หากต้องการติดระบบ Active AIRflow™ System ช่วยระบายอากาศและลดความร้อนในบ้าน ให้สำรวจบ้าน ผนัง ฝ้าเพดาน และหลังคา เบื้องต้นด้วยตัวเอง ว่าเข้าข่ายที่จะติดตั้งระบบนี้ได้
สำหรับเมืองร้อนอย่างเรา หากมีวิธีลดความร้อนอบอ้าวในบ้านได้คงอยู่สบายขึ้นมิใช่น้อย ระบบ Active AIRflow™ System ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างสภาพอากาศดีๆ ลดความร้อนในบ้าน ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นและประหยัดพลังงานได้ ด้วยกลไกการทำงานที่ดึงเอาอากาศและความร้อนจากตัวบ้านขึ้นสู่โถงใต้หลังคา แล้วปล่อยระบายออกทางปล่องหลังคา อย่างไรก็ตาม บ้านที่จะติดระบบ Active AIRflow™ System จะต้องมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของตัวระบบ ทั้งตัวบ้าน ผนัง ฝ้าเพดาน และหลังคา ใครที่สนใจอยากติดระบบ Active AIRflow™ System อาจลองหันมาสำรวจบ้านของเราเบื้องต้นกันก่อน ภาพ: ทิศทางการระบายอากาศและความร้อนของระบบ Active AIRflowTM System
1) ทาวน์โฮม ตึกแถว บ้านเก่า บ้านใหม่ ติด Active AIRflow™ System ได้ไหม ?
สำหรับ “บ้านเดี่ยว” ไม่ว่ากำลังจะสร้างหรืออยู่อาศัยไปแล้ว ก็สามารถติดระบบ Active AIRflowTM System ได้ ส่วน “บ้านแฝด” และ “ทาวน์โฮม” ที่ต้องการติดระบบนี้จะต้องมีโถงหลังคาแยกจากเพื่อนบ้าน ไม่ให้อากาศภายในโถงหลังคาไหลต่อเนื่องถึงกัน ในขณะที่ “ตึกแถว (อาคารพาณิชย์)” จะไม่เหมาะ ด้วยข้อจำกัดต่างๆ เช่น ตำแหน่งผนังในการติดตั้งอุปกรณ์และรูปแบบการวางผังในบ้าน ซึ่งมักไม่เอื้อต่อการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ Active AIRflow™ System อย่างเต็มที่นัก ภาพ: แม้จะเป็นทาวน์โฮมที่มีหลังคาต่อเนื่องกับเพื่อนบ้าน แต่หากมีการกั้นโถงหลังคาแยกระหว่างยูนิตไม่ให้ทะลุถึงกันได้ ก็สามารถติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System ได้เช่นกัน
2) ผนังบ้านแบบไหน ติด Active AIRflow™ System ได้ ?
บ้านที่สร้างด้วยผนังก่ออิฐมอญหรืออิฐมวลเบา สามารถติดระบบ Active AIRflow™ System ได้ (ส่วนอิฐบล็อกจะไม่สามารถติดตั้งได้) และถ้าเป็นผนังอิฐมวลเบาจะเอื้อต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบมากกว่า เนื่องด้วยคุณสมบัติของเนื้ออิฐมวลเบาที่อมความร้อนต่ำ ทำให้ความร้อนในบ้านน้อยกว่า ภาพ: ผนังก่ออิฐมวลเบา (ซ้าย) และผนังก่ออิฐมอญ (ขวา) ซึ่งสามารถเจาะติดตั้งช่องระบายอากาศ Fresh Intake Air Grille ของระบบ Active AIRflow™ System ได้
ส่วนบ้านที่ใช้ผนังรับน้ำหนักอย่าง “ผนังคอนกรีตหล่อในที่” หากจะติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System ควรวางแผนกับสถาปนิกตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบเพื่อกำหนดตำแหน่งติดตั้งช่องระบายอากาศ Fresh Intake Air Grille ส่วนกรณีเป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ใช้ “ผนัง Precast”ควรแจ้งทางโครงการก่อนเริ่มก่อสร้างด้วยเช่นกัน เนื่องจากทั้งผนังคอนกรีตหล่อในที่ และผนัง Precast ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักในตัว จึงไม่ควรเจาะผนังเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ภายหลัง เพราะอาจทำให้เหล็กเสริมด้านในเสียหายจนส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงได้ (แต่ถ้าบ้านนั้นสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือกำลังอยู่อาศัย จะต้องปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบเพื่อดูความเป็นไปได้ในการติดตั้งอีกที) ภาพ: ผนัง Precast ที่ผลิตจากโรงงาน นิยมใช้ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งตำแหน่งของช่องเปิดช่องว่างต่างๆ จะต้องถูกกำหนดตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ
3) บ้านที่ติด Active AIRflow™ System ต้องมีหลังคาแบบไหน ?
บ้านที่จะติดระบบ Active AIRflow™ System ควรมีหลังคาทรงจั่วหรือปั้นหยา ที่มีความชันหลังคาตั้งแต่ 17 องศา ขึ้นไป (ส่วนหลังคารูปทรงอื่นๆ อย่าง หลังคาเพิงแหงน หลังคาโดม หลังคาดาดฟ้า จะไม่เหมาะกับระบบนี้)
นอกเรื่องรูปทรงแล้วยังต้องดูวัสดุมุงหลังคาด้วย หลังคาที่จะติดตั้ง ระบบ Active AIRflow™ System ควรมุงด้วย กระเบื้องคอนกรีต เอสซีจี รุ่นซีแพค รุ่นเพรสทีจ และรุ่นนิวสไตล์ โมเดิร์น หรือกระเบื้องเซรามิก เอสซีจี รุ่นเอ็กซ์เซลล่า คลาสสิก รุ่นเอ็กซ์เซลล่า เกรซ รุ่นเอ็กซ์เซลล่า โมเดิร์น และรุ่นเซลิกา เคิร์ฟ โดยชิ้นกระเบื้องที่จะติดอุปกรณ์ Solar Roof Tile Ventilator (SRTV) จะถูกเจาะช่องสำหรับยึดติดตั้งที่ได้มาตรฐานจากมาจากโรงงานเพื่อติดตั้ง จึงวางใจได้ว่าจะไม่เกิดการรั่วซึม
ทั้งนี้ ระบบ Active AIRflow™ System จะมีแผงโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้เดินระบบ ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งด้วยหรือไม่ สำหรับบ้านที่มุงกระเบื้องหลังคาเซรามิก เอสซีจี รุ่นเอ็กซ์เซลล่า เกรซ และรุ่นเซลิกา เคิร์ฟ จะไม่สามารถติดแผงโซล่าร์เซลล์ที่ว่านี้ได้ ต้องใช้ไฟฟ้าตามปกติเป็นตัวเดินระบบแทน ภาพ: หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องหลังคาคอนกรีต เอสซีจี รุ่นนิวสไตล์ ซึ่งเหมาะกับการติดตั้ง ระบบ Active AIRflow™ System
ภาพ: หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องหลังคาเซรามิก เอสซีจี รุ่นเอ็กซ์เซลล่า คลาสสิค ซึ่งเหมาะกับการติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System
4) ฝ้าเพดานที่จะติด Active AIRflow™ System ต้องเป็นอย่างไร ?
หากจะติดระบบ Active AIRflow™ System ในบ้าน ฝ้าชั้นบนใต้โถงหลังคาควรเป็นฝ้าเพดานฉาบเรียบ ติดตั้งแนวนอนขนานกับพื้น หากเป็นฝ้าที่ลาดเอียงตามหลังคา (ฝ้า Slope) หรือฝ้าแนวนอนแต่เป็นแบบทีบาร์ จะไม่เหมาะกับการติดระบบ Active AIRflow™ System ส่วนในเรื่องของวัสดุ หากเป็นฝ้ายิปซัมจะสามารถเจาะ กรีด ได้ง่าย จึงเจาะช่องติดตั้งพัดลมระบายอากาศได้สะดวก ส่วนฝ้าไม้และฝ้าสมาร์ทบอร์ดจะเจาะยากกว่า แต่ก็สามารถติดตั้งได้โดยต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสภาพฝ้าและโครงคร่าวเสียก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ ภาพ: มุมมองจากภายนอกบ้าน แสดงให้เห็นฝ้าเพดานชั้นบนที่ลาดเอียงตามหลังคา และรูปทรงหลังคาแบบเพิงแหงน ซึ่งต่างก็เป็นปัจจัยที่ไม่เหมาะกับการติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System
มาถึงตรงนี้เจ้าของบ้านคงพอเห็นภาพระดับหนึ่งว่า บ้านที่จะติดระบบ Active AIRflow™ System ควรมีลักษณะแบบไหน ลองทำเช็คลิสต์ตรวจเองดู หากเข้าข่ายติดตั้งได้ก็ลองติดต่อทีมงานเข้ามาสำรวจโดยละเอียด เพื่อเช็คความเป็นไปได้ให้แน่ใจอีกครั้ง