ไม่ว่าจะเป็นคนวัยทำงานหรือจะเป็นวัยเรียนก็ตามแต่ เรามักจะใช้เวลาอยู่บนเก้าอี้ทำงานของเราเฉลี่ยต่อวันประมาณ 7-8 ชั่วโมงหรือสำหรับบางคนอาจจะมากกว่านั้น ซึ่งหากเรามีเก้าอี้ที่ดี นั่งสบาย นั่งได้นานไม่ปวดเมื่อย รองรับสรีระ จะช่วยให้เราผ่อนคลายและไม่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง คอ บ่า สะโพก บั้นท้าย ที่นอกจากจะเกิดอาการปวดเมื่อยแล้ว ยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับกระดูกมากวนใจในอนาคตได้อีกด้วย วันนี้ SCG HOME มีวิธีเลือกเก้าอี้ทำงานที่ดีต่อสุขภาพ นั่งสบายตลอดทั้งวันทั้งหมด 8 วิธีมาแชร์กัน
ถึงแม้ส่วนสูงของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน แต่เราสามารถหาเก้าอี้ที่สูงเหมาะพอดีหรือเลือกเก้าอี้ที่ปรับระดับที่นั่งสูง/ต่ำให้พอดีกับเราได้ โดยการใช้ความยาวช่วงขาเป็นตัวกำหนดความสูงของเก้าอี้ทำงาน เป็นไปได้ควรลองนั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก วางฝ่าเท้าพอดีกับพื้นในแนวระนาบ หัวเข่าตั้งเป็นมุมฉาก ส่วนของต้นขาไม่ต่ำหรือสูงกว่าหัวเข่า ความสูงเก้าอี้ที่พอดีกับช่วงขาของเราจะช่วยให้นั่งนานไม่เมื่อย นั่งสบาย และยังช่วยจัดสรีระไม่ให้กระดูกขาและสะโพกผิดรูปในระยะยาว
ภาพ: ตัวอย่างการเลือกเก้าอี้สำนักงานที่พอดีกับช่วงขา
ความกว้างและความลึกของที่นั่งเก้าอี้ ควรจะพอดีกับช่วงตักและกว้างพอดีกับสะโพก ของเรา ไม่ควรแคบหรือกว้างเกินไป เพราะจะทำให้นั่งแล้วเมื่อย อึดอัด นั่งไม่สบายตลอดทั้งวัน
ภาพ: หากเราเลือกไม่พอดีกับสรีระจะเกิดอาการปวดและนั่งไม่สบาย
พนักพิงของเก้าอี้ควรเคลื่อนไหวทำมุมได้ในขณะนั่ง ความโค้งของพนักพิงในช่วงหลังรองรับสรีระของเรา ไม่ควรเลือกเก้าอี้ที่พนักพิงไม่สามารถขยับได้ หรือตั้งตรงเป็นฉาก เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลังได้ในอนาคต
ภาพ: เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่พนักพิงสามารถเคลื่อนไหวได้
น้ำหนักของเก้าอี้ทำงานก็สำคัญเช่นกัน เก้าอี้ทำงานที่ดีที่มีมาตรฐานจะต้องมีน้ำหนักที่เหมาะสม โดยหนักพอสมควร และต้องมีฐานล้อที่กว้างกว่าส่วนที่นั่งและพนักพิง เพื่อรองรับน้ำหนักของเราได้ดี
ภาพ: ตัวอย่างเก้าอี้สำนักงานที่ฐานล้อเหมาะสม
เก้าอี้ทำงานควรมีที่เท้าแขนหรือข้อศอกในระดับที่พอดี วางแขนแล้วได้มุมฉากในแนวหักข้อศอกเพื่อช่วยผ่อนคลาย หากไม่มีจะทำให้เราเผลอเท้าแขนกับโต๊ะทำงานแทน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ปวดเมื่อยไหล่ บ่า และอาจลามไปถึงคอ เนื่องจากเกร็งกล้ามเนื้อนานโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
ภาพ: ตัวอย่างเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่มี ที่เท้าแขน
นอกจากจะเลือกพนักพิกที่เคลื่อนไหวปรับตามสรีระของเราได้แล้ว ควรเลือกเก้าอี้ที่มีวัสดุผ้าบุพนักพิงให้สามารถรับหลังของเรา ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป ผ้าบุควรทำจากวัสดุที่ยืดหยุ่น รับน้ำหนักและคืนรูปได้ดี รวมถึงสามารถระบายอากาศได้ดีด้วย
ภาพ: ตัวอย่างเก้าอี้สำนักงานที่ระบายอากาศได้ดี
ควรเลือกเก้าอี้ทำงานที่มีความแข็งแรงทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี เพื่อการใช้งานในระยะยาว ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายวัสดุ เช่น เหล็กชุบโครเมียม สเตนเลส อะลูมิเนียม พลาสติก ซึ่งมักต่างกันที่ราคาและมีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานต่างกัน
ภาพ: ตัวอย่างโครงสร้างเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ
การเลือกเก้าอี้ทำงานที่มีล้อเลื่อนจะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับเรา ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายเก้าอี้ หรือการลุก/นั่ง เข้า/ออกจากโต๊ะทำงานเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ๆ
ภาพ: ตัวอย้่งเก้าอี้ทำงานล้อเลื่อนที่เคลื่อนไหวสะดวก
เป็น 8 วิธีการเลือกเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในการเลือกเก้าอี้ทำงานที่นั่งสบายและเหมาะสมกับตัวเองได้ นอกจากจะใช้งานได้ตรงตามความต้องการและยังช่วยดูแลสุขภาพของเราได้ในระยะยาวด้วย
LUCAS
LUCAS เก้าอี้ เก้าอี้เกมมิ่ง เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้พักผ่อน รุ่น Classic VS
2,190.00 บาท / ชิ้น
LUCAS
LUCAS เก้าอี้ทำงาน รุ่น P1 สีดำ
2,940.00 บาท / ชิ้น
LUCAS
LUCAS เก้าอี้ทำงาน มีที่พักเท้า รุ่น MD สีขาว
2,840.00 บาท / ชิ้น
LUCAS
LUCAS เก้าอี้ทำงาน มีฟังก์ชั่นสั่น มีที่พักเท้า รุ่น Boss สีดำ
3,690.00 บาท / ชิ้น