ทำความรู้จักประเภทของกระเบื้องเซรามิก พร้อมปัจจัยในการเลือกกระเบื้องเซรามิกสำหรับปูพื้นโรงรถ ตามคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งเรื่องความแข็งแรง ลักษณะพื้นผิว และอัตราการดูดซึมน้ำ
หลักในการเลือกกระเบื้องเซรามิกมาใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ คงไม่ใช่แค่เลือกกระเบื้องที่ปูแล้วได้พื้นโรงรถสวยๆ เท่านั้น แต่ต้องเลือกประเภทที่มีคุณสมบัติเหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ ก่อนอื่นเจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจประเภทของกระเบื้องเซรามิก ซึ่งในเบื้องต้นอาจแบ่งง่ายๆ ได้เป็น Wall Tile, Floor Tile, Porcelain Tile และ Mosaic Tile โดยแต่ละประเภทจะเหมาะกับการใช้งานต่างกัน
รู้จักกับกระเบื้องเซรามิกประเภทต่างๆ
1) กระเบื้องผนัง (Wall Tile) น้ำหนักเบา มีความพรุนสูง เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำสูง (15-22%) เหมาะสำหรับปูผนังภายในอาคาร ไม่สามารถใช้ปูพื้นได้
2) กระเบื้องพื้น (Floor Tile) รับน้ำหนักได้ดีกว่ากระเบื้อง Wall Tile มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำปานกลาง (น้อยกว่า 6%) เหมาะสำหรับงานปูพื้นภายในอาคารที่พักอาศัย
3) กระเบื้องโมเสค (Mosaic Tile) เป็นกระเบื้องชิ้นเล็กขนาดไม่เกิน 4”x4” เรียงติดกับตาข่ายเป็นแผง แข็งแรง ทนทาน อัตราดูดซึมน้ำต่ำ (น้อยกว่า 1%) ชิ้นกระเบื้องโมเสกมีขนาดเล็กจึงมีข้อดีคือ ใช้ปูในตำแหน่งโค้งมนได้ ส่วนข้อคำนึงคือ มีร่องยาแนวมากทำให้ต้องดูแลเป็นพิเศษ กระเบื้องโมเสกเหมาะกับงานปูพื้นทั้งภายในและภายนอก รวมถึงห้องน้ำ สระว่ายน้ำด้วย ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Floor Tile, Wall Tile และ Mosaic Tile
4) กระเบื้องพอร์ซเลน (Porcelain Tile) แข็งแกร่ง รับน้ำหนักได้ดี อัตราดูดซึมน้ำต่ำ (น้อยกว่า 0.5%) ทนต่อแรงเสียดสีและขูดขีด หากเป็นแกรนิโตจะสังเกตรอยขูดขีดได้ยาก เพราะสี/ลวดลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น กระเบื้องพอร์ซเลนเหมาะสำหรับปูพื้น ผนัง ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนห้องน้ำ สระว่ายน้ำ รวมถึงพื้นที่สาธารณะที่มีการสัญจรสูง เช่น โรงแรม ห้าง ทางเดิน และพื้นลานจอดรถ ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Porcelain Tile: COTTO X-PORCELAIN TILES รุ่นต่างๆ
สนใจปูพื้นโรงจอดรถและพื้นภายนอก พร้อมติดตั้ง คลิก
เลือกกระเบื้องปูพื้นโรงรถ เลือกกระเบื้องพอร์ซเลน (Porcelain Tile)
กระเบื้องเซรามิกที่ใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถควรมีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี มีผิวขรุขระ ไม่ลื่น และอัตราการดูดซึมน้ำต่ำ เพื่อลดการสะสมคราบสกปรกและเชื้อราในผิวกระเบื้อง
โดยคุณสมบัติแล้ว กระเบื้อง Porcelain Tile เหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ ยกตัวอย่าง กระเบื้องพอร์ซเลน หรือ กระเบื้องเอ็กซ์พอร์ซเลน จาก COTTO ซึ่งผลิตจากดินขาวผสมกับแร่อื่นๆ และมีความพิเศษด้วยส่วนผสมอลูมิน่า ซึ่งทำให้แข็งแกร่งทนทานกว่ากระเบื้องเซรามิกประเภทอื่น รวมถึงกระบวนการผลิตที่ทำการเผาในอุณหภูมิ 1200-1300 องศา จึงรับน้ำหนักได้สูงถึง 350 กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร นอกจากนี้พื้นผิวกระเบื้อง Porcelain Tile ยังดูดซึมน้ำน้อยมาก โดยมีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำกว่า 0.5% ในขณะที่กระเบื้องเซรามิกทั่วไปอยู่ที่ 6-22 % อีกทั้งยังมีพื้นผิวด้าน มีความฝืดที่พอเหมาะ จึงไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ ภาพ: ตัวอย่างเปรียบเทียบการดูดซึมน้ำของกระเบื้อง Porcelain Tile และกระเบื้องเซรามิกทั่วไป
กระเบื้อง Porcelain Tile มีหลากสีหลายลวดลายให้เลือก เพื่อเนรมิตพื้นโรงรถสวยๆ ได้ตรงใจเจ้าของบ้านและสมาชิกในบ้าน ทั้งนี้ ในการกระเบื้องปูพื้นโรงรถ นอกจากจะเลือกประเภทที่เหมาะกับการใช้งานและรูปแบบที่ถูกใจแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การติดตั้งที่ได้มาตรฐาน เพราะแม้จะเลือกกระเบื้องที่ดีมีคุณภาพ แต่หากช่างติดตั้งผิดวิธี เมื่อใช้งานไปสักพักอาจเจอปัญหากระเบื้องหลุด แตก ตามมา ทำให้สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายในซ่อมแซม ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Porcelain Tile ซึ่งเหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ (COTTO X-PORCELAIN TILES รุ่น THUNDER)
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Porcelain Tile ซึ่งเหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ (COTTO X-PORCELAIN TILES รุ่น CYPRUS)
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Porcelain Tile ซึ่งเหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ (COTTO X-PORCELAIN TILES รุ่น HUMBLE ROCK)
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Porcelain Tile ซึ่งเหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ (COTTO X-PORCELAIN TILES รุ่น MARINA)
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้อง Porcelain Tile ซึ่งเหมาะจะใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นโรงรถ (COTTO X-PORCELAIN TILES รุ่น MARFILL BEIGE)