รวมถามตอบเกี่ยวกับอิฐมวลเบา Q-CON ที่หลายคนสงสัยไม่ว่าจะเป็นการก่ออิฐมวลเบาเหมือนกับการก่ออิฐมอญหรือไม่ อิฐมวลเบา Q-CON สามารถใช้กับบริเวณที่เปียกน้ำได้หรือไม่ สามารถ ตอก ยึด แขวนสิ่งของได้หรือไม่ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ >. >---------------------------------------------------------------- >### สารบัญบทความ >1) “อิฐมวลเบา Q-CON” ผลิตมาจากอะไร >2) ความแตกต่างของอิฐมวลเบา Q-CON กับอิฐมวลเบาทั่วไป >3) ทำไมอิฐมวลเบา Q-CON จึงสามารถรับแรงได้ดี ทั้งที่มีฟองอากาศอยู่จำนวนมาก >4) อิฐมวลเบา Q-CON กันความร้อนได้จริงหรือ? >5) อิฐมวลเบา Q-CON กันเสียงได้จริงหรือ? >6) ควรเลือกใช้อิฐมวลเบาที่มีความหนาเท่าใดจึงจะแข็งแรงทนทาน >7) อิฐมวลเบา Q-CON แข็งแรงจริงหรือไม่ สามารถ ตอก ยึด แขวนสิ่งของได้หรือไม่ >8) สามารถใช้อิฐมวลเบา Q-CON ก่อเป็นผนังห้องน้ำได้หรือไม่ >9) วิธีการก่ออิฐมวลเบา Q-CON เหมือนการก่ออิฐมอญหรือไม่? >10) การก่ออิฐมวลเบาจำเป็นต้องมีเหล็กหนวดกุ้งเหมือนอิฐมอญหรือไม่ >11) การก่อผนังอิฐมวลเบา Q-CON จะต้องเทเสาเอ็น/คานเอ็นเหมือนอิฐมอญหรือไม่ >12) ทำไมอิฐมวลเบา Q-CON จึงคุ้มค่ากว่าอิฐมอญ >---------------------------------------------------------------- >. >## 1) “อิฐมวลเบา Q-CON” ผลิตมาจากอะไร >อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างที่ทำจากคอนกรีตที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไปที่เรียกว่า Autoclaved Aerated Concrete (AAC) ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนขาว ทรายละเอียด ยิปซัม และผงอะลูมิเนียม ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ทำให้ได้คอนกรีตมวลเบาที่มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา เนื่องจากมีฟองอากาศกระจายสม่ำเสมออยู่ภายใน (ฟองอากาศเป็นแบบปิด ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อวัสดุจึงตัน ไม่ได้เป็นรูพรุนเหมือนฟองน้ำ) >อิฐมวลเบา Q-CON ผลิตด้วยเทคโนโลยีจากเยอรมนีและได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มีให้เลือก 2 ระดับ ได้แก่ >๐ อิฐมวลเบา Q-CON ระดับคุณภาพ G2 เหมาะงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย ผนังรับน้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ 4-8 เท่า ช่วยประหยัดค่าไฟ >๐ อิฐมวลเบา Q-CON ระดับคุณภาพ G4 เหมาะงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ รับน้ำหนักได้มาก แข็งแรง แต่ยังกันความร้อนและเสียงได้ดี >. >## 2) ความแตกต่างของอิฐมวลเบา Q-CON กับอิฐมวลเบาทั่วไป >ในท้องตลาดปัจจุบันเราอาจพบผลิตภัณฑ์ที่เรียกตัวเองว่าเป็นอิฐมวลเบา ซึ่งมีส่วนผสมและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น ไม่ผ่านการอบไอน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง แต่ใช้วิธีผสมวัสดุอื่นที่สลายตัวเมื่อเผาและเกิดเป็นช่องว่างในเนื้ออิฐ อิฐประเภทนี้มีราคาถูก แต่เสื่อมสภาพเร็ว หรือบางกรณีผสมสารเคมีที่ทำปฏิกริยากับคอนกรีตจนเกิดฟองอากาศในเนื้ออิฐ ซึ่งจะส่งผลให้เนื้ออิฐหดตัวมากและทำให้ปูนฉาบแตกร้าวง่าย แต่สำหรับอิฐมวลเบา Q-CON นอกจากเป็นวัสดุคุณภาพดังข้อ 1 แล้ว ยังได้รับการรับรอง มอก. จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันที่เชื่อถือได้ ดังนี้ >๐ มอก. 1505-2541: ชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ >๐ มอก. 1510-2541: แผ่นคอนกรีตมวลเบาเสริมเหล็กแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ >๐ DIN 4165: Autoclaved Aerated Concrete Blocks & Flat Elements >๐ DIN 4223: Steam Cured Reinforced Roof and Floor Panel out of Gas and Foamed Concrete >๐ JIS A 5416-1995: Autoclaved Lightweight Aerated Concrete Panels >๐ ISO 9001: 2000 Certificate No.17553 >. >## 3) ทำไมอิฐมวลเบา Q-CON จึงสามารถรับแรงได้ดี ทั้งที่มีฟองอากาศอยู่จำนวนมาก >เนื้อของอิฐมวลเบา Q-CON มีฟองอากาศแบบปิดกระจายสม่ำเสมออยู่ภายใน ไม่ต่อเนื่องกัน ไม่ได้เป็นรูพรุนเหมือนฟองน้ำ เนื้อวัสดุจึงตัน ทำให้มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา และรับน้ำหนักได้ดี มีค่ากำลังอัดถึง 35 ksc (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) กล่าวคือ เนื้อที่หน้าตัด 1 ตร.ซม. สามารถรับน้ำหนักได้ 35 กก. หรืออิฐมวลเบา Q-CON ขนาด 20x60x10 ซม. จะรับแรงกดได้ถึง 21 ตัน (จากการทดสอบโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) >เนื้อของอิฐมวลเบา Q-CON ภาพ: เนื้อของอิฐมวลเบา Q-CON มีฟองอากาศแบบปิดกระจายสม่ำเสมออยู่ภายใน ไม่ต่อเนื่องกัน ไม่ได้เป็นรูพรุนเหมือนฟองน้ำ เนื้อวัสดุจึงตัน >. >## 4) อิฐมวลเบา Q-CON กันความร้อนได้จริงหรือ? >ฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุของอิฐมวลเบา Q-CON ช่วยลดทอนหรือหน่วงความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน โดยมีการเปลี่ยนแปลงตัวกลางตลอดเวลาระหว่างเนื้อวัสดุและช่องอากาศ จากการทดสอบพบว่าอิฐมวลเบามีคุณสมบัติความเป็นฉนวนมากกว่าอิฐมอญ 4-10 เท่าทำให้ภายในอาคารเย็นสบายกว่า และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศได้สูงสุดถึง 30% >. >## 5) อิฐมวลเบา Q-CON กันเสียงได้จริงหรือ? >รูพรุนในอิฐมวลเบาทำหน้าที่เป็นฉนวนกันเสียงในตัวได้ดี จากผลการทดสอบการกันเสียงเมื่อเทียบกับอิฐมอญที่ความหนาผนัง 10 ซม. (ผนังก่ออิฐรวมฉาบ 2 ด้าน) พบว่า ผนังทั้งสองชนิดมีค่าการกันเสียงที่ใกล้เคียงกันที่ประมาณ 37 เดซิเบล และหากเลือกใช้อิฐมวลเบาความหนา 10 ซม. จะกันเสียงได้ถึง 43 เดซิเบล >๐ อิฐมวลเบา Q-CON ความหนา 7.5 ซม. รวมฉาบผนังสองด้าน กันเสียงได้ 37dB (ผลทดสอบจาก ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) >๐ อิฐมวลเบา Q-CON 10 ซม. รวมฉาบผนังสองด้าน กันเสียงได้ 43dB (ผลทดสอบจาก Acoustics Labboratory, National University, SG) >ผนังก่ออิฐมวลเบา Q-CON มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันเสียงได้ดี ภาพ: ผนังก่ออิฐมวลเบา Q-CON มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันเสียงได้ดี >. >## 6) ควรเลือกใช้อิฐมวลเบาที่มีความหนาเท่าใดจึงจะแข็งแรงทนทาน >ความหนาที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดคือ 7.5 ซม. และ 7.0 ซม. แต่ตามมาตรฐาน มอก. ได้รับรองอิฐมวลเบาที่มีความหนาตั้งแต่ 7.5 ซม. ขึ้นไป ซึ่งพบว่าอิฐมวลเบาหนา 7.5 ซม. จะมีความแข็งแรงและรับแรงได้มากกว่า ส่งผลให้เกิดการแตกร้าวน้อยกว่า ในการทำผนังให้ได้ความหนามาตรฐานทั่วไปที่ 10 ซม. พบว่าอิฐมวลเบาหนา 7.0 ซม. ต้องใช้การฉาบที่หนากว่า ส่งผลให้ทำงานได้ช้ากว่า และสิ้นเปลืองปูนฉาบมากกว่า >. >## 7) อิฐมวลเบา Q-CON แข็งแรงจริงหรือไม่ สามารถ ตอก ยึด แขวนสิ่งของได้หรือไม่ >จากการทดสอบโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อิฐมวลเบา Q-CON มีค่ากำลังอัดถึง 35 ksc (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) โดยมากกว่าอิฐมอญถึง 2 เท่า จึงสามารถแขวนของหนัก ๆ ได้ โดยต้องเลือกใช้พุกและดอกสว่านที่เหมาะสม (เลือกเบอร์เดียวกัน) รวมถึงเจาะผนังอย่างถูกวิธี (ห้ามคว้าน) >๐ พุกพลาสติก สามารถรับน้ำหนักต่อจุดได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม >๐ พุกโลหะ สามารถรับน้ำหนักต่อจุดได้ไม่เกิน 50 กิโลกรัม >ผนังก่ออิฐมวลเบาสามารถแขวนของหนักได้ ภาพ: ผนังก่ออิฐมวลเบาสามารถแขวนของหนักได้ โดยการเลือกใช้พุกและดอกสว่านให้เหมาะสมกับการรับน้ำหนักของที่แขวน >. >## 8) สามารถใช้อิฐมวลเบา Q-CON ก่อเป็นผนังห้องน้ำได้หรือไม่ >ได้ เพราะอิฐมวลเบา Q-CON มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำต่ำ จึงสามารถใช้เป็นผนังห้องน้ำหรือผนังภายนอกอาคารได้ตามปกติ โดยทำขอบปูนตามแนวก่อผนังสูงขึ้นมาจากพื้นอย่างน้อย 10 ซม. และทาน้ำยากันซึมบนพื้นต่อเนื่องมาที่ขอบปูน >text ภาพ: ผนังห้องน้ำควรทำขอบปูนสูงอย่างน้อย 10 ซม. และทาน้ำยากันซึมบนพื้นต่อเนื่องมาที่ขอบปูน >. >## 9) วิธีการก่ออิฐมวลเบา Q-CON เหมือนการก่ออิฐมอญหรือไม่ >ไม่เหมือน เพราะการก่อผนังด้วยอิฐมวลเบา Q-CON ต้องใช้ปูนก่อสำหรับคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นปูนกาว และใช้เกรียงสำหรับก่ออิฐมวลเบาโดยเฉพาะเช่นกัน ส่วนอิฐมอญใช้ปูนทราย และใช้เกรียงใบโพธิ์ในการก่อ >เกรียงก่ออิฐมวลเบา ภาพ: เกรียงก่ออิฐมวลเบา >. >## 10) การก่ออิฐมวลเบาจำเป็นต้องมีเหล็กหนวดกุ้งเหมือนอิฐมอญหรือไม่? >ในการก่ออิฐมวลเบายึดกับเสา สามารถเลือกใช้ได้ทั้งเหล็กหนวดกุ้งและ Metal Strap เพื่อช่วยลดรอยแตกร้าวระหว่างโครงสร้างหลักของอาคารกับผนัง หากใช้เหล็กหนวดกุ้งโดยรวมแล้วจะมีขั้นตอนการทำงานที่มากกว่า แต่หากใช้ Metal strap จะสามารถยึดอิฐมวลเบาเข้ากับเสาโดยใช้ตะปูตอกได้เลย ช่วยประหยัดเวลาการก่อสร้าง >METAL STRAP Q-CON ภาพ: เหล็กจับมุมอิฐมวลเบา METAL STRAP Q-CON >การใช้งาน METAL STRAP Q-CON ภาพ: การใช้งาน METAL STRAP Q-CON >. >## 11) การก่อผนังอิฐมวลเบา Q-CON จะต้องเทเสาเอ็น/คานเอ็นเหมือนอิฐมอญหรือไม่? >ต้องเทเสาเอ็น/คานเอ็นเหมือนอิฐมอญ แต่สามารถเพิ่มระยะห่างระหว่างเสาเอ็นได้มากกว่า การเลือกใช้อิฐมวลเบาที่มีความหนาขึ้นจะสามารถก่อผนังได้พื้นที่มากขึ้น โดยไม่ต้องมีการหล่อเสาเอ็น/ทับหลัง คสล. เพื่อเสริมความแข็งแรงเพิ่มอีก ดังตาราง >text >. >สำหรับผนังที่มีช่องเปิดประตู-หน้าต่าง กรณีอิฐมวลเบา Q-CON หนา 7.5 ซม. ให้ทำเสาเอ็นทับหลัง คสล.ทุกมุม และรัดรอบวงกบช่องเปิดเช่นเดียวกับอิฐมอญ ยกเว้นผนังหุ้มท่อ และกล่องเสาโชว์ที่มีความกว้างรวมกันทุกด้านไม่เกิน 1.5 เมตร หากอิฐมวลเบา Q-CON หนา 10 ซม.ขึ้นไป ที่บริเวณช่องเปิดเราสามารถใช้คานทับหลังเพียงท่อนเดียววางเหนือวงกบช่องเปิดได้ >ทั้งนี้ Q-CON มีผลิตภัณฑ์คานทับหลังสำเร็จรูป (Q-CON Lintel) ใช้แทนการหล่อคานทับหลังที่หน้างานได้ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการก่อสร้าง มีให้เลือกใช้หลายความหนาตามขนาดของอิฐมวลเบา ตั้งแต่หนา 7.5-25 ซ.ม. และมีความยาวตั้งแต่ 0.80-3.60 เมตร ตามขนของช่องเปิด >Q-CON Lintel ภาพ: คานทับหลังสำเร็จรูป (Q-CON Lintel) >การใช้คานทับหลังสำเร็จรูป ภาพ: การใช้คานทับหลังสำเร็จรูป (Q-CON Lintel) กับอิฐมวลเบา Q-CON >ตัวอย่าง ภาพ: ตัวอย่างการใช้คานทับหลังสำเร็จรูป (Q-CON Lintel) >. >## 12) ทำไมอิฐมวลเบา Q-CON จึงคุ้มค่ากว่าอิฐมอญ? >๐ วัสดุคุณภาพ เพราะอิฐมวลเบา Q-CON เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาที่มีมาตรฐานสูงด้วยวัสดุคุณภาพที่ผลิตจากเทคโนโลยีเยอรมัน ภายใต้การอบไอน้ำความดันสูงจนกระทั่งเนื้อวัสดุเป็นผลึกที่แข็งแรงและเบา ส่วนอิฐมอญผลิตจากดินเหนียวที่ตัดให้ได้ขนาดแล้วนำเข้าเตาเผา >๐ น้ำหนักเบา เพราะอิฐมวลเบา Q-CON น้ำหนักเบากว่าอิฐมอญถึง 2 เท่า (อิฐมวลเบา 90 กก./ ตร.ม. ส่วนอิฐมอญ 180 กก./ ตร.ม.) ช่วยลดขนาดโครงสร้างอาคารได้ >๐ ก่อผนังได้เร็ว เพราะอิฐมวลเบา Q-CON ก่อผนังได้เร็วกว่าอิฐมอญ 3-5 เท่า (อิฐมวลเบา 20-25 ตร.ม./ วัน ส่วนอิฐมอญ 5-8 ตร.ม./ วัน) ช่วยลดเวลาการก่อสร้าง >๐ ก่อและฉาบบางกว่า เพราะอิฐมวลเบา Q-CON ก่อและฉาบผนังบางกว่าอิฐมอญ (อิฐมวลเบา ก่อบาง 2 มม. ฉาบบาง 1 ซม. ส่วนอิฐมอญ ก่อหนา 1.5 ซม. ฉาบหนา 2 ซม.) ช่วยประหยัดค่าวัสดุในการก่อและฉาบ >๐ ประหยัดค่าไฟ เพราะอิฐมวลเบา Q-CON มีคุณสมบัติความเป็นฉนวนมากกว่าอิฐมอญ 4-10 เท่า ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30% >๐ กันเสียงได้ เพราะอิฐมวลเบา Q-CON มีรูพรุนทำหน้าที่เป็นฉนวนกันเสียงในตัวได้ดี สามารถกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญ >๐ ปลอดภัยกว่าเมื่อเกิดไฟไหม้อาคาร เพราะอิฐมวลเบา Q-CON ทนไฟได้นานกว่า 4 ชั่วโมง ส่วนอิฐมอญสามารถทนไฟได้เพียง 1–1.5 ซม. เท่านั้น >. >สนใจ อิฐมวลเบา Q-CON คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >อ่านเพิ่มเติม: อิฐมอญ VS อิฐมวลเบา ใช้อะไรสร้างบ้านดี ?\{.newtab} >อ่านเพิ่มเติม: 7 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิฐมวลเบา Q-CON ที่หลายคนยังไม่รู้\{.newtab}
หลังคา Skylight เป็นที่ชื่นชอบของหลายคนเพราะนอกจากจะสวยดูดีแล้ว ยังรับแสงธรรมชาติที่ช่วยสร้างบรรยากาศสดชื่นภายในบ้านได้ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในประเทศไทยที่มีแสงแดดร้อนแรงแบบนี้ เจ้าของบ้านหลายคนก็ลังเลใจที่จะติดตั้งหลังคา Skylight ไว้ในบ้าน ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังพอมีวิธีที่จะช่วยลดความร้อนได้อยู่บ้าง นั่นคือ... > 1) ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงากับหลังคา Skylight > หากยังพอมีพื้นที่ว่างเพียงพอ เจ้าของบ้านอาจเลือกปลูกต้นไม้ใหญ่หรือต้นไม้ทรงสูงในทิศทางที่ช่วยบังแดด เพื่อสร้างร่มเงาช่วยป้องกันแสงแดดและความร้อนที่จะส่องเข้ามายังหลังคา > 2) เลือกวัสดุหลังคาโปร่งแสงที่ช่วยกรองแสง ลดความร้อนได้ > หลังคาโปร่งแสง\{.newtab}ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุกระจก ไฟเบอร์กลาส หรืออะคริลิก จะมีทั้งรุ่นที่ช่วยลดร้อนและช่วยกรองแสง ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเลือกรูปแบบ สี และความขุ่นตามความเหมาะสม ที่สำคัญควรออกแบบและติดตั้งโดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย > หลังคาโปร่งแสงแบบหลังคาใส ภาพ: ตัวอย่างหลังคา skylight จากวัสดุหลังคาโปร่งแสงแบบใส > หลังคาโปร่งแสงแบบลูกฟูก ภาพ: ตัวอย่าง skylight จากวัสดุหลังคาโปร่งแสงแบบลูกฟูก > หลังคาโปร่งแสงแบบลอน ภาพ: ตัวอย่าง skylight จากวัสดุหลังคาโปร่งแสงแบบลอน > เลือกซื้อแผ่นหลังคาโปร่งแสง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 3) ติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกสำหรับหลังคา Skylight > ฟิล์มกรองแสงเป็นอีกตัวช่วย กรองแสงแดด แสง UV และความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิล์มกันร้อนสำหรับติดตั้งภายนอกแบบคุณภาพสูง จะกันร้อนได้ดีกว่าฟิล์มที่ติดตั้งภายใน เนื่องจากตัวฟิล์มจะช่วยกันความร้อนตั้งแต่ด้านนอก ทำให้ความร้อนที่ส่งผ่านกระจกและถ่ายเทเข้ามาภายในห้องของเราลดลง ตอบโจทย์สำหรับหลังคา Skylight และผนังกระจก Glass House ที่ไม่สะดวกจะติดม่านบังแดด > ค่าการประหยัดแอร์ ประหยัดไฟของฟิล์มติดภายนอก ภาพ: ตัวอย่างการกันความร้อนของฟิล์มสำหรับติดตั้งภายนอกคุณภาพสูง เมื่อเทียบกับฟิล์ม Nona Ceramic ทั่วไป > ทั้งนี้ การติดตั้งฟิล์มที่แผ่นกระจกสำหรับหลังคา Skylight เจ้าของบ้านควรหารือกับทีมช่างผู้รับเหมาในเรื่องขั้นตอน กรณีเป็นบ้านสร้างใหม่ การติดตั้งฟิล์มให้เสร็จก่อนนำกระจกขึ้นติดตั้งเป็นหลังคาอาจสะดวกกว่า โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ฟิล์มติดตั้งภายนอก ในทางกลับกัน หากเป็นหลังคา Skylight ที่มีอยู่แล้ว การติดตั้งฟิล์มภายนอกเพื่อกันร้อน จะต้องดูความเป็นไปได้เรื่องโครงสร้างหลังคา Skylight ว่าสามารถรับน้ำหนักขณะที่ช่างขึ้นไปติดตั้งฟิล์มได้หรือไม่ บางกรณีอาจต้องหันมาใช้ฟิล์มกันร้อนแบบติดตั้งภายในแทน เป็นต้น > 4) ติดตั้งหลังคาพับได้สำหรับ Skylight > จะมีโครงยึดที่ขอบเฟรมหลังคา Skylight พร้อมผ้าใบที่สามารถม้วนเปิดปิดเพื่อกันแดดกันฝนตามต้องการ ควบคุมได้ด้วยรีโมท สร้างความสะดวกสบายและลดร้อนให้กับหลังคา Skylight โดยไม่ทำลายบรรยากาศในบ้านและความสวยงามในภาพโดยรวมของหลังคา ตัวบ้านและอาคาร > หลังคาพับได้สำหรับ Skylight พร้อมรีโมท ภาพ: ตัวอย่างหลังคาพับได้สำหรับ Skylight ควบคุมด้วยรีโมท > สนใจ ติดตั้งหลังคาพับได้สำหรับ Skylight คลิก\{.button .newtab} {.centered} > จะเห็นได้ว่า เจ้าของบ้านที่ชื่นชอบการทำหลังคา Skylight ไว้ในบ้าน ยังพอมีทางออกที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ โดยอาจเลือกใช้วิธีผสมผสานกัน ทั้งนี้หากยังอยู่ในขั้นตอนออกแบบ เจ้าของบ้านอาจปรึกษานักออกแบบเพื่อดูทิศทางแดดที่แดดจะส่องโดนหลังคา Skylight ให้น้อยที่สุด โดยอาจเลือกเป็นทิศเหนือ หรือทิศที่ได้ร่มเงาจากสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารข้างเคียง ก็จะเป็นอีกทางที่ช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้มากยิ่งขึ้น > อ่านเพิ่มเติม: กันสาด/ม่านม้วน/กันสาดพับได้ หลากทางเลือกกันแดดฝน ลดร้อน เป็นส่วนตัว\{.newtab}
รีวิวปัญหาหลังคารั่วฉบับบ้านทาวน์เฮาส์ ที่จัดการให้หายขาดได้ด้วย บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up Roof) โดยทีมช่าง SCG พร้อมรับประกัน 1 ปี >ปัญหาหลังคารั่วในหน้าฝนที่มาปั่นป่วนความสงบสุขในบ้าน หากจะซ่อมแซมจบในระยะยาวได้จะต้องพึ่งการซ่อมที่มีประสิทธิภาพโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะหลังคาบ้านทาวน์เฮาส์จะทำได้ยากกว่าบ้านเดี่ยว ด้วยหลังคาที่เชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกันกับบ้านหลังอื่น การซ่อมแซมโดยไม่ให้กระทบกับหลังคาของเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันจึงต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ >สำหรับประสบการณ์ซ่อมหลังคารั่วทาวน์เฮาส์ที่จะรีวิวในวันนี้ เป็นบ้านทาวน์เฮาส์ของคุณปริญญา จารุมโนกุล ที่อยู่อาศัยมาย่างเข้าปีที่ 6 หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: รอยด่างคราบน้ำบนฝ้าเพดาน ที่เกิดจากปัญหาหลังคารั่วซึม สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## ทาวน์เฮาส์หลังนี้ ซ่อมหลังคารั่วทุกปี >จุดเริ่มต้นปัญหาหลังคารั่วซึมของบ้านทาวน์เฮาส์หลังนี้ เกิดขึ้นหลังจากเข้าอยู่อาศัยได้ 3 ปี จากนั้นก็ต้องทำการซ่อมหลังคารั่วทุกปี โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนักพายุพัดแรง จะมีน้ำรั่วซึมหยดลงที่ชั้นสามของบ้านซ้ำแล้วซ้ำเล่า “หลังคารั่วที ก็ให้ช่างแถวหมู่บ้านมาซ่อม วิธีซ่อมคือทาสีกันซึมบริเวณรอยรั่ว อยู่ไปไม่นานก็กลับมารั่วซ้ำอีก แก้ไม่จบ” คุณปริญญา เจ้าของบ้าน เล่าประสบการณ์ซ่อมหลังคารั่วบ้านทาวน์เฮาส์ที่กันรั่วได้เพียงหน้าฝนเดียว แล้วก็ต้องกลับมาซ่อมใหม่กันทุกปี หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: บ้านทาวน์เฮาส์กับหลังคาที่ติดเป็นผืนเดียวกันกับเพื่อนบ้าน หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: หลังคาที่ผ่านการซ่อมด้วยการทาสีกันซึมเฉพาะจุด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาหลังคารั่วแบบชั่วคราว และมักกลับมารั่วซึมอีกในไม่ช้า สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## เปลี่ยนวิธีซ่อมหลังคารั่ว จบชัวร์ได้ มั่นใจยาว >“เคยซ่อมหลังคารั่วด้วยวิธีทาสีกันซึมมาหลายรอบแล้วก็ไม่หาย กังวลมาก อยากหาวิธีที่ซ่อมแล้วจบในระยะยาว เพราะเราไม่อยากต้องคอยแก้ปัญหาหลังคารั่วเดิมๆ กันทุกปี” คุณปริญญากล่าวถึงวิธีซ่อมหลังคารั่วแบบเดิมที่แก้ปัญหาไม่หายขาด จึงเริ่มหาแนวทางการแก้ไขอื่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนมาพบกับบริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) จาก SCG Roof Renovation ที่ใช้แผ่นเมทัลชีทมุงทับแนบไปหลังคาลอนคู่ของเดิม เป็นการป้องกันอีกชั้น ช่วยให้มั่นใจเรื่องการแก้ปัญหาหลังคารั่วซึมได้มากขึ้น หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: แผ่นเมทัลชีทรูปลอนเดียวกับกระเบื้องหลังคาลอนคู่ สำหรับใช้วางแนบกับกระเบื้องหลังคาของเดิม สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## บริการซ่อมหลังคารั่ว Top Up roof ตอบโจทย์ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม >คุณปริญญากล่าวถึงประสบการณ์ที่ได้รับเมื่อใช้บริการ Top Up Roof จาก SCG Roof Renovation ว่า “เคยลองซ่อมแบบอื่นแล้วไม่หายขาด พอได้รู้จักบริการ Top Up Roof ก็ดูน่าสนใจมาก เขาใช้วัสดุมุงทับกระเบื้องเดิมลงไปเลย ไม่ต้องรื้อหลังคาเก่า เป็นวิธีซ่อมหลังคารั่วสำหรับทาวน์เฮาส์โดยเฉพาะ ทีมติดตั้งเป็นช่างมืออาชีพจาก เอสซีจี และยังรับประกันงานติดตั้ง 1 ปีด้วย” บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) เริ่มด้วยขั้นตอนสำรวจ โดยจะมีทีม Site Consultant เข้ามาสำรวจหลังคาและประเมินผลผ่านภาพถ่ายทางโดรน ทำให้เห็นภาพหลังคาในมุมกว้างครอบคลุมทั้งหมด จากนั้นจะนำข้อสรุปปัญหาและวิธีแก้ไขมานำเสนออย่างชัดเจนพร้อมราคา หลังตกลงรับบริการก็นัดวันซ่อมตามที่สะดวกได้เลย >“ระหว่างที่ช่างกำลังทำงานเราก็ยังอยู่ในบ้านได้ตามปกติ ทีมช่างจะทำงานอยู่แต่นอกบ้านเท่านั้น โดยใช้เครนหรือนั่งร้านขึ้นไปบนหลังคา มีความปลอดภัยสูง ไม่ไปรุกล้ำสร้างความเสียหายให้กับเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ที้นี้พอไม่ต้องรื้อกระเบื้องเก่าหน้างานก็สะอาด ไม่มีเศษฝุ่นเศษกระเบื้องร่วงหล่นเข้าในบ้าน” คุณปริญญากล่าว หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: การยึดติดตั้งแผ่นเมทัลชีททับบนหลังคาทาวน์เฮาส์เดิม ในบริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) โดยทีมช่าง SCG สนใจ บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof)\{.button .newtab} {.centered} >## ทาวน์เฮาส์หลังคารั่วแก้ได้ จบปัญหาง่ายด้วย Top Up Roof >หลังจากใช้บริการแล้วเกิดความประทับใจ คุณปริญญาเลยอยากแนะนำสำหรับเจ้าของบ้านทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ท่านอื่นที่เผชิญปัญหาหลังคารั่ว บริการ Top Up Roof คิดค้นมาเพื่อแก้ปัญหาหลังคารั่วสำหรับทาวน์เฮาส์โดยเฉพาะ จบปัญหาได้ในระยะยาว เราไม่ต้องมาคอยปวดหัวแก้ปัญหาเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ และยังมีรับประกันการติดตั้งให้นาน 1 ปี จึงมั่นใจได้มากกว่าช่างทั่วๆ ไป หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: หลังจากใช้บริการซ่อมรั่วหลังคาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม (Top Up roof) เสร็จเรียบร้อย หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่วscg Top Up Roof >ภาพ: คุณปริญญา จารุมโนกุล เจ้าของบ้าน ผู้อนุเคราะห์ข้อมูลในการรีวิวครั้งนี้) สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รีวิวประสบการณ์จริง จากปัญหาหลังคารั่วซึมเนื่องจากการมุงกระเบื้องไม่ถูกวิธี สู่บริการซ่อมหลังคารั่วโดยทีมช่าง SCG ที่วางใจได้ในเรื่องคุณภาพบริการ ซ่อมแซมได้ตรงจุด หมดปัญหารั่วซ้ำซาก >ปัญหาหลังคารั่วซึมจะแก้ให้หายขาดได้อย่างไร ? SCG HOME ขอถ่ายทอดด้วยรีวิวจากประสบการณ์จริง ของคุณกฤษณ์ ภักดีศรีศักดา หนึ่งในเจ้าของบ้านผู้รับบริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG Roof Renovation >คุณกฤษณ์เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ในอดีตว่า ตอนที่สร้างบ้านได้เลือกใช้กระเบื้องหลังคาของ SCG คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร แต่แล้วก็เกิดปัญหาหลังคารั่วซึมเมื่ออายุของบ้านย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ปี “เราสังเกตเห็นว่าเวลาฝนตกจะมีน้ำรั่วลงมาจากฝ้าเพดานชั้น 2 ซึ่งตรงกับห้องนอนพอดี ยิ่งถ้าฝนตกตอนกลางคืนก็จะต้องตื่นมารองน้ำซับน้ำตลอด สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตอย่างมาก” ซ่อมหลังคารั่ว scg แก้ปัญหาหลังคารั่ว >ภาพ: คุณกฤษณ์ ภักดีศรีศักดา เจ้าของบ้าน ผู้รีวิวประสบการณ์รับบริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG Roof Renovation ในครั้งนี้ >## ซ่อมหลังคารั่ว คิดถึง SCG >“ผมใช้กระเบื้องหลังคาของ SCG คิดว่าผู้ผลิตน่าจะรู้ดีที่สุด เลยติดต่อขอคำแนะนำโดยตรง ก็ได้ทราบว่ามีบริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG Roof Renovation ผมจึงเลือกใช้เพราะไม่อยากเสี่ยงกับช่างซ่อมหลังคาทั่วไป” ทาง SCG ได้ส่งทีมช่างเข้ามาประเมินสภาพหลังคาบ้านของคุณกฤษณ์ มีการสำรวจโดยใช้ภาพถ่ายทางโดรนทำให้เห็นหลังคาพร้อมจุดชำรุดครอบคลุมทั่วทั้งผืน สามารถอธิบายปัญหาหลังคารั่วซึมได้อย่างละเอียด โดยนำมาสรุปเป็นข้อมูลให้เจ้าของบ้านรับทราบพร้อมค่าใช้จ่ายทั้งหมด >“พอทีมงาน SCG เข้ามาสำรวจหน้างานให้ผม ก็พบว่าปัญหาหลังคารั่วซึมครั้งนี้เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เข้าใจเลยว่าหลังคาบ้านของเรานอกจากจะเลือกวัสดุที่ดีที่สุดแล้ว ความชำนาญของช่างก็มีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้หลังคาอยู่ได้อย่างไร้ปัญหา” คุณกฤษณ์กล่าว สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## บริการซ่อมหลังคารั่วจาก SCG สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องย้ายออก >การซ่อมหลังคารั่วครั้งนี้ เน้นแก้ไขบริเวณครอบหลังคาและครอบตะเข้สัน โดยรื้อกระเบื้องครอบของเดิมออกทั้งหมด มีการใช้ระบบครอบหลังคาแบบแห้ง (Drytech System) ซึ่งเป็นแผ่นใยสังเคราะห์อย่างดี ปิดทับรอยต่อที่กระเบื้องมาชนกันตลอดแนวสันหลังคา จากนั้นจึงนำกระเบื้องครอบชุดใหม่ติดตั้งทับลงไป (ช่วยป้องกันรั่วซึมได้ดีกว่าระบบครอบแบบเปียกที่ใช้ปูนและมีโอกาสแตกร้าวรั่วซึมได้หากติดตั้งผิดวิธี) หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg อุดรอยรั่วหลังคา แก้ปัญหาหลังคารั่ว ครอบหลังคาแบบแห้ง ดรายเท็ค drytech system >ภาพ: ตัวอย่างชุดอุปกรณ์ของระบบครอบหลังคาแบบแห้ง (Drytech System) >คุณกฤษณ์เล่าว่า “ช่างก่อสร้างทั่วไปจะไม่มีการแจ้งแผนการทำงานให้เรารู้ ต้องคอยลุ้นเองว่าจะงานเสร็จเมื่อไหร่ เสี่ยงเรื่องการทิ้งงานและเข้างานไม่ตรงเวลาอีกด้วย บางทีก็กลัวว่าจะเกิดปัญหาเลยต้องลางานเข้ามาดูเอง ในขณะที่ทีมช่างของ SCG นั้น ก่อนเริ่มงานจะมีการส่งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับเตรียมซ่อมหลังคา พร้อมแจ้งให้เจ้าของบ้านรับทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาทำงานอย่างละเอียด สามารถเห็นภาพรวมการซ่อมหลังคารั่วได้ชัดเจน” สายพานลำเลียงกระเบื้องหลังคา หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg >ภาพ: ระบบการทำงานซ่อมหลังคารั่วของ SCG ที่มีการลำเลียงกระเบื้องด้วยสายพานเพื่อความรวดเร็วและลดการแตกหัก (ซ้าย) ดำเนินงานโดยช่างผู้ชำนาญ (ขวาบน) และมีการสื่อสารกับเจ้าของบ้านอย่างชัดเจน (ขวาล่าง) >และอีกความพิเศษของบริการ SCG Roof Renovation คือทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านได้ตามปกติ โดยช่างจะทำงานแต่ภายนอกบ้านเท่านั้น ไม่ได้มารบกวนพื้นที่ในบ้าน และไม่ต้องกังวลว่าจะมีฝุ่นผง สิ่งสกปรกอันตรายต่างๆ เข้ามาในบ้านแต่อย่างใด ในวันที่ทำการซ่อมหลังคา สมาชิกในบ้านคุณกฤษณ์ทั้งผู้สูงอายุและเด็กๆ ยังคงทำกิจวัตรประจำวันได้ หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg >ภาพ: มุมภาพจากโดรน แสดงการทำงานของช่างขณะดำเนินการซ่อมหลังคารั่ว ซึ่งระหว่างนั้น เจ้าของบ้านสามารถดำเนินกิจกรรมในบ้านได้ตามปกติ >นอกจากนี้คุณกฤษณ์ยังประทับใจเรื่องความใส่ใจและเข้าใจในความต้องการของเจ้าของบ้าน ตอนแรกกลัวจะซ่อมหลังคาเสร็จไม่ทัน เพราะเป็นหน้าฝนซึ่งต้องเสี่ยงกับพายุฝนและหลังคารั่วซึมหนักกว่าเดิม แต่ก็พบว่าทีมช่างได้เตรียมพร้อมอย่างดี เมื่อฝนตกจะนำผ้าใบและพลาสติกมาคลุมส่วนที่กำลังก่อสร้าง ป้องกันไม่ให้น้ำหยดเข้าตัวบ้าน คุณกฤษณ์เล่าถึงประสบการณ์ตรงนี้ว่า “การซ่อมหลังคารั่วช่วงหน้าฝน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าช่างของเราเตรียมพร้อมเสมอก็สามารถซ่อมได้ ไม่มีปัญหาอะไรครับ” สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ซ่อมหลังคารั่วฉบับ Safety First ปลอดภัย มั่นใจ >“ผมรู้สึกว่า SCG Roof Renovation ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยอย่างมาก ทั้งสำหรับเจ้าของบ้าน สมาชิกในบ้าน เพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมถึงตัวทีมช่างเองด้วย โดยช่างจะใส่อุปกรณ์ Safety ครบชุด ระหว่างที่ช่างทำงาน คุณแม่ และลูกๆ ก็สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับอันตราย หลังจบงานแต่ละวันยังมีการทำความสะอาดให้อีกด้วย” คุณกฤษณ์กล่าว อุปกรณ์Safety ความปลอดภัย หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg >ภาพ: ขณะดำเนินการซ่อมหลังคารั่ว ทีมช่างจะใส่อุปกรณ์ Safety เพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอ สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ซ่อมหลังคารั่วได้มาตรฐาน จบปัญหายาวนาน >“เห็นได้ชัดว่าบริการของ SCG Roof Renovation ต่างจากบริการติดตั้งปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาทั่วไป เนื่องจากทีมช่างของ SCG ผ่านการอบรมตามมาตรฐานบริษัท มีประสบการณ์และทักษะการทำงานเป็นมืออาชีพสูง ซ่อมหลังคาได้อย่างละเอียดราบรื่น ใช้เวลาไม่นาน จึงมั่นใจได้ในคุณภาพการบริการ” >คุณกฤษณ์กล่าวต่อว่า “หากมีโอกาสแนะนำเพื่อนหรือใครก็ตามที่อยากซ่อมหลังคาบ้าน ก็อยากแนะนำให้ใช้บริการ SCG Roof Renovation เพราะทีมช่างดูแลบ้านเราดีมาก ทำงานเร็ว มีระบบขั้นตอนชัดเจน ปลอดภัย และเรียบร้อย เราเองก็อยู่บ้านในได้ไม่ต้องย้ายออก ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลามาซ่อมหลังคารั่วทุกหน้าฝนอีกต่อไป” หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว scg แก้ปัญหาหลังคารั่ว กระเบื้องเอ็กเซลล่า excella หลังคาเอ็กเซลล่า-กระเบื้องหลังคาเซรามิก กระเบื้องexcella >ภาพ: หลังคาบ้านของคุณกฤษณ์ ภักดีศรีศักดา หลังจากดำเนินการซ่อมหลังคารั่วเสร็จเรียบร้อย ดูสวยงามกลมกลืนตลอดทั้งผืนโดยไม่เห็นความต่างระหว่างกระเบื้องหลังคาของเดิมกับกระเบื้องครอบของใหม่ (ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของกระเบื้องหลังคาเซรามิก) สนใจ บริการปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เจ้าของบ้านสามารถซื้อฉนวนกันความร้อน SCG STAY COOL ด้วยตัวเอง เพิ้อให้ช่างทั่วไปที่เจ้าของบ้านใช้บริการอยู่ นำฉนวนขึ้นไปติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุดได้ โดยปฏิบัติตามวิธีติดตั้งจากคู่มือ รวมถึงตรวจสอบสภาพโถงหลังคาว่าเหมาะที่จะติดตั้งฉนวนหรือไม่ > ก่อนจะซื้อฉนวนกันความร้อนมาติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุด เพื่อกันความร้อนจากหลังคา ควรตรวจสภาพโถงหลังคาให้แน่ใจว่าติดตั้งได้จริง และไม่เกิดปัญหาเมื่อใช้งานดังต่อไปนี้ 1) ฝ้าเพดานสภาพดี เรียบ ได้ระดับ > ฝ้าไม่แอ่น ไม่มีคราบช้ำน้ำบนฝ้า ในโถงหลังคาไม่มีคราบน้ำตามโครงสร้างที่แสดงปัญหาหลังคารั่วซึม (หากหลังคารั่วต้องซ่อมก่อนจึงจะติดตั้งฉนวนได้) > 2) มีช่องเซอร์วิสให้ช่างขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ > ขนาดช่องเซอร์วิส ไม่ต่ำกว่า 60x60 ซม. สามารถเปิดขึ้นไปทำงานด้านบนฝ้าได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง Singleimage ช่อง Service-ช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานเพื่อขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG ภาพ: ตัวอย่างช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน > 3) โครงคร่าวฝ้าแข็งแรง สมบูรณ์ รองรับน้ำหนักฉนวนกันความร้อน SCG STAY COOL ได้ > โครงคร่าวต้องไม่ผุ ไม่มีปลวก รับน้ำหนักฉนวนได้ ฉนวนหนา 75 มม. น้ำหนัก 1.13 กก./ตร.ม. ฉนวนหนา 150 มม. น้ำหนัก 2.06 กก./ตร.ม. > 4) ภายในโถงหลังคา มีระยะสูงพอให้ทำงานได้สะดวก > ระยะจากฝ้าถึงหลังคา ≥ 1.5 ม. ความสูงจากหลังคานลงมาถึงฝ้า ≤ 40 ซม. Singleimage ความสูงในโถงหลังคาที่ช่างปูฉนวนกันความร้อน SCG ได้ ภาพ: ช่างกำลังติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG ภายในโถงหลังคา > 5) สายไฟเหนือฝ้ามีสภาพดีและเรียบร้อย > สายไฟทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หากมีส่วนชำรุดให้แก้ไขซ่อมแซมก่อน และสายไฟทั้งหมดต้องร้อยอยู่ในท่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย > เมื่อเจ้าของบ้านสำรวจรายละเอียดและสภาพโถงหลังคาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องกะปริมาณฉนวนที่จะสั่งซื้อ ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยนำขนาดพื้นที่ฝ้าชั้นบน หารด้วย 2.4 (ฉนวน 1 ม้วน ปูได้ 2.4 ตร.ม.) หากเหลือเศษให้ปัดขึ้น Singleimage คำนวณพื้นที่เพื่อกะจำนวนซื้อฉนวนกันความร้อน SCG stay cool ภาพ: แนวทางการคำนวณปริมาณเพื่อสั่งซื้อฉนวนกันความร้อน SCG Stay Cool > อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านได้อ่านข้อมูลทั้งหมดนี้แล้วรู้สึกว่าไม่มั่นใจ รวมถึงมองว่าการตรวจสภาพโถงหลังคาและติดตั้งฉนวนบนฝ้า มีรายละเอียดเฉพาะ ก็สามารถพึ่งทีมงานผู้ชำนาญมาทำการสำรวจแทน หรือซื้อเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน SCG Stay Cool แบบพ่วงบริการติดตั้งไปเลย เพื่อความสะดวกมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซื้อฉนวนมาแล้วติดตั้งไม่ได้ เสียเงินฟรี หรือติดตั้งไปแล้วเกิดปัญหาในอนาคต > อ่านเพิ่มเติม: ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ปูทับโคมไฟดาวน์ไลท์ได้ไหม ? > อ่านเพิ่มเติม: ปูฉนวนกันความร้อนแบบไหน ให้บ้านใหม่
รู้จักและเลือกใช้รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี และอุปกรณ์ต่างๆ ให้ตอบโจทย์เรื่องการรองรับน้ำฝนจากหลังคา ให้ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วไปยังพื้นที่ที่ต้องการ รวมถึงเข้ากับสไตล์ของแต่ละบ้านได้อย่างลงตัว >รางน้ำฝนตัวช่วยรองรับน้ำฝนที่ตกลงมากระทบหลังคาให้ไหลลงสู่รางและถูกระบายออกไปอย่างรวดเร็ว ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนกลับเข้าเชิงชาย ฝ้าเพดาน ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้าน ช่วยปกป้องพื้นที่สวน รวมถึงช่วยกักเก็บน้ำฝนไปยังจุดที่เราเตรียมไว้เพื่อรองรับน้ำฝน อีกทั้งป้องกันน้ำฝนที่อาจกระเด็นไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้าน นอกจากการเลือกรางน้ำฝนให้ตอบโจทย์แล้ว การเลือกใช้ “ตะแกรงกันใบไม้” ควบคู่กับรางน้ำฝนก็จะช่วยขจัดปัญหาน้ำฝนล้นรางจากเศษใบไม้อุดตันบริเวณรางและท่อน้ำฝน นอกจากนี้ยังมี “โซ่ระบายน้ำฝนไวนิล” ที่เหมาะกับพื้นที่ปลูกต้นไม้ โรยหินกรวดตกแต่ง หรือส่วนที่เป็นบ่อน้ำในสวนอีกด้วย สนใจ รางน้ำฝนไวนิล SCG พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี เลือกแบบไหนดี? >รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ไม่ลามไฟ ไม่เป็นสนิม น้ำหนักเบา มีให้เลือก 2 รุ่นคือ >1. รุ่นเดอลุกซ์ ซึ่งขอบด้านในและด้านนอกสูงเท่ากัน มีสีขาวเท่านั้น >2. รุ่นสมาร์ท (หรือรางน้ำฝนรูปทรง ป.ปลา) มีขอบด้านนอกสูงกว่าด้านในเพื่อป้องกันน้ำฝนกระเด็นออกนอกราง ช่วยป้องกันน้ำกระเด็นไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ดีกว่า มี 3 สีให้เลือกคือ สีขาว สีน้ำตาลเข้ม และสีเทา >อ่านเพิ่มเติม: วิธีเลือกรางน้ำฝน Single Image รางน้ำฝนไวนิล รางน้ำ SCG รุ่นเดอลุกซ์ Deluxe รุ่นสมาร์ท Smart >ภาพ: รูปตัดของรางน้ำไวนิล เอสซีจี รุ่นเดอลุกซ์ (ซ้าย) และรุ่นสมาร์ท (ขวา) Single Image ระบบ Overflow กันน้ำล้น รางน้ำSCG รุ่นสมาร์ท Smart >ภาพ: รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี รุ่นสมาร์ท ถูกออกแบบให้มีระบบ Over Flow ที่ฝาปิดปลายรางโค้งเว้า กรณีมีการอุดตันน้ำจะล้นออกทางฝาปิดปลายรางนี้ นอกจากจะเป็นสัญญาณเตือนให้เจ้าของบ้านทราบว่ามีสิ่งอุดตันที่ท่อระบายของรางน้ำแล้ว ยังช่วยป้องกันน้ำไหลย้อนเข้าสู่เชิงชายและฝ้าเพดานของบ้านอีกด้วย Single Image รางน้ำฝนไวนิล SCG รุ่นเดอลุกซ์ Deluxe >ภาพ: รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี รุ่นเดอลุกซ์ Single Image รางน้ำ SCG รุ่นสมาร์ท Smart >ภาพ: รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี รุ่นสมาร์ท >*Tips: แนะนำให้ติดตั้งรางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี กับหลังคาที่มีการติดตั้งเชิงชายเรียบร้อยแล้ว โดยมีระยะยื่นปลายกระเบื้องหลังคา 7-9 ซม. สำหรับรุ่นเดอลุกซ์ และระยะยื่น 8-10 ซม. สำหรับรุ่นสมาร์ท สนใจ รางน้ำฝนไวนิล SCG พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## แก้ปัญหาน้ำฝนล้นรางจากเศษใบไม้อุดตันด้วยตะแกรงกันใบไม้ไวนิล >การติดตั้งรางน้ำฝนตลอดแนวบ้าน หากมีใบไม้ตกลงไปสะสมในรางอาจทำให้เกิดการอุดตันจนระบายน้ำได้ไม่ดีจนอาจเกิดความเสียหายกับบ้านได้ การปัดกวาดเศษใบไม้และทำความสะอาดรางน้ำฝนเป็นประจำก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปัญหาแต่ต้องใช้ความระมัดระวังหรือจ้างช่างที่มีความชำนาญมาจัดการให้ อีกวิธีคือการเลือกติดตั้งตะแกรงกันใบไม้ไวนิล เอสซีจีที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับใช้คู่กับรางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี รุ่นสมาร์ท ซึ่งมีขนาดตะแกรงที่พอดีกับขนาดรางน้ำ พร้อมตะขอแขวนรางที่ออกแบบจุดยึดอย่างมั่นคง ดูต่อเนื่อง เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ทนทานต่อสภาพอากาศ จึงมั่นใจได้ว่าจะหมดปัญหาการอุดตันที่รางน้ำฝน Single Image ตะแกรงกันใบไม้ไวนิล สำหรับรางน้ำฝนไวนิล SCG รุ่นสมาร์ท Smart >ภาพ: ตะแกรงกันใบไม้ไวนิล เอสซีจี ที่ติดตั้งคู่กับรางน้ำฝนเอสซีจี รุ่นสมาร์ท >## ระบายน้ำด้วยท่อระบายน้ำฝนหรือโซ่ระบายน้ำฝนไวนิล เลือกแบบไหนดี? >เมื่อรางน้ำฝนรองรับน้ำจะส่งต่อเพื่อระบายออกไป เรามีทางเลือกคือ เลือกใช้ท่อระบายน้ำฝน หรือเลือกใช้โซ่ระบายน้ำฝน ท่อระบายน้ำฝน ช่วยระบายน้ำฝนออกจากตัวรางได้อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปทรงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะท่อระบายน้ำฝนไวนิล เอสซีจี มีทั้งรูปแบบกลมและรูปแบบเหลี่ยมให้เหมาะกับแต่ละบ้าน ซึ่งใช้ได้กับทั้งรางน้ำฝนรุ่นเดอลุกซ์และรุ่นสมาร์ท มี 2 สีให้เลือกคือ สีขาวและสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเราสามารถออกแบบปลายท่อไปยังจุดที่เราต้องการได้ เช่น ปล่อยลงสู่พื้น ปล่อยลงทางระบายน้ำรอบบ้าน ลงถัง โอ่ง หรืออ่างกักเก็บน้ำ เป็นต้น ส่วนโซ่ระบายน้ำฝนไวนิล จะช่วยชะลอความแรงของน้ำที่มาจากรางน้ำฝน รางน้ำฝนไวนิล เอสซีจี มีให้เลือก 2 รูปทรงคือ ทรงดอกโลตัสและดอกทิวลิป มีให้เลือก 2 สีคือ สีขาวและสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเราสามารถเตรียมพื้นที่ด้านล่างเป็นพื้นสนามหญ้า โอ่งน้ำ กระถางต้นไม้ พื้นโรยหินหรือกรวดตกแต่ง เป็นต้น Single Image ท่อระบายน้ำฝน รางน้ำฝนไวนิล SCG หน้าตัดกลม >ภาพ: ท่อระบายน้ำฝนไวนิล เอสซีจี รูปแบบกลม สีขาว และสีน้ำตาลเข้ม Single Image ท่อระบายน้ำฝน รางน้ำฝนไวนิล SCG หน้าตัดเหลี่ยม >ภาพ: ท่อระบายน้ำฝนไวนิล เอสซีจี รูปแบบเหลี่ยม สีน้ำตาลเข้ม Single Image ระบายน้ำจากท่อระบายน้ำฝน รางน้ำฝนไวนิล SCG >ภาพ: ตัวอย่างการออกแบบท่อระบายน้ำให้ลงตามจุดต่างๆ ที่ต้องการ เช่น ลงท่อระบายน้ำ หรือลงโอ่งเก็บน้ำ Single Image โซ่ระบายน้ำฝน โซ่รางน้ำฝน สำหรับรางน้ำฝนไวนิล SCG รุ่นสมาร์ท >ภาพ: โซ่ระบายน้ำในไวนิล เอสซีจี Single Image จุดรองรับน้ำจากโซ่ระบายน้ำฝน โซ่รางน้ำฝน SCG >ภาพ: จุดรองรับน้ำจากโซ่ระบายน้ำฝน เราสามารถเตรียมพื้นที่ด้านล่างเป็นโอ่งน้ำ หรือพื้นโรยกรวดหรือหินตกแต่ง เป็นต้น >เมื่อเราเลือกรางน้ำฝนไวนิล โซ่ระบายน้ําฝน และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ตามที่ต้องการให้สวยกลมกลืนกับบ้านแล้ว อย่าลืมเลือกทีมงานช่างคุณภาพเพื่อการติดตั้งถูกวิธีตามมาตรฐาน เพื่อให้รางน้ำฝนสามารถตอบโจทย์บ้านเราโดยเฉพาะในฤดูฝนได้เป็นอย่างดี > สนใจ รางน้ำฝนไวนิล SCG พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รีวิวจากเจ้าของบ้านที่ใช้บริการจริง กับบริการเปลี่ยนหลังคาจากทีมช่าง SCG ด้วยการรื้อกระเบื้องหลังคาเก่าชุดเดิมออกแล้วมุงด้วยกระเบื้องชุดใหม่เพื่อแก้ปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึมและสีเก่าซีด >บ้านที่เราใช้อยู่อาศัย เมื่อนานวันไปก็ย่อมมีความเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา หลังคาบ้านก็เช่นกันที่อาจจะดูเก่าโทรม หรือมีปัญหารั่ว ร้าว อีกทั้งหลังคายังเป็นส่วนที่ใครผ่านไปมาก็จะมองเห็นได้ชัดเจน หากหลังคาบ้านเก่าก็จะส่งผลกับภาพลักษณ์โดยรวมของบ้านไปด้วย Single Image หลังคาบ้านก่อนเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา >ภาพ: หลังคาบ้านก่อนปรับปรุง >เหมือนอย่างเช่นบ้านของคุณยุทธศิลป์ สุขสมทิพย์ ที่ผ่านกาลเวลามา 20 ปี คุณยุทธศิลป์จึงตัดสินใจทำการรีโนเวทบ้านทั้งหลัง ซึ่งส่วนที่อยากปรับปรุงเป็นอันดับแรกก็คือ หลังคาบ้าน เพราะดูเก่าซีด มีคราบราดำหลายจุด และมีปัญหาหลังคารั่วซึม พบคราบน้ำบนฝ้าเพดาน ซึ่งหากจะแก้ไขโดยซ่อมปิดรอยรั่วเฉพาะจุดและทาสีหลังคาใหม่ ก็มีความกังวลว่าจะไม่หายขาด เหมือนกับข้างบ้านที่แก้ไขโดยให้ช่างทั่วไปมาอุดรอยรั่วเฉพาะจุด แต่สุดท้ายหลังคาก็กลับมารั่วเหมือนเดิม Single Image หลังคาบ้านเดิมก่อนเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา สีเก่าซีด >ภาพ: หลังคาบ้านสีเก่าซีด และมีคราบราดำ > Single Image คราบน้ำที่ฝ้าเพดาน แสดงปัญหาหลังคารั่ว >ภาพ: พบคราบน้ำบนฝ้าเพดาน > >ด้วยความกังวลคุณยุทธศิลป์จึงได้หาข้อมูลเยอะพอสมควร พร้อมทั้งยังเกิดคำถามอีกมากมาย เช่น ต้องเริ่มต้นอย่างไร? ใช้วัสดุไหนถึงจะมีคุณภาพ? รวมถึงขณะรื้อเปลี่ยนหลังคา ส่วนอื่นๆ ของบ้านจะได้รับผลกระทบหรือไม่? และช่างจะหนีงานไหม? จึงโทรติดต่อไปที่ SCG Home Contact Center เพื่อสอบถามข้อมูล และได้รู้จักกับ “บริการเปลี่ยนหลังคา จาก SCG” ที่ช่วยจัดการเปลี่ยนหลังคาบ้านให้เสร็จแบบ One Stop Service ครอบคลุมทั้งวัสดุอุปกรณ์หลังคาที่มีคุณภาพและบริการเปลี่ยนหลังคา แถมยังรับประกันวัสดุพร้อมงานติดตั้งหากเกิดปัญหาภายในระยะเวลา 1 ปี >บริการเปลี่ยนหลังคา จาก SCG จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจสภาพหลังคาหน้างานก่อน เพื่อหาสาเหตุของปัญหา และแจ้งวิธีการแก้ไข รวมถึงแนะนำวัสดุที่เหมาะกับโครงสร้างเดิมของบ้าน ไม่ใช่แค่เจ้าของบ้านสนใจจะใช้หลังคาแบบที่ชอบแล้วจะสามารถติดตั้งได้ แต่ SCG จะประเมินความเป็นไปได้ว่าสามารถเปลี่ยนได้หรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาทางโครงสร้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว ซึ่งคุณยุทธศิลป์ได้ตัดสินใจใช้บริการ และเลือกเปลี่ยนจากกระเบื้องหลังคาคอนกรีตสีแดงเดิม มาเป็น กระเบื้องหลังคาเซรามิก เอสซีจี รุ่นเอ็กซ์เซลล่า คลาสสิค สีเรด แซปไฟร์ เพราะมีประสบการณ์จากบ้านคุณแม่ที่ใช้แล้วสีกระเบื้องสวยสด อยู่ทนนาน >จุดเด่นของบริการนี้คือ การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพงานโดยทีมงานจาก SCG ที่จะคอยดูแลความเรียบร้อยระหว่างการเปลี่ยนหลังคา และมีการอัพเดทความคืบหน้างานในแต่ละวัน ซึ่งเป็นส่วนที่คุณยุทธศิลป์ชอบมาก และสิ่งสำคัญที่ปล่อยผ่านไม่ได้คือ ความปลอดภัยของเจ้าของบ้าน ทรัพย์สินของเจ้าของบ้าน และตัวช่างเองเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายระหว่างการทำงาน โดยจะมีผ้าใบปกคลุมหลังคาบ้านหลังจบการทำงานในแต่ละวัน อีกทั้งยังใช้สายพานลำเลียงกระเบื้องหลังคา ช่วยประหยัดเวลาทำงานและป้องกันกระเบื้องแตกเสียหาย ระหว่างที่ช่างดำเนินการเปลี่ยนหลังคาบ้าน เจ้าของบ้านก็สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ตามปกติ ซึ่งสะดวกกับการใช้ชีวิตมากๆ > สนใจ บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} > Single Image เปลี่ยนหลังคาโดยทีมช่างซ่อมหลังคารั่ว SCG >ภาพ: ใช้สายพานลำเลียงกระเบื้องหลังคา ช่วยให้ประหยัดเวลา และลดความเสียหายของกระเบื้อง Single Image คลุมผ้าใบกันฝนหลัง เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาไม่ต้องย้ายบ้าน >ภาพ: ใช้ผ้าใบคลุมหลังจากจบงานในแต่ละวัน Single Image หลังใช้บริการเปลี่ยนหลังคาโดยช่างซ่อมหลังคารั่ว SCG >ภาพ: ได้หลังคาบ้านที่สวยงามหลังจากปรับปรุงเสร็จ > >คุณยุทธศิลป์เล่าถึงความรู้สึกโดยรวมหลังจากใช้บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG ครั้งนี้ว่า “พึงพอใจมาก ทีมช่างของ SCG บริการดีและมีฝีมือ หมดห่วงเรื่องผู้รับเหมาหรือช่างทิ้งงาน สามารถควบคุมงบประมาณและระยะเวลาได้ ไม่ต้องกลัวว่างบจะบานปลาย และสะดวกมากเพราะไม่ต้องย้ายออกจากบ้านขณะเปลี่ยนหลังคา” Single Image เจ้าของบ้านที่ใช้บริการเปลี่ยนหลังคากับทีมช่าง SCG >ภาพ: ขอขอบคุณครอบครัวคุณยุทธศิลป์ > สนใจ บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} > อ่านเพิ่มเติม: รีวิวบริการซ่อมหลังคารั่ว SCG มั่นใจได้คุณภาพครบ จบปัญหารั่วซึม
รวบรวมปัญหาเกี่ยวกับบ้านที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน และวิธีแก้ไขให้ตรงจุด เพื่อไม่ให้บ้านเป็นปัญหาเรื้อรัง ปล่อยทิ้งไว้ก็ยิ่งแก้ไขยากพลอยลุกลามกลายเป็นปัญหาอื่นตามมา >เชื่อว่าพอถึงหน้าฝนทีไรหลายบ้านมักพบปัญหาหลังฝนตกจนหน้าปวดหัว นอกจากน้ำท่วมที่พบได้ทั่วไปแล้ว ปัญหาจุกจิกภายในบ้านอย่างหลังคารั่ว ฝ้าเป็นรอยด่าง น้ำซึมที่ผนัง น้ำไหลลงมาจากหน้าต่าง น้ำล้นรางน้ำฝน บ้านชื้น วอลล์เปเปอร์หลุดลอก พื้นลามิเนตบวม ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งกวนใจ ยิ่งทิ้งไว้นานจะทำให้บ้านทรุดโทรมยากต่อการแก้ไข จำเป็นต้องหาสาเหตุและเร่งจัดการให้ตรงจุด ปัญหาบ้านพบบ่อยในช่วงหน้าฝนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ "ปัญหาน้ำรั่ว" และ "ปัญหาความชื้น" >. >## ปัญหาน้ำรั่ว >น้ำรั่วเป็นปัญหาพบบ่อยที่ไม่ว่าจะรั่วมากหรือรั่วน้อย ก็ส่งผลตามมาทำให้บ้านชำรุดทรุดโทรม น้ำรั่วมักเกิดขึ้นได้ 3 ตำแหน่งของบ้าน คือ หลังคา ผนัง และช่องเปิดต่างๆ >## 1. หลังคารั่ว >หากเป็นหลังคามุงกระเบื้องที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน 20-30 ปี มักมีสาเหตุจากสกรูหรือตัวยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาเริ่มหลวม แหวนยางรองสกรูเสื่อมสภาพ น้ำฝนจึงซึมผ่านบริเวณหัวสกรู หรือหากแผ่นกระเบื้องขยับตัวเนื่องจากลมแรงก็อาจทำให้น้ำฝนไหลย้อนเข้าระหว่างแผ่นได้ หลายกรณีเกิดจากกระเบื้องหลังคามีรอยแตกร้าว รูปทรงหลังคามีรอยต่อเยอะเสี่ยงต่อการรั่วซึมได้ง่าย บางกรณีเกิดจากการมุงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่แรก และบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นโครงหลังคาเสื่อมสภาพ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป >กระเบื้องหลังคาเสื่อมสภาพ กรอบ แตก ผุพัง >ภาพ: กระเบื้องหลังคาเสื่อมสภาพ กรอบ แตก ผุพัง >วิธี Top Up Roof >ภาพ: แก้ปัญหาหลังคากระเบื้องลอนคู่รั่วซึมในระยะยาวด้วยบริการ Top Up Roof (มุงเมทัลชีททับแนบกับกระเบื้องหลังคาลอนคู่เดิม) >หลังคารั่วที่เกิดจากการมุงไม่ได้มาตรฐาน >ภาพ: ปัญหาหลังคารั่วที่เกิดจากการมุงไม่ได้มาตรฐาน >แผ่น Finishing ติดตั้งอยู่ใต้แนวรอยต่อหลังคา >ภาพ: ปัญหาหลังคารั่วบริเวณรอยต่อหลังคา >. >บ้านที่มีหลังคาดาดฟ้าคอนกรีตหรือพื้นระเบียงก็เจอปัญหารั่วซึมได้เช่นกัน หากวัสดุกันซึมเสื่อมสภาพ หรือปล่อยให้มีน้ำขังเป็นเวลานาน หรือมีเศษขยะอุดตันบริเวณท่อระบายน้ำจนทำให้ระบายน้ำได้ไม่ดีพอ ดังนั้นควรทำระบบกันซึมดาดฟ้าเป็นประจำตามรอบอายุการใช้งาน และหมั่นทำความสะอาดอย่าปล่อยให้มีเศษขยะอุดตันฝาท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะปัญหาน้ำขังหากปล่อยทิ้งไว้นานและไม่มีระบบกันซึมดาดฟ้าที่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้โครงสร้างพื้นดาดฟ้าเสียหาย เช่น เหล็กเสริมขึ้นสนิมจนดันคอนกรีตแตกออกมา ซึ่งการซ่อมแซมจะยุ่งยากและต้องพึ่งวิศวกรในการแก้ไขอย่างถูกวิธี >น้ำฝนท่วมขังบนดาดฟ้า >ภาพ: น้ำฝนท่วมขังบนดาดฟ้าไม่สามารถระบายได้ >เหล็กเสริมขึ้นสนิมจนดันคอนกรีตแตกออกมา >ภาพ: เหล็กเสริมขึ้นสนิมจนดันคอนกรีตแตกออกมา >การทาสีกันซึมดาดฟ้า >ภาพ: การทาสีกันซึมดาดฟ้า >. >สนใจ บริการติดตั้งระบบกันน้ำรั่วซึมสำหรับดาดฟ้า คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >## 2. น้ำฝนล้นราง >อีกสาเหตุของปัญหาน้ำรั่วจากส่วนหลังคาคือรางน้ำฝนอุดตัน ระบายน้ำไม่ทัน เนื่องมาจากมีใบไม้/กิ่งไม้อุดตันในราง หรือมีตะไคร้น้ำที่สะสมมานาน น้ำฝนจึงล้นไหลเข้าใต้กระเบื้องหลังคาบริเวณชายคาได้ จึงควรให้ช่างเข้าตรวจสอบรางน้ำฝนว่ามีเศษใบไม้/กิ่งไม้อุดตันหรือไม่ และทำความสะอาดให้เรียบร้อย โดยอาจติดตั้งตะแกรงปิดรางเพิ่มเติมเพื่อป้องกันปัญหารางน้ำฝนอุดตันในอนาคต >ตะแกรงพลาสติกปิดตลอดแนวรางน้ำฝน >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งตะแกรงพลาสติกปิดตลอดแนวรางน้ำฝนป้องกันใบไม้ลงไปอุดตัน >. >## 3. ฝ้าเพดานมีคราบน้ำ บวม พัง >ปัญหาน้ำรั่วที่หลังคาส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังฝ้าเพดาน เพราะน้ำฝนหยดลงมาตลอดสะสมจนทำให้ฝ้าด่าง หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดเชื้อราหรือฝ้าเพดานเสียหายพังทะลุลงมาได้ >ฝ้าเพดานด่างช้ำน้ำ >ภาพ: หลังคารั่วน้ำฝนหยดลงมาที่ฝ้าจนฝ้าเพดานด่างช้ำน้ำ >. >## 4. ผนังแตกร้าวรั่วซึม >หากผิวปูนฉาบผนังมีรอยแตกร้าวแม้เพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสทำให้น้ำฝนซึมผ่านเข้ามาได้ ส่งผลให้ผนังเกิดเชื้อรา สีหรือวอลเปเปอร์บวมพอง ลอกล่อนได้ หากเป็นรอยร้าวขนาดเล็กสามารถปิดรอยแตกร้าวที่ผนังได้ด้วยวัสดุยาแนวประเภทโพลียูรีเทน ซึ่งมีคุณสมบัติเรื่องการยึดเกาะและยืดหยุ่นตัวสูง สามารถทาสีทับได้ แต่หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่อาจต้องทำการกรีดผนังแล้วอุดโป๊วด้วยปูนสำหรับงานซ่อมแซมโดยเฉพาะ >ตัวอย่างวัสดุ PU >ภาพ: PU-1 SEAL ใช้ซ่อมแซมปิดรอยร้าวบนผนังและทาสีทับได้ >. >## 5. น้ำรั่วซึมที่ขอบประตูหน้าต่าง >มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุที่อุดรอยต่อของกระจกกับบานกรอบ และวงกบกับผนัง ทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาภายในบ้านได้ วิธีการแก้ไขทำได้โดยการขูดลอกวัสดุเดิมออก และยาแนวใหม่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอายุของเคมีภัณฑ์จะอยู่ประมาณ 3-5 ปี แต่หากเป็นปัญหาจากซีลยางเสื่อมสภาพแนะนำให้แจ้งช่างทำประตูหน้าต่างเข้ามาเปลี่ยนซีลยางให้ >ซิลิโคนยาแนวหลุดล่อน >ภาพ: วัสดุยาแนวรอยต่อของวงกบหน้าต่างเริ่มหลุดลอก >ซีลยางระหว่างกระจกกับวงกบเสื่อมคุณภาพ >ภาพ: ซีลยางระหว่างกระจกกับวงกบเสื่อมคุณภาพ >. >## ปัญหาความชื้น >เป็นเรื่องปกติที่ความชื้นในช่วงหน้าฝนจะมีมากกว่าฤดูอื่นๆ ปัญหาน้ำรั่วที่จุดต่างๆ ตามที่กล่าวมาก็ทำให้เกิดความชื้นสะสมได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากกลิ่นอับชื้นที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวสบายใจเมื่ออยู่ในบ้านแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความเสียหายตามส่วนต่างๆ ในบ้าน หรือแม้แต่เชื้อราที่อาจเกิดขึ้นได้ >## 1. สีทาผนัง ฝ้าเพดาน บวม พอง ลอกล่อน >จากปัญหารั่วซึมตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะมาทางหลังคา ผนัง หรือขอบประตู น้ำที่ซึมผ่านเข้ามาจะทำให้เกิดความชื้นสะสม และส่งผลให้สีทาผนังที่มีลักษณะเป็นฟิล์มบวม/โป่ง หรือลอกล่อนได้ นอกจากนี้ผนังช่วงความสูง 1 ม. จากระดับดินก็มักเกิดปัญหาสีบวม ลอกล่อนได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้นควรแก้ไขปัญหารั่วซึมที่เกิดขึ้นเป็นอันดับแรก แล้วจึงซ่อมแซมทาสีใหม่ โดยสำหรับผนังส่วนที่สูงจากพื้นดิน 1 ม. ควรเลือกทาสีที่ไม่ได้เป็นฟิล์มทึบ สามารถระบายความชื้นในผนังออกไปได้ >สีทาผนังเกิดการพองและลอก >ภาพ: สีทาผนังเกิดการพองและลอกออกมาเพราะความชื้นสะสมที่ผนัง >. >## 2. เกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ >ความชื้นสะสมพร้อมปัจจัยต่างๆ เป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ได้ โดยเฉพาะเชื้อราซึ่งเป็นอันตรายหากหายใจเข้าร่างกาย เบื้องต้นควรรีบกำจัดด้วยคลอรีนหรือสารฟอกขาว ส่วนตะไคร่น้ำหากขึ้นที่พื้นจะทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่มล้มได้ง่าย จึงควรหมั่นขัดล้างด้วยน้ำยากำจัดตะไคร่ หรือใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดทำความสะอาด >เฟอร์นิเจอร์ขึ้นเชื้อรา >ภาพ: เฟอร์นิเจอร์ขึ้นเชื้อราเนื่องจากปัญหาความชื้น >. >## 3. ประตู หน้าต่างไม้บวม >อีกปัญหาที่มักพบกันไม่น้อยคือประตู หน้าต่างไม้บวม เปิด/ปิดยาก บางครั้งสร้างความเสียหายกับบานประตูหรือวงกบได้ด้วย หากต้องซ่อมแซมเป็นประจำหรือไม่ค้มค่า อาจพิจารณาเปลี่ยนมาใช้ประตูที่ทนความชื้นได้ดีอย่างประตู uPVC ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมหรือไวนิล เป็นต้น >ประตูเริ่มบวมชื้นเปิดปิดยาก >ภาพ: ประตูเริ่มบวมชื้นเปิดปิดยาก >. >สนใจ ประตู uPVC คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >ปัญหาจุกจิกชวนปวดหัวเกี่ยวกับบ้านที่ต้องพบเจอในหน้าฝน หากเร่งแก้ไขได้ควรรีบจัดการ เพราะเรื่องของน้ำทำให้เกิดความชื้นสะสม นอกจากทำให้บ้านไม่สวยงามเป็นรอยด่างดำเพราะเชื้อราหรือช้ำน้ำแล้ว มีแต่จะทำให้ความแข็งแรงถดถอยส่งผลให้บ้านเสื่อมสภาพชำรุดทรุดโทรมเร็วกว่ากำหนด ปัญหาที่คิดว่าเล็กอาจขยายวงกว้าง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบานปลาย ปัญหาบางอย่างที่เหนือกำลังการแก้ไขเอง ควรหาช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้ตรงจุดเพื่อการใช้งานมั่นคงแข็งแรงตลอดอายุการใช้งาน >. >อ่านเพิ่มเติม: รวมเรื่องป่วนๆ กับปัญหาหลังคาหน้าฝน >อ่านเพิ่มเติม: 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย กับปัญหา “หลังคารั่ว" >อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง จะแค่รั่วซึมหน้าฝน หรืออันตรายกว่านั้น!! >อ่านเพิ่มเติม: แก้ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง
การรับมือกับปัญหาบ้านร้าว เราอาจลองพิจารณาเบื้องต้นเพื่อลดความกังวลระหว่างที่รอหารือกับวิศวกรได้ ว่ารอยร้าวในบ้านเรามีแนวโน้มจะเป็นรอยร้าวอันตราย ฟ้องปัญหาโครงสร้าง หรือเป็นรอยร้าวผนังทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แบบไม่อันตราย > รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ของบ้าน โดยเฉพาะบริเวณกำแพงบ้านมักจะเป็นส่วนที่เห็นก่อนและเห็นชัดที่สุด อาจทำให้หลายคนกังวลใจว่าบ้านของเราจะพังหรือไม่ ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่ารอยร้าวทุกแบบจะแสดงถึงสัญญาณอันตรายเสมอไป วันนี้ SCGHOME.COM จะนำรอยร้าวรูปแบบต่างๆ มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เจ้าของบ้านนำไปพิจารณากันก่อน ระหว่างรอหารือกับวิศวกรได้ > รอยร้าวอันตราย จากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน > หากเจ้าของบ้านสังเกตกำแพงแล้วพบรอยร้าวในส่วนของผนังและโครงสร้างเสาคานในลักษณะต่อไปนี้ 1) รอยร้าวที่ปลายคาน 2) รอยร้าวแบบข้อปล้องที่เสา 3) รอยร้าวทแยงมุมที่ผนัง สันนิษฐานได้ว่าฐานรากบ้านเรามีปัญหา เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ หากสังเกตที่พื้นและพบรอยร้าวเป็นแนวยาว ต่อเนื่องไปตามแนวผนัง ก็เป็นร้อยร้าวอันตรายที่ฟ้องปัญหาแบบเดียวกันด้วย ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบ > รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน > รอยร้าวอันตราย จากปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักเยอะเกินไป > หากสังเกตโครงสร้างส่วนต่างๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน รวมถึงพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วพบรอยร้าวดังต่อไปนี้ 1) รอยแตกร้าวหรือกะเทาะใต้ท้องพื้น 2) รอยร้าวแนวเฉียงที่ปลายคานไปหัวเสา 3) รอยร้าวแนวดิ่งกลางคาน 4) รอยร้าวแตกลึกที่เสา สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างบ้านเรารับน้ำหนักเยอะเกินไป หากพบรอยร้าวเหล่านี้ ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบเช่นเดียวกัน > รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป > รอยร้าวผนังหรือบริเวณรอยต่อผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย > เป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นได้กับตัวผนังก่ออิฐฉาบปูน หรือรอยต่อผนังกับโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น 1) รอยร้าวแนวดิ่งกลางผนังจากด้านบน 2) รอยร้าวที่มุมวงกบ 3) รอยร้าวแตกลายงาทั่วไป 4) รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน 5) รอยร้าวแนวดิ่งข้างเสา รอยร้าวเหล่านี้มักเกิดที่ผิวปูนฉาบ หรือเกิดจากการก่อผนังไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เสา คาน หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากนัก > Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย > Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย > เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered} > จะเห็นได้ว่าบรรดารอยร้าวที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้น อาจเป็นได้ทั้งรอยร้าวที่แสดงถึงอันตรายจากปัญหาโครงสร้าง ซึ่งควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อพิจารณาหาวิธีแก้ไข ไปจนถึงรอยร้าวที่ผิวปูนฉาบทั่วไปบริเวณผนังหรือรอยต่อระหว่างผนังกับโครงสร้าง ซึ่งไม่ได้อันตราย เพียงแค่ทำให้ดูไม่สวยงาม หรืออาจเป็นช่องทางให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านได้ รอยร้าวที่ไม่อันตรายเหล่านี้เจ้าของบ้านอาจติดต่อช่างให้มาซ่อมแซมได้เมื่อสะดวก หรือหากรอยร้าวมีจำนวนน้อยและขนาดเล็ก เจ้าของบ้านอาจลงมือซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ในบ้านทั้งหมดที่เล่าไปนี้ หากเจ้าของบ้านไม่ถนัดในการพิจารณาหรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่มั่นใจ เช่น แผ่นดินไหว ก็อาจลองปรึกษาวิศวกรโครงสร้างก่อนจะวางแผนซ่อมอีกครั้ง > อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง แบบไหนซ่อมได้ แบบไหนอันตราย?!!\{.newtab} > เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered}
หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวทำให้บ้านเรือนอาคารได้รับความเสียหาย มาตรวจสอบบ้านเบื้องต้นด้วยตนเองกันก่อนตาม 10 เช็กลิสต์นี้ แล้วจึงนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรเพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป >. >ปัญหาเกี่ยวกับที่พักอาศัยทั้งคอนโดหรือบ้านที่มักพบหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เห็นได้อย่างชัดเจนคงหนีไม่พ้นรอยร้าวต่างๆ ที่ผนัง ฝ้าเพดานร่วงลงมา แต่จริง ๆ แล้วมีอีกหลายอย่างที่เราอาจหลงลืมได้และมัวรอให้ผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรเข้ามาตรวจสอบ อย่างไรก็ดี หากที่พักอาศัยไม่ได้สุ่มเสี่ยงต่อการร่วงหล่นหรือพังทลายลงมาเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ด้วยตนเองก่อนจากการสังเกตด้วยตาเปล่า แล้วจึงนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรอีกครั้ง ซึ่งพิจารณาได้ 10 รายการ ดังนี้ >. >## 1. หลังคา >หลังคาแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม ได้แก่ หลังคามุง และ หลังคาคอนกรีต/ดาดฟ้า >๐ หลังคามุง อย่างกระเบื้องหลังคาคอนกรีต กระเบื้องหลังคาเซรามิก เมทัลชีท ฯลฯ ให้สังเกตว่ามีวัสดุมุงหลังคาที่หลุดหรือขยับออกจากแนวหรือไม่ มีกระเบื้องแตกร้าว หรือหลังคามีการทรุดตัวพังลงมาเนื่องจากโครงสร้างเสียหาย >๐ หลังคาคอนกรีต/ดาดฟ้า ให้สังเกตว่ามีรอยแตกร้าวลายงาหรือเป็นรอยแตกลึก รอยแยกกว้างเห็นเหล็กเส้นภายใน หรือพื้นดาดฟ้ามีรอยแยกออกจากกัน >กระเบื้องหลังคาแตกร้าว ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้องหลังคาแตกร้าวและหลุดออกจากแนวหลังคาเดิม >. >## 2. ฝ้าเพดาน >เป็นจุดที่พบบ่อยเนื่องจากฝ้าเพดานมักเป็นโครงคร่าวแบบแขวนทำให้หลุดร่วงได้ง่าย ให้สังเกตว่าฝ้ามีรอยแตกร้าว หรือฝ้าหลุดร่วงลงมา โครงคร่าวฝ้าเพดานพังเสียหายหรือไม่ >ฝ้าเพดานพังเสียหาย ภาพ: ตัวอย่างฝ้าเพดานพังเสียหาย >. >## 3. ผนัง >ก่อนอื่นต้องรู้ว่าผนังเราเป็นประเภทไหน ได้แก่ ผนังก่อ ผนังสำเร็จ หรือผนังเบา โดยให้พิจารณา ดังนี้ >๐ ผนังก่อ ให้สังเกตว่าผนังแตกร้าวลายงาหรือว่าหลุดล่อน เช่น ผิวปูนฉาบหลุด กระเบื้องแตกหลุด ผนังมีการทะลุพังทลาย หรือเห็นมีรอยด่างน้ำที่ผนัง >๐ ผนังสำเร็จ ให้สังเกตว่าผนังแตกร้าวลายงาหรือแตกตามรอยต่อหรือไม่ หรือผนังปูนแตกหลุดล่อนจนเห็นเหล็กเส้นภายใน >๐ ผนังเบา คือ แผ่นฝาไม้เทียม/ไม้จริงประกบโครงสร้างผนังอาจเป็นโครงไม้หรือโครงกัลวาไนซ์ก็ได้ ให้สังเกตว่าแผ่นผนังขยับเห็นรอยต่อหรืออาจมีรอยแตกตามแนวสกรู แผ่นผนังหลุดจากโครง โครงผนังพังเสียหายหรือไม่ >รอยผนังเป็นสิ่งที่พบบ่อยเพราะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพียงอาคารมีการขยับตัวเล็กน้อยก็เกิดรอยแตกร้าวได้แล้ว ทำให้หลายคนอาจสงสัยและกังวลว่ารอยร้าวที่เห็นส่งผลอันตรายหรือสุ่มเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ >> ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง แบบไหนซ่อมได้ แบบไหนอันตราย?!! >ผนังแตกร้าวและหลุดล่อน ภาพ: ผนังแตกร้าวและหลุดล่อน >. >## 4. พื้น >แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พื้นปูน พื้นโครงเหล็กกับแผ่นบอร์ด พื้นไม้ โดยให้พิจารณา ดังนี้ >๐ พื้นปูน ให้สังเกตว่าพื้นผิววัสดุแตกหลุดล่อน หรือพื้นแตกระเบิดจนเห็นเหล็กเส้นภายใน หรือว่าพื้นทรุดแยกตัวจากแนวคานเห็นได้อย่างชัดเจน >๐ พื้นโครงเหล็กกับแผ่นบอร์ด ให้สังเกตว่าแผ่นพื้นขยับเห็นรอยต่อหรืออาจมีรอยแตกตามแนวสกรู แผ่นพื้นบอร์ดแตกเห็นโครงสร้าง โครงเหล็กบิดเบี้ยวผิดรูปหรือไม่ >๐ พื้นไม้ ให้สังเกตว่าแผ่นไม้ขยับเห็นเป็นแนวร่อง แผ่นไม้แตกหักหลุดหล่นจนเห็นโครงสร้าง โครงสร้างพื้นโก่ง/หักหรือไม่ >พื้นพังเสียหาย ภาพ: ตัวอย่างพื้นพังเสียหาย >. >## 5. โครงสร้าง >โครงสร้างที่สามารถมองเห็นได้ ได้แก่ เสา คาน ให้สังเกตว่ามีรอยแตกร้าวลายงา ผิวปูนหลุดล่อน หรือรอยแตกลึกเห็นเหล็กเส้นภายใน เสา/คานเอียงผิดรูปไปจากเดิมหรือไม่ >เสาบ้านแตกร้าว ภาพ: เสาบ้านแตกร้าว >. >## 6. ประตู/หน้าต่าง >หากผนังอาคารขยับตัวจนวงกบประตูหน้าต่างบิดผิดรูปไปจากเดิม จะทำให้ไม่สามารถเปิดปิดประตู/หน้าต่างได้ รวมถึงลูกฟักกระจกแตกเสียหาย >ประตูหน้าต่างพังเสียหาย ภาพ: ตัวอย่างประตูหน้าต่างพังเสียหาย >. >## 7. งานระบบอาคาร >มักมองไม่เห็นเนื่องจากอยู่ภายในผนังบ้าง ใต้คานพื้นบ้าง อย่างระบบประปา ระบบท่อน้ำเสีย ระบบไฟฟ้า แต่สามารถสังเกตได้ดังนี้ >๐ ระบบประปา มีรอยด่างน้ำที่พื้น ผนัง หรือฝ้าเพดาน ควรสังเกตต่อเนื่องในเดือนถัดไปหากบิลค่าน้ำประปาสูงขึ้นผิดปกติ >๐ ระบบท่อน้ำเสีย มักอยู่ใต้คานพื้นไม่สามารถมองเห็นได้ แต่หากได้กลิ่นเหม็นท่อผิดปกติไปจากเดิม อาจเป็นไปได้ว่าเกิดการรั่วซึมตามแนวรอยต่อของท่อ >๐ ระบบไฟฟ้า สวิตช์ไฟ/เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดใช้งานไม่ได้ >ฝ้าเพดานมีรอยด่างและน้ำหยด ภาพ: ฝ้าเพดานมีรอยด่างและน้ำหยด >. >## 8. ส่วนต่อเติม >ส่วนต่อเติมต่างๆ รอบบ้านก็เป็นอีกจุดที่อาจพบว่าเสียหายได้ เนื่องจากเป็นคนละส่วนแยกจากโครงสร้างบ้านเดิม ได้แก่ หลังคาส่วนต่อเติมอย่างกันสาด หลังคาที่จอดรถหลุดร่วง รอยแยกของแนวผนังรอยต่อระหว่างตัวบ้านหลักกับห้องที่ต่อเติม และพื้นส่วนต่อเติมทรุดตัว >พื้นส่วนต่อเติมทรุดตัวทำให้เป็นร่องแนวยาว ภาพ: พื้นส่วนต่อเติมทรุดตัวทำให้เป็นร่องแนวยาว >. >## 9. พื้นที่รอบบ้าน >เมื่อสำรวจตัวบ้านเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมพิจารณาบริเวณรอบบ้านด้วยว่ามีส่วนใดเสียหายรึป่าว ได้แก่ พื้นรอบบ้านทรุดจนเกิดโพรงใต้บ้าน บ่อน้ำ/บ่อปลารวมถึงสระว่ายน้ำมีรอยแตกร้าวมีน้ำรั่วซึม ประตูรั้วบ้านยังคงเปิดปิดใช้งานได้ดี ตลอดจนรั้วบ้านมีรอยแตกร้าวหรือไม่ >พื้นที่รอบบ้านชำรุดเสียหาย ภาพ: พื้นที่รอบบ้านชำรุดเสียหาย >. >## 10. อื่นๆ >นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาจเกิดการชำรุดเสียหาย เช่น หน้าบานตู้หลุด บานกระจกแตก สำรวจโคมไฟต่างๆ ว่ามีการหลุดเผยอหรือไม่ และหากได้กลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นแก๊สก็อาจเกิดจากท่อแก็สหุงต้มหลวม/รั่วได้ >เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายได้ ภาพ: เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายได้ >. >ทั้งนี้ สามารถพิจารณาภาพรวมจากตารางเช็กลิสต์ที่สรุปได้ดังนี้ >ตารางเช็กลิสต์ >สามารถดาวโหลดไปใช้ได้ คลิก >> 10 เช็กลิสต์ ชวนตรวจบ้านหลังแผ่นดินไหว >. >เช็กลิสต์ 10 รายการที่แนะนำไป เป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากตรวจสอบจนครบถ้วนแล้ว ควรนำเช็กลิสต์ที่ได้ไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรอีกครั้งเพื่อวางแผนการซ่อมแซมได้อย่างถูกวิธี >. >สนใจ ปูนฉาบรอยต่อ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >สนใจ โพลียูรีเทนยาแนว MagiX PU-1 คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >สนใจ อะคริลิคยาแนวMagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >. >อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง แบบไหนซ่อมได้ แบบไหนอันตราย?!! >อ่านเพิ่มเติม: แนะนำวิธีตรวจสุขภาพบ้านเก่า (เกิน 15 ปี) ฉบับเจ้าของบ้าน