเดียวกันอย่างสวยงามเป็นธรรมชาติ การประเมินสภาพความชื้นของพื้นดินเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อราในอนาคต การตรวจสอบระดับพื้นและการระบายน้ำที่เหมาะสม > ปูหญ้าเทียมให้สวย เส้นหญ้าเรียงทิศทางเดียวกัน ภาพ: ตัวอย่างเส้นหญ้าเทียม (ขนาดความยาว 3.5 ซม.) ซึ่งมีทิศทางเฉพาะ จึงต้องอาศัยความชำนาญในการต่อผืนหญ้าเพื่อให้เรียงตัวได้สวยงามในทิศทางเดียวกัน > หญ้าเทียมคุณภาพดี พร้อมบริการปูโดยทีมช่างผู้ชำนาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > อ่านเพิ่มเติม: สนามฟุตบอลปูหญ้าเทียมโรงเรียนเทพศิรินทร์\{.newtab}