แนวทางเบื้องต้นสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งานด้วยตัวเอง พร้อมอุปกรณ์ปะรกอบที่ต้องใช้ร่วมกัน
ระบบโซลาร์เซลล์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และหลายคนเริ่มให้ความสำคัญ เพราะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและพื้นที่ติดตั้ง (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก “ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ Solar Roof มีกี่แบบ”) ทั้งนี้ หากต้องการใช้งานเล็กน้อย อย่างไฟสวน ปั้มน้ำบ่อปลา ก็สามารถต่อระบบใช้เองได้ โดยมีแนวทางดังนี้
.
1. ต้องใช้ระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off-Grid
เป็นระบบที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า เหมาะกับการใช้งานเฉพาะจุดในบ้าน เช่น ไฟในสวนรอบบ้าน มอเตอร์ประตูรั้ว หรือใช้ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซลาร์เซลล์นั้นจะเป็น “ไฟฟ้ากระแสตรง (DC)” การนำไปใช้งานจึงขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถติดตั้งได้ 2 รูปแบบ คือ แบบไม่ใช้แบตเตอรีและแบบใช้แบตเตอรี
ภาพ: โซลาร์เซลล์แบบไม่ใช้แบตเตอรีเพื่อใช้สูบน้ำขึ้นมาในตอนกลางวัน
ภาพ: โซลาร์เซลล์แบบใช้แบตเตอรีเพื่อสะสมไฟไว้ใช้ปั่นน้ำผลิตอ๊อกซิเจนในบ่อปลา
.
ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไม่ใช้แบตเตอรี
เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานโดยตรง จะใช้ได้เฉพาะตอนกลางวันเวลาที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ได้อาจไม่คงที่เพราะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดในแต่ละช่วงเวลา มีแนวทางการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังนี้
๐ สำหรับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ต้องใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC)
๐ สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) สามารถต่อตรงได้เลย เช่น มอเตอร์ปั๊มน้ำที่ใช้ไฟ DC, มอเตอร์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ไฟ DC
ภาพ: แนวทางการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไม่ใช้แบตเตอรี
.
ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบใช้แบตเตอรี
ผลิตไฟฟ้ามาเก็บไว้ในแบตเตอรี แล้วจึงนำมาใช้งานเมื่อต้องการ จะได้กระแสไฟฟ้าคงที่ และใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืนได้ โดยต้องมีเครื่องควบคุมประจุไฟฟ้าเชื่อมต่อกับแบตเตอรีเพิ่มเติม
๐ สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ใช้แบตเตอรีเก็บสะสมไฟฟ้า แล้วผ่านอินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อแปลงไฟก่อนจ่ายเข้าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
๐ สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ใช้แบตเตอรีเก็บสะสมไฟฟ้า แล้วต่อตรงเข้าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ DC
ภาพ: แนวทางการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบใช้แบตเตอรี
.
2. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้มั่นคงและถูกทิศ
โครงสร้างที่รองรับแผงโซลาร์เซลล์ต้องแข็งแรงและควรมีการออกแบบอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ 1 แผง (ขนาดประมาณ 1x2 ตารางเมตร) จะอยู่ที่ประมาณ 25-35 กิโลกรัม หรือประมาณ 13-18 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
นอกจากนี้ ควรวางแผงโซลาร์เซลล์หันไปทางทิศใต้ เนื่องจากสำหรับประเทศไทย โดยส่วนใหญ่แล้วพระอาทิตย์จะขึ้นลงอ้อมทางทิศใต้ จึงควรวางแผงเอียง 10 -18 องศาโดยประมาณ เพื่อให้รับแสงอาทิตย์ได้ตลอดวัน
ภาพ: ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หันไปทางทิศใต้
.
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ด้วยตนเอง ควรทำความเข้าใจกับแผงวงจรให้ดี เลือกใช้แบตเตอรีและขนาดอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ให้เหมาะสม ที่สำคัญควรติดตั้งบนโครงสร้างที่แข็งแรงเพียงพอรวมถึงวางในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อให้ใช้งานระบบโซลาร์ได้อย่างคุ้มค่าและช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ยาวนานเต็มประสิทธิภาพ
.
.
อ่านเพิ่มเติม: อยากติดหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Roof) เริ่มต้นยังไงดี…
อ่านเพิ่มเติม: ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ “Solar Roof
JINKO
ชุดโซลาร์เซลล์ 10 กิโลวัตต์ (560 วัตต์x18) 3 เฟส พร้อมอุปกรณ์
160,326.00 บาท / เซ็ต
HUAWEI
Huawei Smart Power Sensor 3Phase DTSU666-H
4,790.00 บาท / ชิ้น6,268.00 บาท
JINKO
ชุดโซลาร์เซลล์ 20 กิโลวัตต์ (625 วัตต์x36) 3 เฟส พร้อมอุปกรณ์
205,456.00 บาท / เซ็ต256,820.00 บาท