บ้านหลังใหญ่สไตล์โมเดิร์นหรือบ้านกล่องที่คำนึงถึงการอยู่สบาย รับลม รับแสงธรรมชาติแต่ไม่ร้อน ออกแบบมาเพื่อการอยู่อาศัยร่วมกันของคน 3 วัย ได้แก่ คุณปู่คุณย่า คุณยาย คุณพ่อคุณแม่ และเด็ก ๆ
การออกแบบบ้านสักหลัง สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยคือการตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแต่ละคน เพราะเป็นพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัว พื้นที่หลับนอน พื้นที่ที่ให้ความปลอดภัย และเป็นพื้นที่ที่ต้องใช้ไปตลอดทั้งชีวิต ดังนั้นนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว สถาปนิกต้องเข้าใจถึงความต้องการของเจ้าของบ้านและคนในครอบครัวเป็นอย่างดีเสมือนว่าเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยคนนึงเลย
ปัจจุบันบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านกล่องได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีความเรียบง่าย เน้นที่การใช้พื้นที่ และมีเส้นสายบางอย่างที่ทำให้ดูโดดเด่นเพิ่มความน่าสนใจ ซึ่งในประเทศเราที่มีอากาศร้อนชื้น และมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อนมาก การออกแบบบ้านกล่องที่ไม่มีโถงหลังคาและชายคาก็เป็นโจทย์ที่สำคัญในการออกแบบและแก้ปัญหาให้บ้านอยู่สบาย
สำหรับบ้านหลังนี้ มีความท้าทายให้สถาปนิกนำเสนอบ้านสไตล์โมเดิร์นที่เรียบง่ายแต่ดูเท่ เพื่อตอบรับกับไลฟ์สไตล์เจ้าของบ้าน และต้องตอบสนองความต้องการในการอยู่อาศัยร่วมกันของคน 3 วัย ได้แก่ คุณปู่คุณย่า คุณยาย คุณพ่อคุณแม่ และเด็กวัยเรียนรู้ ทั้งยังต้องมีความเป็นส่วนตัวแต่ยังมองเห็นกันและกัน มีพื้นที่สำหรับทกิจกรรมร่วมกัน ที่สำคัญต้องอยู่สบาย รับลม รับแสงธรรมชาติได้โดยไม่ร้อนจนเกินไป
.
แนวคิดในการออกแบบ
สถาปนิกออกแบบโดยยึดความต้องการของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก แบ่งบ้านเป็น 2 หลัง โดยมีบ้าน 2 ชั้นหลังใหญ่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ เด็ก ๆ และคุณยาย ส่วนอีกหลังเป็นบ้านชั้นเดียวสำหรับคุณปู่คุณย่า การออกแบบและวางผังคำนึงถึงการมีพื้นที่ของตนเองแต่ยังสามารถมองเห็นกันและกันได้ แล้วเชื่อม 2 หลังเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงกันด้วยระเบียง มีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสระว่ายน้ำและสวน
ภาพ: ผังบริเวณบ้านทั้ง 2 หลัง ที่มีระเบียงเชื่อมกันไปยังสระว่ายน้ำและสวน(พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของคนทั้ง 3 วัย)
.
การจัดวางแนวอาคารคำนึงถึงบริบทโดยรอบ เช่น อาคารข้างเคียง ที่อาจมองเข้ามาได้ จึงต้องจัดวางอาคารเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว รวมถึงเรื่องของทิศทางแดด ลม ฝน เพราะมีส่วนช่วยทำให้บ้านอยู่สบาย แบบที่เรียกว่า รับลม รับแสงธรรมชาติแต่ไม่ร้อน ยกตัวอย่างเช่น ช่องรับลมที่ทำให้ห้องนั่งเล่นของบ้านหลังใหญ่และหลังรองสามารถเปิดรับลมได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ พื้นที่ริมระเบียงและสระว่ายน้ำที่ร่มตลอดช่วงบ่าย ช่วยให้ทำกิจกรรมร่วมกันได้สบายจนถึงเย็น
ภาพ: การคำนึงถึงบริบทโดยรอบที่ตั้งเพื่อพิจารณาการจัดวางอาคาร รูปร่าง ผนัง ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวในการอยู่อาศัยได้มากขึ้น
ภาพ: การคำนึงถึงทิศทางของแดด เพื่อพิจารณาการจัดวางอาคาร และพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ภาพ: ช่องรับลมที่ทำให้ห้องนั่งเล่นของบ้านหลังใหญ่และหลังรอง สามารถเปิดรับลมได้ตลอดทั้งวัน
ภาพ: พื้นที่ริมระเบียงและสระว่ายน้ำที่ร่มตลอดช่วงบ่าย
.
การออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านกล่องที่เรียบง่ายแต่มีความเท่อย่างบ้านหลังนี้ จะมีเส้นสายที่ชัดเจน มีลูกเล่นโชว์แนวโครงสร้างและสร้างแพทเทิร์นของระแนงหรือแผงบังตาเพื่อตกแต่งอาคาร นอกจากสร้างความสวยงามให้กับบ้านแล้ว เมื่อเลือกใช้ในทิศทางที่เหมาะสมยังช่วยกรองแสง และพรางสายตา เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้อีกด้วย
ภาพ: ใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี รุ่น ซี-ชาแนลเพิ่มเส้นสายให้หลังคาที่จอดรถเสมือนโชว์แนวโครงสร้าง
ภาพ: ระแนงไม้และแผงบังตา ช่วยกรองแสง พรางสายตา และเพิ่มความเป็นส่วนตัว
.
การออกแบบพื้นที่ใช้สอยตอบรับกับความต้องการของเจ้าของบ้านที่ต้องการให้มองเห็นซึ่งกันถึงแม้ใครจะทำกิจกรรมของตนเองอยู่ เช่น ได้นั่งทำงานแบบที่ยังมองเห็นลูกนั่งเล่นกัน เห็นภรรยาทำอาหารขณะที่กำลังออกกำลังกาย สถาปนิกจึงออกแบบบ้านเป็นรูปตัวแอลโอบล้อมสระว่ายน้ำและสวน มีห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์รวมของคนทั้งบ้านที่สามารถนั่งดูทีวี นั่งทำงาน ทานข้าว ทำอาหาร และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน โถงภายในบ้านที่ดีไซน์เป็น Double Space เพื่อให้โปร่ง มองเห็นสระว่ายน้ำและสวนได้อย่างสบายตา ห้องนอนเรียบง่ายที่ขอให้วางเตียงขนาดใหญ่พิเศษได้ เพื่อพ่อแม่ลูก จะได้นอนด้วยกัน
ภาพ: ห้องนั่งเล่นริมสระว่ายน้ำถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมรร่วมกันในครอบครัว ทั้งนั่งเล่น ดูทีวี ทำงาน ทำอาหารทานข้าว
ภาพ: โถงภายในบ้านที่ดีไซน์เป็น Double Space เพื่อให้โปร่ง มองเห็นสระว่ายน้ำและสวนได้อย่างสบายตา
.
การลดความร้อนให้กับบ้าน และการเลือกใช้วัสดุ
นอกจากการจัดวางแนวอาคารที่คำนึงทิศทางแดด ลม ฝน เพื่อรับลม รับแสงธรรมชาติแต่ไม่ร้อนแล้ว การออกแบบ Facade และการเลือกใช้วัสดุก็มีส่วนสำคัญในการช่วยลดความร้อนให้กับบ้าน สำหรับบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านกล่องที่หลังคามีความลาดชันน้อยมาก จึงเลือกใช้หลังคาเมทัลชีทที่มีฉนวน PU FOAM หนาถึง 3 นิ้ว เพื่อลดเสียงรบกวนและความร้อนที่จะผ่านลงมา และใช้ฉนวนใยแก้วกันความร้อนปูเหนือฝ้าเพดานอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันความร้อนที่จะลงมาในห้อง ส่วนผนังในทิศทางที่รับแสงแดดโดยตรงทำผนังสองชั้น (Double Wall) ปิดผิวด้วยกระเบื้องลวดลายหินธรรมชาติ ผนังฝั่งที่ไม่โดนแดดเป็นกระจกใสให้รับแสงธรรมชาติได้เต็มที่ โดยเพิ่มแผงระแนงช่วยกรองแสง ติดตั้งครีบบังแดดอะลูมิเนียมวางเฉียงที่ห้องนอนช่วยดักลม และพรางสายตา
ภาพ: เลือกใช้หลังคาเมทัลชีทที่ความหนา 3 นิ้ว ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน และทำผนังสองชั้นในด้านที่โดนแดด
ภาพ: ผนังฝั่งที่ไม่โดนแดดเป็นกระจกใสให้รับแสงธรรมชาติ แล้วเพิ่มระแนงไม้ช่วยกรองแสง ครีบบังแดดอลูมิเนียมช่วยรับลม
.
.
.
สำหรับดีไซน์เพิ่มเส้นสายของบ้านให้ดูชัดเจนเสมือนเห็นเหล็กโครงสร้าง สถาปนิกเลือกใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี รุ่น ซี-ชาแนล เพราะมีน้ำหนักเบา ทนทาน ใช้งานภายนอกได้ สวยงาม ตอบโจทย์บ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านกล่องได้เป็นอย่างดี
ภาพ: ดีไซน์เพิ่มเส้นสายของบ้านให้ดูชัดเจนเสมือนเห็นเหล็กโครงสร้างด้วยวัสดุตกแต่ง เอสซีจี รุ่น ซี-ชาแนล
.
.
ภายในบ้านตกแต่งอย่างเรียบง่าย ตู้ BUILT-IN ใหญ่เพื่อเก็บของได้เยอะ โทนสีเรียบให้ดูสะอาดสบายตา เลือกใช้วัสดุปูพื้นลายไม้ผนังลายไม้ให้รู้สึกอบอุ่น ลดทอนบ้านกล่องให้นุ่มนวลขึ้น
ภาพ: ดีไซน์ตู้และชั้นวางของโชว์ที่เรียบง่าย
ภาพ: พื้นภายในใช้วัสดุปูพื้นลายไม้โทนสีสว่าง
ภาพ: เลือกใช้วัสดุปูพื้นและผนังลายไม้ให้บ้านรู้สึกอบอุ่น
.
.
พื้นที่จอดรถ และทางเดินภายนอกเป็นพื้นแสตมป์คอนกรีต (Stamp Concrete) เพราะมีความคงทน สร้างสรรลวดลายต่อเนื่องได้อิสระ อายุการใช้งานยาวนาน สามารถบำรุงรักษาให้ดูใหม่ได้อยู่เสมอ
ภาพ: ตกแต่งพื้นที่จอดรถด้วยพื้นแสตมป์คอนกรีต
ภาพ: ตกแต่งทางเดินภายนอกด้วยพื้นแสตมป์คอนกรีต
.
.
ความเรียบง่ายของบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านกล่อง ที่ดูเท่โดดเด่นมีสไตล์ ทำให้ได้รับความนิยมเรื่อยมา แต่ด้วยรูปทรงที่ไม่เหมาะกับอากาศร้อนชื้น และมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูงอย่างประเทศไทยเรา ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายให้สถาปนิกได้ออกแบบบ้านให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างสบาย แนวคิดการออกแบบตั้งแต่การจัดวางแนวอาคารให้ตรงตามทิศทางแดด ลม ฝน การเลือกใช้วัสดุเพื่อช่วยลดร้อนให้กับบ้าน รวมถึงความใส่ใจในความต้องการของผู้อยู่อาศัย ทำให้บ้านหลังนี้ลงตัวและตอบโจทย์เจ้าของบ้าน ให้ผู้อยู่อาศัยได้อยู่สบายอย่างแท้จริง
.
ขอขอบคุณ
เจ้าของบ้าน: คุณปุณิกา จิณณะดิลก และ คุณกัญจน์ จิรัฐิติวณิชย์
สถาปนิก: อิษฎา แก้วประเสริฐ | ID Architect
Design Connext คอมมูนิตี้แหล่งรวมสถาปนิก/นักออกแบบ ที่ช่วยเชื่อมต่อทุกองศาของงานออกแบบ
.
.
อ่านเพิ่มเติม: 6 ไอเดียแต่งบ้านสไตล์ลอฟต์
อ่านเพิ่มเติม: บ้านสองพี่น้องในสไตล์รีสอร์ตและโมเดิร์นร่วมสมัย