บูรณะสถาปัตยกรรมไทยยุคเก่า บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ด้วยวัสดุยุคใหม่ ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี Stay Cool เพื่อให้บ้านเย็น ลดการใช้พลังงาน เป็นต้นแบบของบ้านที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“บ้าน” คือสถาปัตยกรรมที่เป็นพื้นที่รอยต่อแห่งความทรงจำ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของคนยุคหนึ่งๆ ได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อกาลเวลาผ่านตัวบ้านอาจจะทรุดโทรมและต้องการการปรับปรุง ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องทุบรื้อของเก่าทิ้งทั้งหมด เพื่อคงร่องรอยให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้เรียนรู้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะทำให้การอยู่อาศัยเต็มไปด้วยสภาวะอยู่สบาย
เหมือนอย่างเช่น บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่ผ่านกาลเวลามายาวนานกว่า 100 ปี เจ้าของรุ่นปัจจุบันตั้งใจจะให้เป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในวงกว้าง จนได้พบและอนุญาตให้ มูลนิธิ ครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) ใช้สถานที่เพื่อดำเนินกิจกรรม โดยมูลนิธิฯ ตระหนักดีถึงคุณค่าและความหมายในตัวงานสถาปัตยกรรม ที่เป็นหนึ่งในหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ จึงวางแผนปรับปรุงโดยยังคงเก็บเสน่ห์ของอาคารเดิมไว้ แต่เพิ่มเติมการผสานนวัตกรรมเข้าไปในอาคารเก่า ต้อนรับบทบาทใหม่ของบ้านที่จะกลายเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อโครงการ “BANGKOK 1899” ซึ่งในระยะสองปีแรกจะดำเนินกิจกรรมหลัก 6 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. เป็นที่พักอาศัยสำหรับศิลปินจากนานาประเทศ 2. เป็นทีจัดแสดงนิทรรศการสำหรับสาธารณะ 3. เป็นพื้นทีสาธารณะ (Open Spaces) และมีสวนสาธารณะ รวมถึงร้านกาแฟที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคม และการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 4. เป็นต้นแบบของความยั่งยืน โดยการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน รวมไปถึงการปลูกพืชผักขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับพื้นที่เมือง 5. พัฒนาโครงการและกิจกรรมสำหรับ RSA Fellowship 6. จัดนิทรรศการประจำปีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ การออกแบบ และนวัตกรรมทางสังคม
ภาพ: บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี บ้านหลังแรกในประเทศไทยที่ออกแบบสไตล์ยุโรป โดยสถาปนิกชาวอิตาลี มาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno)
ภาพ: บรรยากาศภายในบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ภาพ: Na Café ร้านกาแฟที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม
หลังการเข้าสำรวจหน้างาน เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้สอดรับกับแนวทางในการพัฒนาและกิจกรรมต่างๆ ของทางมูลนิธิฯ คุณอะเล็กซานเดอร์ สรรประดิษฐ์ สถาปนิกที่รับผิดชอบดูแลการปรับปรุงพื้นที่ ได้ติดต่อให้ บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด เข้าไปร่วมสำรวจพื้นที่ เนื่องจากเห็นความเป็นไปได้ของการนำนวัตกรรมที่มีคุณสมบัติช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าตามแผนการบรูณาการ เข้าไปติดตั้งบริเวณใต้หลังคา
“ผมมองว่า อันดับแรกเราสามารถเริ่มต้นได้ทันทีจากการเลือกใช้วัสดุตกแต่งเชิงนวัตกรรม เพื่อให้บ้านเย็นเพิ่มขึ้น จากเดิมการปลูกต้นไม้เป็นแนวในทิศรับแสง ทำหน้าที่เป็นปราการกรองแสงแดดทั่วบริเวณบ้าน ตัวบ้านมีช่องระบายอากาศใหญ่และหน้าต่างสูงอยู่รอบบ้านอยู่แล้ว แต่ยังไม่พอ ต้องเพิ่มช่องช่วยระบายอากาศตามแนวจั่วสูง (ประมาณกว่า 1 เมตร) ที่เดิมถูกปิดไว้ด้วยแผ่นไม้บางๆ เพื่อใส่ ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี STAY COOL ใต้หลังคา ด้วยเหตุผลที่ว่าโถงใต้หลังคาเป็นจุดที่รับความร้อนโดยตรงและมีพื้นที่รับแสงมากที่สุดของบ้าน จึงต้องลดความร้อนตรงนี้เพื่อให้เป็น sustainable way ตาม concept ที่ทางมูลนิธิวางไว้” คุณอะเล็กซานเดอร์กล่าว
ภาพ: ภายในบริเวณบ้านที่จะนำฉนวนกันความร้อน เอสซีจี STAY COOL เข้าไปติดตั้ง
ภาพ: ช่างผู้เชี่ยวชาญนำฉนวนกันความร้อนปูตามแนวฝ้าเพดานโดยกลิ้งม้วนออกจากตัว
ภาพ: ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยตามสโลแกน ติดตั้งครบ จบ ภายในวันเดียว
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี STAY COOL ผลิตจากใยแก้วคุณภาพปราศจากสารพิษ จากการรับรองขององค์กรอนามัยโลก ป้องกันความร้อนได้ถึง 7 เท่า ทำให้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศได้ถึง 47% น้ำหนักเบา จึงไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน และไม่ลามไฟ เนื้อฉนวนถูกห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์อีก 1 ชั้น จึงช่วยปกป้องความชื้น ทำให้หลังจากการติดตั้ง ผู้มาเยือนสามารถทำกิจกรรมได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อน และยังลดอัตราการใช้งานเครื่องปรับอากาศภายในบ้านอีกด้วย
โครงการนี้ช่วยเปิดมุมมองและตอกย้ำว่านวัตกรรมวัสดุใหม่ๆ สามารถนำมาใช้กับบ้านที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปีได้อย่างลงตัว ถือเป็น “บ้านต้นแบบ” ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่พักอาศัย สิ่งแวดล้อม และชุมชนอย่างยั่งยืน