รู้จักการทำงานของระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือที่เรียกว่า โซลาร์รูฟ (Solar Roof) รวมถึงความแตกต่างของระบบ 3 รูปแบบ ที่ใช้กันในปัจจุบันสำหรับบ้าน อาคารและโรงงาน
ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ โซลาร์รูฟ (Solar Roof) กลายเป็นอีกทางเลือกสำคัญสำหรับกระแสรักษ์โลก บ้านประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานสะอาด ด้วยการนำแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งบนหลังคา หลักการทำงานของระบบโซลาร์รูฟคือ เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ตกกระทบแผงโซลาร์เซลล์ พลังงานไฟฟ้าที่ได้จะเป็นกระแสตรง จากนั้นจึงส่งต่อไปยังอินเวอร์เตอร์ สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อให้สามารถนำมาใช้กับเครื่องไฟฟ้าภายในบ้าน หรือจัดเก็บในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานต่อไปได้ทั้งนี้ ระบบโซลาร์รูฟที่มักใช้กันในปัจจุบัน มี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบออฟกริด ระบบออนกริด และระบบไฮบริด
หลังคาโซลาร์เซลล์ Solar Roof ระบบออฟกริด (Off-Grid System)
โซลาร์เซลล์ระบบออฟกริดจะไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า (หรือเรียกว่าเป็นระบบ Stand Alone) จึงไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า เน้นการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันเป็นหลัก โดยพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์จะผ่านอินเวอร์เตอร์ (อุปกรณ์แปลงไฟ) เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับใช้งานในบ้านตอนกลางวัน แต่หากต้องการใช้งานตอนกลางคืนด้วยจะต้องเลือกแบบที่มีแบตเตอรี่สำรอง ซึ่งแบบเตอรี่ที่ว่านี้มีราคาค่อนข้างสูง จึงเหมาะจะลงทุนในสถานที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง เป็นต้น ภาพ: หลักการทำงานคร่าวๆ ของหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Roof) ระบบออฟกริด (Off-Grid System)
สนใจ ติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก
หลังคาโซลาร์เซลล์ Solar Roof ระบบออนกริด (On-Grid System)
สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ออนกริดนี้ ไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์จะมีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า ซึ่งก่อนติดตั้งจะต้องขออนุญาตจากภาครัฐก่อนถึง 3 หน่วยงาน คือ 1) เขตหรือเทศบาล 2) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ 3) คณะกรรมการกองกำกับกิจการพลังงาน โดยไฟฟ้าที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้จากแสงแดดในเวลากลางวันจะถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านก่อน หากไม่พอ ระบบจึงค่อยไปดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ (ขณะเดียวกัน หากผลิตไฟฟ้าเยอะเกินกว่าที่ใช้ อาจขายคืนการไฟฟ้าได้ตามเงื่อนไขของทางรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลา) ทั้งนี้ระบบ On-Grid จะไม่สามารถสำรองไฟไว้ใช้ตอนกลางคืนได้ จึงเหมาะกับบ้าน หรือโรงงาน/อาคาร ที่ใช้ไฟฟ้าเยอะในช่วงกลางวัน
ในปัจจุบันระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด (On Grid) เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุดเนื่องจากจุดคุ้มทุนเร็ว นับเป็นข้อดีเมื่อเทียบกับอีก 2 ระบบ คือระบบออฟกริดและระบบไฮบริด ซึ่งต้องมีแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บไฟทำให้ต้นทุนสูง จุดคุ้มทุนจึงนานกว่าระบบออนกริดมาก
ภาพ: หลักการทำงานคร่าวๆ ของหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Roof) ระบบออนกริด (On-Grid System)
สนใจ ติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก
หลังคาโซลาร์เซลล์ Solar Roof ระบบไฮบริด (Hybrid System)
เป็นระบบลูกผสมระหว่างระบบโซลาร์เซลล์ออนกริดกับออฟกริด โดยไฟฟ้าที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้ในเวลากลางวันจะถูกนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก่อน หากเหลือจะถูกเก็บในแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟไว้ใช้งานในเวลากลางคืน ก่อนติดตั้งจะต้องขออนุญาตจากภาครัฐก่อนเช่นเดียวกันกับระบบออนกริด ถือเป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และดูเหมือนจะตอบโจทย์สำหรับเจ้าของบ้านหลายท่าน แต่เนื่องจากระบบสำรองไฟหรือแบตเตอรี่ยังมีราคาค่อนข้างสูง (เช่นเดียวกับระบบออฟกริด) จึงยังดูไม่คุ้มค่ากับการลงทุนทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก
ภาพ: หลักการทำงานคร่าวๆ ของหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Roof) ระบบไฮบริด (Hybrid System)
สนใจ ติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก
ภาพ: ตารางเปรียบเทียบการใช้งานหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Roof) ระบบต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม: 13 ถามบ่อย ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี (SCG Solar Roof)
อ่านเพิ่มเติม: รีวิว: ติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ SCG Solar Roof เปิดแอร์กลางวัน ไม่หวั่นค่าไฟ
เอสซีจี
ค่าสำรวจบริการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี
2,000.00 บาท / งาน
JINKO
ชุดโซลาร์เซลล์ 3 กิโลวัตต์ (560 วัตต์x6) 1 เฟส พร้อมอุปกรณ์
46,341.00 บาท / เซ็ต61,788.00 บาท
JINKO
แผงโซลาร์เซลล์ Jinko BIFACIAL ขนาด 625 วัตต์ 30 มม. (N-Type) ราคา 15-35 แผ่น
3,925.90 บาท / ชิ้น7,138.00 บาท
จัดส่งฟรี ทั่วประเทศ ยกเว้น พื้นที่เกาะ ภูเขาสูง และพื้นที่ห่างไกล
JINKO
ชุดโซลาร์เซลล์ 5 กิโลวัตต์ (590 วัตต์x8) 1 เฟส พร้อมอุปกรณ์
64,253.60 บาท / เซ็ต80,317.00 บาท